วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : ๒. เปลี่ยนระบบให้คุณ แก่นักวิจัยใน ระบบที่ ๒


ตอนที่ ๑ (ลิ้งค์)

ใน ppt ของเอกสาร () หน้า ๘ ระบุแนวทางการดำเนินการเพื่อปรับระบบ ว. และ น. ของประเทศ ในส่วนนโยบาย ดังนี้ 




ผมดีใจที่เห็น ppt นี้    แต่ก็เห็นว่า ยังเป็นเรื่องเชิงนโยบายเท่านั้น    ยังไม่เห็นกลไกเชิงปฏิบัติที่เป็น จุดคานงัดที่เป็นรูปธรรม    นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหญ่ของระบบ ว. และ น.    ซึ่งในความเห็นของผมคือ ที่มาของโจทย์วิจัย  


ดังกล่าวแล้วในบันทึกชุด วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ตอนที่ ๑   ว่า เพื่อผลักดัน ประเทศไทย ๔.๐   สัดส่วนของระบบวิจัย ระบบที่ ๑ : ระบบที่ ๒  ต้องเคลื่อนสู่สัดส่วน ๒๐ : ๘๐

ดังนั้น หน่วยจัดการงานวิจัยต้องมีการจัดการเชิงรุก  ที่จะให้ได้โจทย์วิจัยจาก real sector ในประเด็นที่อยู่ในลำดับความสำคัญสูงของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ    และ real sector นั้นๆ ก็พร้อมที่จะร่วมลงทุน    ซึ่งอาจเป็นการลงทุน in cash  หรือ in kind หรือทั้งสองอย่าง


ที่จริงงานวิจัยตามความต้องการของฝ่ายชีวิตจริง เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ใช้ความรู้ มากกว่างานวิจัย สร้างความรู้ใหม่    การจัดการงานวิจัยเพื่อ ปทท. ๔.๐ จึงต้องปรับเปลี่ยนมาเน้น application research    ไม่ใช่ inquiry/discovery research  

จึงนำไปสู่การเปลี่ยนระบบให้คุณ (reward system) ต่อนักวิจัย    จากการนับ international publication  ในวารสารที่มี impact factor สูง    มาสู่การนับผลงานที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ     ซึ่งจะต้องมีการ พัฒนาระบบวัดและตรวจสอบยืนยัน     ต่อยอดจากการที่ กพอ. ได้ออก ประกาศ ก... เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 9) ..2556  กำหนดผลงานวิชาการรับใช้สังคมไว้ในรายการผลงานวิชาการ ที่ใช้ยื่นขอตำแหน่งวิชาการได้    แต่จนถึงบัดนี้ ๔ ปีให้หลัง ก็ยังเกิดผลในทางปฏิบัติน้อย    เพราะขาดการจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง 

หัวใจของการปรับระบบ ว. และ น. เพื่อ ปทท. .(.. .) คือการ สร้างระบบวิจัย ระบบที่ ๒  และสร้างระบบให้คุณแก่นักวิจัยในระบบที่ ๒ ที่เป็นรูปธรรม


จึงมีคำถามต่อว่า เวลานี้เรามีหน่วยงานทำ วิจัย ๔.เพียงพอแล้วหรือยัง     ที่เวลานี้นักวิจัยส่วนใหญ่ อยู่ในมหาวิทยาลัย เป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการขับเคลื่อน ว.น. ๔.๐ หรือไม่    ผมขอเสนอความเห็นว่าไม่     เรายังต้องการสร้างหน่วยงานวิจัยที่แอบอิงอยู่กับ real sector    เป็นหน่วยงานวิจัยระบบที่ ๒ เต็มรูป     แต่เชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานวิจัยในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ในลักษณะ “ภาคียุทธศาสตร์” 


การสร้าง “หน่วยงานวิจัย ๔.๐” จึงเป็นความท้าทาย เพื่อการบรรลุ ปทท. ๔.๐ 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.ย. ๖๐



หมายเลขบันทึก: 639556เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ประศักดิ์ ถาวรยุติการต์

เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเป้าหมายต้องชัดเจนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในreal sectors

มิใช่คำพูดลอยๆ ตัวอย่างของประเทศจีนเห็นชัดเจน ผมว่าทุกวันนี้มหาวิทยาลัยยังงงๆ กกอ. ต้องชัดเจนด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท