อนาคตการทำงานและความเป็นอยู่ที่มาถึงแล้ว


ปัจจุบันกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญและมีแนวโน้มว่าเทคโนโลยีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งต่อๆไปถี่มากขึ้น

1. สภาพแวดล้อมการทำงานและการดำเนินชีวิตปัจจุบันกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญและมีแนวโน้มว่าเทคโนโลยีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งต่อๆไปถี่มากขึ้น ประเด็นหลักที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานรอบนี้ ได้แก่

  • การประยุกต์ใช้และการปรับตัวให้ทำงานสอดประสานได้กับระบบอัตโนมัติ (Automation) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทั้งหลาย
  • การเพิ่มพูนทักษะและบูรณาการความรู้จากหลายสาขาสู่งานเดียวกันหรือเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่ิรียกว่า สหวิทยาการ (Multidisciplinary)ดังนั้น ความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพหรือความรู้เดิมก็ยังคงสำคัญ แต่ความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวจะสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ อันที่จริงทุกวันนี้มันสำคัญกว่าความเชี่ยวชาญไปเสียแล้ว

ในส่วนของการดำเนินชีวิตต่อจากนี้ เราคงถูกตรวจจับจากเซ็นเซอร์ทางกายภาพและร่องรอยการทำธุรกรรมที่นำไปสู่การประมวลหารูปแบบของพฤติกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ IoT หรือ Internet of Things จะเป็นเทคโนโลยีหลักในการขับเคลื่อน รวมไปถึงการเผชิญหน้ากันระหว่างปัญญามนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ที่เข้มข้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2. ฐานะลูกค้าและความเป็นตัวเราปัจจุบันจนถึงกระทั่งอนาคต ความเป็นตัวเราจะได้รับการตอบสนองมากยิ่งขึ้น ผ่านกระบวนการแบบสหวิทยาการเพื่อออกแบบนวัตกรรมและการแก้ปัญหาที่เรียกว่า Design Thinking ซึ่งมุ่งเน้นที่มนุษ์หรือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Human Centric Design Process)

3. พฤติกรรมพวกเราเปลี่ยน การตลาดจึงเปลี่ยนในเมื่อ Digital Technology โดยเฉพาะ Mobile และสื่อ Social ทำให้วิถีชีวิตเราเปลี่ยนไป นักการตลาดผู้เบิกทางแก่นักล่าเงินในกระเป๋าเราอย่างนักขายก็เปลี่ยนกระบวนท่าเสียใหม่จากแบบเดิมที่มีการทำความเข้าใจลูกค้าเพื่อโน้มน้าวพฤติกรรมการบริโภค (Traditional Customer Journey) ลักษณะเป็นอนุกรมเส้นตรง ได้แก่ Awareness Interest Consideration Intent Evaluation และ Purchase เป็นทฤษฎีผู้บริโภคแบบใหม่ (New Customer Journey) หรือมีหลายเส้นทาง

4. ประสบการณ์แบบดิจิตอลแฟชั่น Digital Transformation กำลังมาแรง การนำให้ Digital Asset มาเป็นส่วนสำคัญเพื่อผลักดันการดำเนินงาน การสร้างผลิตภัณฑ์หรือช่องทางการจัดจำหน่ายที่เป็นดิจิตอล การทำตลาดแบบดิจิตอล (Digital Marketing) นอกจากจะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจแล้วยังส่งผลกระทบต่อลูกค้าในด้านประสบการณ์เป็นอย่างมาก ซึ่งประสบการณ์แบบดิจิตอล (Digital Experience) ก็คือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล โดยเป้าหมายการสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่นี้ ก็หนีไม่พ้นวัตถุประสงค์ทางการตลาด ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้า (Customer Engagement) เพื่อให้เกิดความภักดี (Customer Loyalty) นั่นเอง

5. สังคมแห่งความรู้และวิถีแห่งคุณค่าประสบการณ์ที่ผ่านมากับกิจกรรมที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ จะถูกนำมาสกัดเพื่อประมวลเป็นองค์ความรู้ ฐานแห่งความรู้เหล่านี้เป็นจุดตั้งต้นของการสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งใหม่ที่มุ่งเน้นวิถีแห่งคุณค่าที่แท้จริง (Value Based Economy) นั่นคือ อีกหน่อยไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็มีแนวโน้มที่จะทำน้อยแต่ได้มาก ต่างจากอดีตที่มักจะทำมากแต่ได้น้อย

อ้างอิง : Thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 644120เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2018 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2018 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท