วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : ๑. ต้อง transform ระบบวิจัย



ในยุคแห่งความมุ่งมั่นสู่ ประเทศไทย ๔.๐ การยกระดับการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศเป็น เรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง    สวทน. ได้เผยแพร่ ร่างยุทธศาสตร์ที่ได้รับอนุมัติจาก สวนช. แล้วเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๐  ที่ () และในข่าว ()    ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ย่อย ๔ ด้าน     และประเด็นหลัก ๑๒ ประเด็น    

วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๐ ผมพบ ศ. ดร. นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย ซึ่งทำหน้าที่ให้คำปรึกษา สวทน. จึงถามความคืบหน้าของยุทธศาสตร์ดังกล่าว     และทราบว่ายังอยู่ในสภาพร่างเป็น powerpoint อย่างในลิ้งค์ ()    ยังไม่มีฉบับเขียนเป็นข้อความที่แสดงวิธีคิดเหตุผลเป็นขั้นตอนอย่างชัดเจน    ดร. นักสิทธ์ชี้ให้เห็นว่า การกำหนดให้ สวนช. มีสองหน่วยงานเลขา คือ วช. กับ สวนช. ทำให้ทำงานยาก  

ด้วยความจำกัดความสามารถในการตีความ ppt นี้    ผมชื่นชมว่า มีการคิดอย่างซับซ้อนมาก    ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงมากเช่นกัน    แต่อาจไม่ชัดใน ppt    ความซับซ้อนน่าจะมาชัดตอนนำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ    ซึ่งจะต้องจัดให้มีการประเมินตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้     สำหรับใช้เป็นข้อมูลสำหรับ feedback  สู่การปรับวิธีปฏิบัติ    ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการกำหนดตัวชี้วัด    ดังเล่าที่ ,    แต่จากบันทึกทั้งสอง ยังไม่ชัดว่า เป้าหมายและยุทธศาสตร์ใช้ตัวชี้วัดเป็นอย่างไร    ใช้มองภาพรวมก็แบบหนึ่ง  ใช้เป็น feedback ปรับวิธีประยุกต์ยุทธศาสตร์ก็อีกแบบหนึ่ง 

ผมชื่นชมว่า สวทน. นำร่าง () ออกเผยแพร่ค้นหาได้ง่าย    แต่ในชั้นนี้เมื่ออ่านก็ต้องตีความสาระเอาเอง    ผมพุ่งทำความเข้าใจโครงสร้างของยุทธศาสตร์แต่ละส่วน    และไปสะดุดตาที่ร่างนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ ๙ และ copy และนำมา paste ดังนี้



โดยผมคิดว่าตกประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด    คือการปรับเปลี่ยน (transform) ระบบวิจัยของประเทศ     จากสภาพที่ระบบการวิจัยอยู่บนฐานโจทย์วิจัยเชิงวิชาการเป็นหลัก     สภาพปัจจุบันเป็นระบบวิจัยที่ลอย ไม่เชื่อมโยงกับการทำมาหากินและการพัฒนาประเทศ      ผมเรียกการวิจัยแบบนี้ว่า ระบบวิจัยบนฐานวิชาการ (ระบบที่ ๑) ซึ่งที่จริงก็มีคุณค่า     แต่เพื่อบรรลุประเทศไทย ๔.๐ เราต้อง transform ระบบวิจัยภาพใหญ่ของประเทศ ให้ตั้งโจทย์วิจัยจากภาคชีวิตจริง (real sector) และทำงานวิจัยร่วมอยู่ในภาคชีวิตจริง     ผมเรียกระบบวิจัยแบบนี้ว่า ระบบวิจัยบนฐานชีวิตจริง (ระบบที่ ๒)     

ผมเดาว่า ขณะนี้สัดส่วนการวิจัยระบบที่ ๑ : ระบบที่ ๒   เท่ากับ  ๘๐ : ๒๐    เราต้องเปลี่ยนให้เป็น  ๒๐ : ๘๐  จึงจะทำให้ระบบวิจัยเป็นพลังขับดันสู่ประเทศไทย ๔.๐ ได้

ซึ่งหมายความว่า วัฒนธรรมวิจัย และระบบบริหารงานวิจัยของประเทศ ต้องเปลี่ยนจากระบบที่ ๑ เป็นตัวเด่น    ไปสู่ระบบที่ ๒ เป็นตัวเด่น

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก    เปลี่ยนแบบ transform ไม่ใช่ change     ต้องมุ่งสถาปนา research management platform ใหม่    ที่ไม่ใช่คนจากภาควิชาการผูกขาดตำแหน่งด้านการบริหาร และการกำกับดูแล งานวิจัย  อย่างในปัจจุบัน     ต้องมีคนจาก real sector เข้ามาดำเนินการร้อยละ ๕๐ - ๖๐ 

real sector ในที่นี้ไม่ใช่จำกัดเฉพาะภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเท่านั้น    ภาคชีวิตความเป็นอยู่ ทำมาหากินของชาวบ้านคนเล็กคนน้อย  และภาคการจัดระบบสังคมและเศรษฐกิจการเมืองก็เป็นส่วนสำคัญของ real sector ด้วย    ระบบวิจัยต้องดูแลเชื่อมโยงกับ real sector ให้ครบทุกส่วน

หากไม่ transform ระบบวิจัย    และ transform การบริหารและกำกับดูแลงานวิจัย    เพื่อให้ระบบวิจัยกับ real sector เชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน    ประเทศไทย ๔.๐ ไม่มีวันเกิดขึ้นได้

จึงต้องมียุทธศาสตร์ transform ระบบวิจัย ที่ได้ผลจริงภายใน ๑๐ ปีเป็นอย่างช้า 

ใน () มี ppt ระบุความเห็นของ รมช. สุวิทย์ เมษิณทรีย์  ในเรื่องการเปลี่ยนระบบวิจัยและนวัตกรรม ดังนี้  




ข้อคิดเห็นของผมจึงเป็นการขยายความสู่ยุทธศาสตร์การ transform ระบบ ว และ น



วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 639150เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2017 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2017 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท