วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : ๓. หน่วยงานวิจัย ๔.๐



ตอนที่ ๑ 

ตอนที่ ๒


ยุทธศาสตร์ตามเอกสาร () หน้า ๑๒ ไม่ได้แตะเรื่องการสร้างหน่วยงานวิจัยขึ้นใหม่ 


ผมขอเสนอว่า ควรพิจารณาอย่างจริงจังว่า เราควรตั้งหน่วยวิจัยแบบใหม่ที่ใช้สถานประกอบการ (real sector) เป็นฐาน มีเป้าหมายจำเพาะตามลำดับความสำคัญของประเทศ    ทำวิจัยระบบที่ ๒    และตั้งง่ายเลิกง่าย แต่มีเป้าหมายชัดเจน  มีความคล่องตัว  มีการตรวจสอบผลงานจริงจัง    มีเป้าหมายระยะปานกลางถึงยาว (๕ - ๑๐ ปี)    หากมีความจำเป็นจริงๆ จึงจะให้ดำเนินการต่อ    แต่ส่วนใหญ่นักวิจัยจะผันไปทำงานในหน่วยวิจัยใหม่ ที่มีความต้องการสูง

เนื่องจากหน่วยวิจัยแบบนี้ส่วนใหญ่จะอิงอยู่กับภาคธุรกิจ  ค่าตอบแทนของนักวิจัยจึงมีสเกล ตามธุรกิจด้วย    และการพิจารณาผลงานก็เอาจริงเอาจังแบบธุรกิจ    จะช่วยให้หน่วยวิจัยเหล่านี้มีวัฒนธรรม การทำงานแบบมุ่งผลงาน    ช่วยผลักดันความเข้มแข็งของหน่วยวิจัยและนักวิจัย   

หากดำเนินการตามที่เสนอ (ฝัน / สวมหมวกเขียว)     ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างจริงจัง ขึ้นในระบบ ว. และ น. ของประเทศ    ไปสู่ ว.น. ๔.๐ อย่างแท้จริง     ผมไม่เชื่อว่าโครงสร้าง ว.น. ที่ประเทศไทย มีอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นพลังขับเคลื่อนสู่ ปทท. ๔.๐ ได้


วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 640032เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2017 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2017 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท