ชีวิตที่พอเพียง 2966. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ด้วยดัชนีรวม



ดังเล่าในบันทึกที่แล้ว ว่าเช้าวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ผมไปประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบ ตัวชี้วัด และการติดตาม พัฒนาการของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับการแข่งขัน ของประเทศ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ ที่ สวทน. 

โดยในการประชุมครั้งที่ ๑ คณะทำงานของ สวทน. ได้ยกร่างตัวชี้วัดไว้ ๕ หมวด ดังนี้





สรุปข้อคิดเห็นของคณะกรรมการ ในการประชุมครั้งที่ ๑ ดังนี้  





ระบบตัวชี้วัดนี้มีเป้าหมายเพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ วทน. (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม) ของประเทศ    ให้สนองการพัฒนาประเทศ สู่ประเทศรายได้สูงภายใน ๒๐ ปี      


เป้าหมายไม่ใช่แค่ชี้เฉยๆ นะครับ ต้องใช้ทำหน้าที่ขับเคลื่อน เปลี่ยนวิธีคิด หรือ mindset ของคนไทยทั้งมวลด้วย    เพราะการที่รายได้ของคนไทยจะเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าในเวลา ๒๐ ปี ด้วย mindset เดิม ย่อมเป็นไปไม่ได้  


คนไทยทั้งมวลต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าด้วย วทน. ในชีวิตของตน   ประเทศไทยจึงจะเคลื่อนสู่สภาพ ๔.๐ ได้   

 

ดังนั้น ยึดติดที่คำ ตัวชี้วัด    คือเอาเฉพาะที่วัดได้เป็นตัวเลข จะไม่พอ    ต้องมีทั้งส่วนที่เป็นตัวเลข (quantitative) และที่ไม่เป็นตัวเลข (qualitative) รวมทั้งที่เป็นเรื่องราว (stories) ด้วย    เพื่อขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลง วทน. จากมุมของฝ่ายปฏิบัติ   ด้วยเรื่องราวการปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรม หรือเปลี่ยน mindset ด้านการประยุกต์ วทน.   เพราะ วทน. จะก่อผลจริงๆ ที่ภาคปฏิบัติ    ไม่ใช่ที่ภาควิชาการ 


ผมเสนอให้พิจารณาทำ ดัชนีรวม (composite index) ด้วย    ในทำนองเดียวกันกับระบบ ranking มหาวิทยาลัยโลก  หรือ competitiveness ranking ของประเทศ    ที่สำนัก ranking ทั้งหลายคิดวิธีให้คะแนน ในเรื่องที่ตนจะวัด  โดยมีตัวชี้วัดหลักจำนวนหนึ่ง    และแต่ละตัวชี้วัดหลักมีตัวย่อยอีกมากมาย    มีการเก็บข้อมูล และใช้ฐานข้อมูล สำหรับทำตัวชี้วัด    ออกประกาศเป็นรายปี    สำหรับเปรียบเทียบกับปีก่อนๆ ได้    และ เปรียบเทียบกับ วทน. ของประเทศที่เราต้องการทำ benchmarking ด้วย     โดยต้องไม่ลืมว่า ประเทศเหล่านั้น เขาก็ไม่ได้หยุดนิ่ง ในการพัฒนาระบบ วทน. ของตน    


นั่นหมายความว่า ต้องมีทีมทำตัวชี้วัดโดยเฉพาะ    ทำงานตลอดปี  ส่วนหนึ่งเป็นงานวิจัย    และมีเทศกาลประจำปี ในการสร้าง วาทกรรมสาธารณะเรื่อง วทน. กับความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และการกินดีอยู่ดีของคนไทย    


นั่นหมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของตัวชี้วัด วทน. คือคนไทย     ไม่ใช่ สวทน.  และไม่ใช่นัก วทน.          


ต้องมีระบบข้อมูลที่มีชีวิต คือเป็นปัจจุบัน    ที่ฝ่ายต่างๆ รับผิดชอบลงข้อมูล ที่ถูกต้อง     ไม่ใช่ข้อมูลศรีธนญชัย    ตัวชี้วัดและดัชนีจึงจะมีความแม่นยำถูกต้อง     แต่ไม่ว่าข้อมูลจะดีเพียงใด ก็ยังต้องมีนักวิชาการทำการ “clean” ข้อมูล ก่อนนำมาใช้งาน    นอกจากนั้น ยังต้องใช้ข้อมูลจาก  big data ประกอบด้วย                                                                                          


วิจารณ์ พานิช

๒๓ มิ.ย. ๖๐

 



หมายเลขบันทึก: 631627เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2017 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2017 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท