วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) 48. การทำงานของหน่วยนโยบายและหน่วยจัดสรรทุน




ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ดังเล่าในตอนที่แล้วว่าวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒ ผมได้รับเชิญไปร่วมประชุมการเคลื่อนงาน อววน. ของ รมว. อว.    ที่เล่าในตอนที่แล้วเป็นช่วง ๑๕ - ๑๗ น.    ที่เน้นการทำงานปฏิรูปอุดมศึกษา และ PMU ด้าน Area-Based Research    บันทึกนี้จะเน้นวิพากษ์สาระการประชุมในช่วง ๑๗ - ๑๙ น.    ซึ่งเน้นการทำงานของ สอวช., สกสว., และ PMU (หน่วยจัดการทุนวิจัย) ซึ่งจะมี ๔ หน่วยงาน แต่ตอนนี้ยังมีเพียง วช. หน่วยเดียว   

 ผมเข้าใจว่า ระบบการทำงานร่วมกันของ ๓ ชั้นในระบบวิจัยส่วนบนยังไม่ชัดเจน    ยังไม่มีกลไกให้ ๓ หน่วยงานทำงานร่วมกัน    ท่านรัฐมนตรีจึงต้องเรียกประชุมเอง และเชิญผู้อาวุโสจำนวนหนึ่งเข้าร่วมประชุมด้วย    ผมขอแจ้งให้ทราบทั่วกันว่า การประชุมแบบนี้ไม่มีเบี้ยประชุม ไม่มีค่าเดินทาง มีแต่อาหารเย็นเลี้ยง ๑ มื้อ    เป็นการทำงานเพื่อบ้านเมืองโดยแท้   

ท่าน รมว. สุวิทย์ เมษินทรีย์ บอกว่า กระทรวง อว. มีหน้าที่ ๓ อย่าง คือ สร้างคน สร้างความรู้ และสร้างนวัตกรรม   และภายในกระทรวง อว. มี building blocks สำคัญ ๔ ชิ้น คือ    สป., สอวช., สกสว., และ PMU  

ในฐานะคนมีความรู้น้อย ผมฟังท่าน รมว. ให้นโยบายด้วยความทึ่งในความชัดเจนและคล่องแคล่วของท่าน    ในการให้นโยบายแก่ สป. (สำนักปลัดกระทรวง อว.)     ว่า สป. มีหน้าที่ ๒ อย่างตือ (๑) เปลี่ยนรูป สกอ.  (๒) ทำหน้าที่ systems integrator สามด้านคือ  (ก) global strategic partnership  (ข) ภารกิจเชิงรุกในการเปลี่ยนแปลงระบบกำกับดูแล  ระบบกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาความปั่นป่วนในมหาวิทยาลัย  (๓) พัฒนาระบบ big data  

ผมหวังจะไปรับฟังว่า จะ transform แนวทางทำงานของ สกอ. อย่างไร    แต่ไม่มีการพูดถึง ผมอยากเห็น สกอ. เปลี่ยนวิธีทำงานจากกำกับมหาวิทยาลัยด้วยกฎระเบียบ    ซึ่งเป็นการรักษาคุณภาพที่ input    เปลี่ยนมาทำหน้าที่รักษาคุณภาพที่ output    และเปลี่ยนจากให้มหาวิทยาลัย accountable ต่อ สกอ.  ไปเป็น accountable ต่อสังคม    ตามที่เขียนในบันทึกก่อนๆ แล้ว    แต่ไม่ได้ยินในการประชุมนี้ 

ผมชอบแนวคิดมองกิจกรรม ววน. เป็น quadruple helix ในบทบาทของ ๔ ฝ่ายคือ  (๑) สถาบันวิจัย  มหาวิทยาลัย  (๒) เอกชน  (๓) ชุมชน  (๔) ต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงเครือข่ายกับต่างประเทศ    โดยที่แต่ละโปรแกรมอาจมีบางฝ่ายทำหน้าที่เด่น    บางฝ่ายทำหน้าที่น้อยหรือไม่มีเลย    ซึ่งผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของ สกสว., PMU, และ consortium วิจัย จะทำงานร่วมกัน  

เข้าใจว่า ภายในวงนี้ได้พูดกันชัดแล้วว่า  แต่ละโปรแกรมวิจัยจะมี consortium รับทุนไปทำวิจัย    ที่เป็นทุนต่อเนื่องหลายปี    และทุนจากภาครัฐ ที่เป็นงบประมาณแผ่นดินจากกระทรวง อว. เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังจะมีงบประมาณจากภาคเอกชนหรือจากกระทรวงทบวงกรม  อปท.   และจากหน่วยงานไม่แสวงกำไร มาสมทบ   

รศ. ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ ให้ความเห็นที่ดีมากเรื่องการก่อตั้ง และหน้าที่ของ consortium  ทั้งช่วงการตั้งโจทย์ และช่วงการรับทุนทำวิจัย    ผมจึงคิดว่า การจัดการก่อตั้งและพัฒนา consortium วิจัย น่าจะเป็นโจทย์สำคัญของกระทรวง อว.    โดยเป็นหน้าที่ร่วมกันของ สกสว. และ PMU     สกสว. กับ PMU จึงต้องทำงานใกล้ชิดกันมาก   

มีการพูดถึง monitoring & evaluation    และผมจับความได้ว่า (ผมอาจจับความผิด) มองกิจกรรมนี้เป็นการ “ติดตามผล” ล้วนๆ    ซึ่งผมไม่เห็นด้วย    ผมเห็นว่า เป้าหมายเพื่อการติดตามผลเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น    เป้าหมายที่ใหญ่กว่าคือ เพื่อช่วยให้ทำสำเร็จเป็นอย่างดี (empowering)    และให้เกิดวงจรเรียนรู้ ที่เรียกว่า double loop learning    ผมมองว่าเป้าหมายของ monitoring & evaluation ต้องครบทั้ง ๓ ประการข้างบน    เครื่องมือของ M&E ที่เตรียมใช้คือ OKR ซึ่งผมเห็นด้วยส่วนหนึ่ง    ที่ต้องคิดต่อคือส่วนของการช่วยให้เกิดความสำเร็จ (empowerment)   และส่วนเพื่อการเรียนรู้ จะจัดอย่างไร       

เป็นไปตามที่ผมคาด   การตั้งกระทรวงใหม่ รวมหน่วยงานจากต่างกระทรวงเข้ามาร่วมกันทำงาน    เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน    มีผลให้ในช่วงเริ่มต้น หน่วยงานต่างๆ ยังงงๆ    ยังไม่มีทักษะในการทำงานที่ตนรับผิดชอบ    ที่คล่องที่สุดน่าจะเป็น สอวช.  เนื่องจากทำงานที่ตนถนัดอยู่แล้ว    และมีเจ้าหน้าที่ที่เรียนมาเรื่องนโยบาย ววน. โดยตรง   

ดังนั้นเมื่อหัวหน้าของบางหน่วยงานโดนซัก ว่าทำไมกำหนดงบประมาณให้โครงการเรือธง ก ๒๐๐ ล้าน   ให้โครงการเรือธง ข ๙๐๐ ล้าน ก็ตอบไม่ได้    ซึ่งสำหรับผมไม่แปลก เพราะเป็นงานใหม่ที่ยังไม่มีทักษะและประสบการณ์    ใครมาทำก็อยู่ในสภาพเดียวกัน    แต่ที่สำคัญกว่า คือต้องรีบเรียนรู้โดยเร็ว

จึงเห็นได้ชัดเจนว่า ในช่วง ๓ ปีแรกของการก่อตั้งกระทรวง อว.    หน่วยงานด้าน ววน. สามระดับที่กล่าวแล้วต้องทำงานร่วมกัน และเรียนรู้ร่วมกันเป็นเนื้อเดียวกัน    ในที่ประชุมใช้คำว่า interface    แต่ผมเสนอว่าต้องทำงานให้เกิด synergy กัน    หากผมเป็นรัฐมนตรี (if … were) ผมจะแสดงท่าทีให้เบอร์หนึ่งของสามหน่วยงานนี้เข้าใจชัดเจนว่า     ท่านใดทำงานแบบศิลปินเดี่ยวไม่ร่วมมือใกล้ชิดกับอีกสองชั้น ต้องไปทำงานอื่น 

ที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่ใน สกสว.  และใน วช. ทั้งหมดไม่มีทักษะทำงานที่หน่วยงานรับผิดชอบ    ต้องช่วยให้คนเหล่านั้นเรียนรู้ทักษะที่ต้องการโดยเร็ว    และที่ผมมองว่าสำคัญยิ่งกว่าทักษะคือ เจตคติและจริยะ ที่นำไปสู่ท่าทีส่งเสริมสนับสนุนหน่วยวิจัยและนักวิจัย    ไม่ทำตัวเป็นนายหรือผู้ถืออำนาจเหนือ    

           

วิจารณ์ พานิช        

๑ ต.ค. ๖๒

หมายเลขบันทึก: 673570เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2019 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2020 06:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท