วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) 54. ตัวอย่างการริเริ่มทดลอง transform สถาบันอุดมศึกษา


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ผมไปร่วมประชุม Research and Innovation Advisory Committee Meeting (RIAC) ของ SiCORE-M (Siriraj Center of Research Excellence Management) โดยอยู่ร่วมประชุมทั้งวัน    เพื่อจ้องทำความเข้าใจคุณค่าของการประชุมนี้    ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ลงทุนเชิญผู้บริหารมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นยอดมาจากทั่วโลก รวม ๘ คน (แต่มาได้ ๗ คน) มาให้คำแนะนำ

โชคดีที่ตอนบ่าย ท่าน (รักษาการ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศ. นพ. บรรจง มไหสวริยะ มาร่วมประชุมด้วย    ท่านจึงได้เห็นการริเริ่มสร้าง “นวชาลา” (new platform) ของการวิจัยในมหาวิทยาลัย ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลริเริ่มขึ้น    และต้องการสภาพแวดล้อมที่เอื้อ    ที่จะต้องมีการผลักดันในระดับประเทศ

นั่นคือคุณค่าเชิงระบบ    ที่การริเริ่ม SiCORE และ SiCORE-M และกิจกรรมที่ดำเนินการในช่วงเวลา ๒ ปีเศษ ช่วยชี้ให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการสร้าง นวชาลา (new platform) ของการจัดการงานวิจัย    หากต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นหัวรถจักรขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านต่างๆ ของประเทศได้จริง    ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี   

ย้ำว่า เวลานี้ ยังขาด enabling environment    หรือกล่าวแรงๆ ว่า สภาพแวดล้อมของระบบงานภาครัฐเป็นตัวอุปสรรค    เพราะเน้นที่กฎระเบียบตายตัวเกินไป ความเป็น “รัฐราชการ” รุนแรงขึ้น    เป็นตัวอุปสรรค

ผมจับประเด็นเชิงระบบ ที่เป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ จากการประชุม และจากคำแนะนำของคณะกรรมการ RIAC ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ได้ ๓ ประการ  ได้แก่

  1. 1. การพัฒนาระบบ postdoc training ขึ้นในประเทศ    โดยต้องให้ความหมายของระบบนี้ให้ถูกต้อง    ว่าไม่ใช่ระบบจ้างมาทำงานในลักษณะงานประจำ รับใช้หัวหน้า     แต่รับเข้ามาทำงานสร้างสรรค์ ในลักษณะออกความคิดเคียงบ่าเคียงไหล่กับหัวหน้า    ต้องเลือกตามประวัติการทำงานสร้างสรรค์ การมีแรงบันดาลใจ หลงใหลเรื่องนั้น    ซึ่งหมายความว่าต้องทั้งเก่งและมีแรงบันดาลใจสูงมาก    ระบบการจ้างงานจึงต้องยืดหยุ่น และมีค่าตอบแทนที่จูงใจ    รวมทั้งการได้มาต้องเน้นการดำเนินการเชิงรุก คือสืบหาตัวคนตามคุณสมบัติที่ต้องการ     ไม่ใช่แค่ประกาศรับ (ซึ่งก็ต้องทำด้วย)
  2. 2. การจัดระบบส่งเสริมเพื่อเพิ่มความเร็ว (speed) ของการทำวิจัย ให้เร็วกว่านี้หลายเท่า    ประเด็นนี้ที่ปรึกษาจากต่างประเทศย้ำแล้วย้ำอีก     ว่าการทำวิจัยและนวัตกรรม หมายถึงการแข่งขัน    เพราะยังจะมีทีมวิจัยอื่นทำงานในลักษณะหรือเป้าหมายเดียวกันอยู่    ใครค้นพบก่อน ก็ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา     การแข่งขันในสมัยนี้ เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเร็วด้วย    การทำวิจัยและนวัตกรรมตามความเร็วที่ทำกันอยู่ในประเทศไทย ไม่มีทางแข่งขันได้  
  3. 3. การจัดระบบกำกับดูแล (governance) งานด้านวิจัยและนวัตกรรม ที่ต่างไปจากระบบราชการปัจจุบัน    เรื่องนี้ยกขึ้นมาโดย  ศ. พญ. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้ก่อตั้ง SiCRES  ที่เป็น Academic CRO (Clinical Research Organization)  มีเป้าหมายเป็นองค์กรที่เลี้ยงตัวได้     คือรับงานดำเนินการวิจัยทางคลินิกทั้งจากภายในศิริราชเอง และที่บริษัทยามาจ้างให้ทำ     แต่ติดขัดที่ระเบียบพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง     ทำให้มีขั้นตอนมากมาย ทำงานได้ล่าช้า แข่งขันไม่ได้     ผมมองว่า งานวิจัยและนวัตกรรม ที่มีธรรมชาติเป็นงานวิจัยปลายทาง สู่ตลาด    ต้องมีการเจรจาธุรกิจมาก    การทำงานภายใต้ระบบกำกับดูแลแบบราชการแท้อย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่มีทางที่ระบบวิจัยและนวัตกรรมไทยจะทำงานได้ตามเป้าหมายของ ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี  (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) 

วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ มีการประชุม Core Team ของ SiCORE-M ตามปกติ    ผมให้ข้อเสนอแนะว่า ทีม SiCORE-M ต้องพิจารณายกระดับตัวเองขึ้นไปทำงานใหญ่ให้แก่ศิริราช และให้แก่ประเทศ    โดยทำงาน matching   คือ match เป้าหมายการพัฒนาประเทศ เข้ากับขีดความสามารถของศิริราชในการทำงานวิจัยรับใช้ประเทศ   

เป้าหมายการพัฒนาประเทศดูได้จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ๒๐ ปี    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ระยะที่ ๑๒    และอื่นๆ     ตีความเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่ต้องการ    คัดเลือกมาเฉพาะส่วนที่ตรงกับขีดความสามารถของศิริราช    และไปคุยกับ สอวช., สกสว., สวช., สวรส. และอื่นๆ    เพื่อทำความตกลงการทำงานและงบประมาณสนับสนุนระยะยาว ๕ - ๑๐ ปี    โดยมีหน่วยงานหุ้นส่วนจากภาคประกอบการด้วย   

ผมเล่าเรื่อง SiCORE ไว้ที่ (๑)    

วิจารณ์ พานิช        

๑๘ พ.ย. ๖๒   ปรับปรุง ๒๐ พ.ย. ๖๒

     

หมายเลขบันทึก: 674395เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2020 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท