วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 7. ระบบการเงินที่ผิดพลาด


ตอนที่ ๑    ตอนที่ ๒     ตอนที่ ๓    ตอนที่ ๔   ตอนที่ ๕    ตอนที่ ๖ 

เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑ ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.) ของ นพ. ดร. ยศ ตีระวัฒนานนท์ ที่ HITAP   นพ. ยศบอกว่า ทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. เป็นทุนที่ยืดหยุ่นเอื้อต่อการสร้างสรรค์งานวิจัยที่สุด   เพราะไม่มีขีดจำกัดว่าห้ามใช้เป็นค่าตอบแทนเกินเท่านั้นเท่านี้เปอร์เซ็นต์    ที่แหล่งทุนวิจัยอื่นของประเทศเพิ่งมากำหนดจากแรงกดดันจากรัฐบาลทหารในช่วงสามปีมานี้    เพราะมีการนำเอาทุนวิจัยไปปนกับการจ้างทำของ    ซึ่งเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง

ผมจึงขอนำมาบันทึกไว้ในที่นี้ว่า ระบบการเงินที่ขาดความคล่องตัว ของทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุประเทศไทย ๔.๐   การวิจัยบางประเภทเป็นกิจกรรมที่เน้นสมองคน    ค่าตอบแทนคนจึงมีสัดส่วนที่สูง    การกำหนดว่าทุนวิจัยต้องมีค่าตอบแทนนักวิจัยไม่เกินเท่านั้นเท่านี้เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นข้อกำหนดที่ไม่เหมาะสมต่อการสนับสนุนการวิจัย 

ระบบการเงินที่ผิดพลาดอีกอย่างหนึ่งคือ การที่สำนักงบประมาณต้องการให้ส่งเงินทุนวิจัยไปยังหน่วยงานวิจัยโดยตรง    ไม่ผ่านหน่วยจัดการงานวิจัย    และหน่วย RDU (Result Delivery Unit) ที่กำลังจะมีการจัดตั้งขึ้นสำหรับจัดการงานวิจัยแบบ Spearhead ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี ๒๕๖๑   หากคำเล่าลือนี้เป็นความจริง ก็แสดงว่าสำนักงบประมาณไม่เข้าใจคุณค่าของการจัดการงานวิจัย    ที่เป็นการจัดการที่ซับซ้อน   และจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ให้แก่เงินลงทุนด้านการวิจัย

น่าเสียดายที่เราไม่มีการวิจัยผลกระทบของการใช้เงินวิจัยของชาติ เปรียบเทียบระหว่างเงินที่ให้ผ่าน สกว. เปรียบเทียบกับเงินวิจัยที่ให้ตรงไปยังกระทรวง กรม และหน่วยงานวิจัยโดยตรง

วิจารณ์ พานิช

๔ ม.ค. ๖๑


หมายเลขบันทึก: 644126เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2018 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2018 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท