วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๖๑. พัฒนาระบบจัดการงานวิจัย


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ผมได้ความคิดเอามาเขียนบันทึกนี้จากการทำหน้าที่เป็นกรรมการอำนวยการโครงการประเทศไทยในอนาคต(Future Thailand) ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒   และจะประชุมครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๓    บันทึกนี้เริ่มขียนวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๓    เมื่อผมเตรียมตัวอ่านเอกสารข้อเสนอโครงการวิจัย และจากการสื่อสารจากเจ้าหน้าที่ของ วช.    ทำให้ผมตระหนักว่า    ผมน่าจะทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองได้กว้างกว่าหน้าที่กรรมการอำนวยการของชุดโครงการวิจัยชุด ประเทศไทยในอนาคต ชุดนี้    คือในบันทึกนี้ผมจะใช้ข้อมูลความรู้จากงานนี้ของ วช.  ผสมผสานกับประสบการณ์ในช่วงเวลากว่า ๓๐ ปี ที่ผมมีโอกาสทำงานจัดการงานวิจัยในหลากหลายบริบท      

สาระสำคัญที่สุดที่ต้องการสื่อสารในบันทึกนี้คือ ประเทศไทยต้องการการพัฒนาระบบการจัดการ (management) งาน ววน. (วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) และพัฒนาทักษะของผู้ทำงานด้านนี้ (ด้านการจัดการ)    ทั้งระดับผู้บริหารองค์กร และระดับเจ้าหน้าที่    

โดยขอเสนอประเด็นสำคัญยิ่ง ในการทำหน้าที่จัดการงานวิจัย (หรือทุนวิจัย)  ดังต่อไปนี้

  • ความรับผิดรับชอบ (accountability)   หรือที่วิกิพีเดียเสนอให้ใช้คำว่า ภาระรับผิดชอบ    ต่อชุดวิจัย หรืองานวิจัยแต่ละชิ้น ในฐานะที่ใช้เงินภาษีอากรของประชาชน อยู่ที่ใคร    คำตอบของผมคือ หน่วยงานจัดการงานวิจัยเป็นผู้รับผิดรับชอบ    ต้องไม่โยนไปให้คณะกรรมการอำนวยการ หรือให้ reviewer 
  • การพัฒนาระบบใช้บุคคลภายนอกช่วยให้การจัดการงานวิจัยเกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพ    ดังกรณีชุดโครงการประเทศไทยในอนาคต เจ้าหน้าที่แจ้งให้กรรมการอำนวยการ review ข้อเสนอของแต่ละโครงการ    ซึ่งผมไม่เห็นด้วย    และผมคิดว่าเป็นอาการของความไม่สันทัดด้านการจัดการงานวิจัย    ผมคิดว่าต้องแยกภารกิจด้านการประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย (ซึ่งต้องเน้นประเด็นเชิงเทคนิค หรือภาพเชิงลึก) ออกจากภารกิจด้านการมองและให้ข้อเสนอแนะภาพใหญ่ของชุดโครงการ (ซึ่งต้องเน้นประเด็นเชิงกว้างและเชื่อมโยง) ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ    
  • การมีระบบเรียนรู้สำหรับเจ้าหน้าที่    ให้มีทักษะในการสื่อสารประสานงานกับนักวิจัยหรือหน่วยวิจัย (เน้นการสื่อสารแนวราบ)    และมีทักษะในการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลความเห็นของ reviewer  และของกรรมการอำนวยการ    ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อน    และคนที่เติบโตมาในระบบราชการมักไม่ได้รับการฝึก    เรื่องนี้ผมเขียนไว้มากในหนังสือ การบริหารงานวิจัย แนวคิดจากประสบการณ์   
  • การจัดการให้งานวิจัยก่อผลกระทบต่อกิจการบ้านเมือง     นี่คือประเด็นที่ฝ่ายจัดการต้องจ้องครุ่นคิดและจ้องหาโอกาสอยู่ตลอดเวลา     และคณะกรรมการอำนวยการต้องช่วยชี้แนะ    อย่างกรณีของชุดโครงการประเทศไทยในอนาคต    ผมมองประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ ๓ ประเด็นคือ  (๑) การพัฒนาสถาบัน/หน่วย วิจัยเชิงระบบ ของระบบต่างๆ เช่นระบบ พลังงาน  ระบบคมนาคม  ระบบการศึกษา เป็นต้น    โดยที่เวลานี้หน่วยงานของการวิจัยเชิงระบบของไทยก้าวหน้าที่สุดในระบบสุขภาพ  (๒) การเชื่อมโยงหน่วยปฏิบัติด้านนั้นๆ เข้ามาร่วมเป็น “เจ้าของ” โครงการวิจัย    (๓) การสื่อสารสู่สาธารณชนในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลหลักฐานในการแสดงเจตจำนงทางการเมืองในเรื่องนั้นๆ    (๔) การร่วมกันหาทางปกป้องคุ้มครองสิทธิทางปัญญาให้ตกอยู่ในประเทศ   
  • การจัดการด้านการสื่อสารสาธารณะ   เพื่อนำเอาความรู้ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง    จุดสำคัญคือสื่อสารเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นหลัก  ไม่ใช่เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรเป็นหลัก  

ระบบการจัดการงานวิจัยในยุคกระทรวง อว.    ต้องก้าวสู่การจัดการนวัตกรรม    ที่ PMU ทั้ง ๗ ของประเทศจะต้องรีบเรียนรู้ และหาทางพัฒนาอย่างต่อเนื่อง     ผมเข้าใจว่าประเทศจีนไปไกลมาก    ผมไปเห็นมานิดหน่อยและเล่าไว้ที่ (๑) และ (๒)  

วิจารณ์ พานิช        

๑๒ ม.ค. ๖๓   และ ๘ ก.พ. ๖๓

                 

หมายเลขบันทึก: 675697เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2020 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท