วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๑๓. มหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

ตอนที่ ๑๐๒

ตอนที่ ๑๐๓

ตอนที่ ๑๐๔

ตอนที่ ๑๐๕

ตอนที่ ๑๐๖

ตอนที่ ๑๐๗

ตอนที่ ๑๐๘

ตอนที่ ๑๐๙

ตอนที่ ๑๑๐

ตอนที่ ๑๑๑

ตอนที่ ๑๑๒

กฎกระทรวงเรื่อง การจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔ (๑)   ระบุในข้อ ๗ ว่า “กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา  กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก มีพันธกิจหลักและยุทธศาสตร์ที่มุ่งสู่การวิจัย ที่มีคุณภาพระดับสากลและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ โดยต้อง (๑) เน้นการวิจัยขั้นสูงและการผลิตนักวิจัย เป็นผู้นำทางความรู้ของประเทศ ในระดับปริญญาเอกหรือหลังปริญญาเอกที่มีวิทยานิพนธ์ หรือผลงานวิจัยระดับนานาชาติในหลายกลุ่มสาขาวิชา (๒) มุ่งค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้ ทฤษฎี และข้อค้นพบใหม่เพื่อขยายพรมแดนของความรู้ และสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการที่ลุ่มลึกในสาขาวิชาต่าง ๆ (๓) สร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลงานวิจัยและองค์ความรู้ขั้นสูง”

ผมตีความว่าตามกฎกระทรวงนี้ มหาวิทยาลัยวิจัยระดับแนวหน้าของโลกของไทย ต้องทำหน้าที่สร้างความรู้ใหม่ที่ขอบฟ้าใหม่ของความรู้ (ที่สอดคล้องกับบริบทไทย)   สร้างนักวิจัยเพื่อการนี้ และเชื่อมโยงความรู้สู่นวัตกรรม    ซึ่งหมายถึงการนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

คิดใหม่   ผมมองว่ามหาวิทยาลัยกลุ่มวิจัยต้องคิดย้อนศร    คือเริ่มต้นที่ “นวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจและสังคม”   หรือเอานวัตกรรมที่เป็นความต้องการของประเทศเป็นตัวตั้ง    แล้วคิดโจทย์วิจัยระดับขอบฟ้าใหม่ สำหรับพัฒนาสู่นวัตกรรมที่ต้องการ    หรือคิดใหม่ว่า ทำงานพัฒนานวัตกรรมไปพร้อมๆ กันกับการวิจัย    โดยเอางานนวัตกรรมเป็นฐาน     คิดอย่างนี้เป็นไปได้หรือไม่ก็ไม่ทราบ  

หลักการสำคัญคือ ต้องหาทางพัฒนานวัตกรรมในรู้แบบหรือแนวทางใหม่ๆ  ไม่ใช่เดินตามหลังประเทศที่เข้าก้าวหน้าไปแล้วทั้งหมด    เราต้องคิดเองเป็น และกล้าคิดต่าง   

ผู้ยกร่างกฎกระทรวงนี้รู้ดี ว่ามหาวิทยาลัยวิจัยระดับแนวหน้าของประเทศซึ่งมักเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่มากนั้น    มี “ไส้ใน” ที่แตกต่างกัน    ซึ่งหมายความว่า มีทั้งคณะที่มีความพร้อมจะ “พัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก”   และมีอีกหลายคณะที่ไม่พร้อมเลย    จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงนี้ให้มีข้อ ๕

“ข้อ ๕ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษาอาจประกาศกำหนดให้จัดกลุ่มส่วนราชการหรือกลุ่มส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษาแห่งใดออกเป็นกลุ่มได้ โดยคำนึงถึง จุดมุ่งหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ศักยภาพ และผลการดำเนินการที่ผ่านมาของสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย”      

ซึ่งหมายความว่า  ภายในมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก อาจมีบางคณะหรือส่วนงานที่จำแนกอยู่ในกลุ่มอื่น    และอาจมีบางมหาวิทยาลัยที่มีส่วนงานครบ ๕ กลุ่มตามในข้อ ๓ ของกฎกระทรวง ก็เป็นไปได้     

จะเข้าใจหน้าที่ของมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลกแจ่มชัดขึ้น    ต้องหันไปดูหน้าที่ของกลุมที่ ๒ คือ “กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม”   มีพันธกิจหลักและยุทธศาสตร์ที่มุ่งสู่ การจัดการการศึกษาเพื่อเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ โดยต้อง (๑) สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (๒) สร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดห่วงโซ่มูลค่าในภาคการผลิตและบริการ (๓) ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (๔) เน้นการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติการจริงเพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการทำงาน”

ผมตีความว่า จุดต่างสำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยกลุ่ม ๑ กับกลุ่ม ๒ คือ  กลุ่ม ๑ ต้องทำการวิจัยและผลิตนักวิจัยขั้นสูง     นอกนั้นต้องทำคล้ายๆ กันกับกลุ่ม ๒    

โยงสู่ภาคปฏิบัติ    จุดสำคัญที่สุดคือ มหาฯ กลุ่ม ๑ ต้องลดจำนวน นศ. ป.ตรีลง     คัดมาเฉพาะระดับหัวกระทิเท่านั้น    เข้ามาเรียน ป. ตรีควบโท    หรือควบเอกไปเลย    ส่วนหนึ่งเป็น นศ. ทุน    เพื่อดึงดูดเด็กปัญญาเลิศเข้าเส้นทางชีวิตวิชาการ    หากเป็น ป. ตรีควบเอก อาจต้องเป็นหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ    นศ. พวกนี้ไม่ใช่เรียนเปะปะ   แต่จะเรียนตามความต้องการนวัตกรรมของประเทศ

นั่นหมายความว่า ต้องมีเงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้    เพราะรายได้จากจำนวน นศ. ป. ตรีจำนวนมากๆ จะลดลง    และยังต้องการเงินทุนการศึกษาสำหรับดึงดูดเด็กหัวดีเข้ามาเรียนอีกด้วย    คำถามคือกระทรวง อว. เตรียมงบประมาณส่วนนี้ไว้แล้วหรือยัง    

โจทย์สำหรับมหาวิทยาลัยไทยกลุ่มนี้คือ จะเลือกดำเนินการแบบ CalTech หรือแบบ Harvard    แต่ไม่ว่าแบบ  CalTech หรือแบบ Harvard เขาก็มี นศ. ป. ตรีน้อยกว่า นศ. ระดับบัณฑิตศึกษา    มหาฯ ไทยกลุ่ม ๑ จะปรับตัวอย่างไรในช่วง ๑๐ ปี    และกระทรวง อว. จะหนุนการ transform มหาวิทยาลัยกลุ่มนี้อย่างไร   

จากกฎกระทรวงดังกล่าว นำไปสู่คำถามว่า  กระทรวง อว. (สป.อว.) จะสร้าง conducive environment เพื่อเป็นแรงดึงดูดให้มหาฯ กลุ่ม ๑  ปรับตัวได้จริงอย่างไร     และตัวมหาวิทยาลัยเองจะปรับเปลี่ยนภายในมหาวิทยาลัย เพื่อหันไปเน้นภารกิจหลักที่กำหนดอย่างไร  

คำตอบของผมคือ ใช้สาระในหมวด ๒ ของกฎกระทรวง ซึ่งเป็นเรื่องมาตรการส่งเสริมและสนับสนุน    ที่ในกฎกระทรวงระบุไว้อย่างกว้างๆ     สป.อว. น่าจะนำมาทำให้ชัดขึ้นในบริบทของมหาวิทยาลัยในหลุ่มนี้    และทำให้เป็นจริงในทางปฏิบัติ        

วิจารณ์ พานิช        

๒๘ เม.ย. ๖๔ 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          

หมายเลขบันทึก: 690683เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2021 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท