วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) 47. การกำกับดูแล อววน.


ตอนที่ ๑       ตอนที่ ๒       ตอนที่ ๓      ตอนที่ ๔       ตอนที่ ๕     ตอนที่ ๖      ตอนที่ ๗      ตอนที่ ๘      ตอนที่ ๙      ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑      ตอนที่ ๑๒     ตอนที่ ๑๓     ตอนที่ ๑๔      ตอนที่ ๑๕    ตอนที่ ๑๖      ตอนที่ ๑๗     ตอนที่ ๑๘      ตอนที่ ๑๙    ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑       ตอนที่ ๒๒     ตอนที่ ๒๓     ตอนที่ ๒๔      ตอนที่ ๒๕    ตอนที่ ๒๖      ตอนที่ ๒๗      ตอนที่ ๒๘     ตอนที่ ๒๙    ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑     ตอนที่ ๓๒     ตอนที่ ๓๓      ตอนที่ ๓๔      ตอนที่ ๓๕   ตอนที่ ๓๖      ตอนที่ ๓๗      ตอนที่ ๓๘    ตอนที่ ๓๙    ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑       ตอนที่ ๔๒     ตอนที่ ๔๓     ตอนที่ ๔๔     ตอนที่ ๔๕    ตอนที่ ๔๖

วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๒ ผมได้รับเชิญไปร่วมประชุมการเคลื่อนงาน อววน. ของ รมว. อว.    ที่ผมตีความว่า เป็นการหารืองานในระดับขับเคลื่อนนโยบาย    ที่จะต้องหาทางทำให้เกิด Double Learning Loop ของกระบวนการนโยบาย   และหาทางทำให้ อววน. เป็นพลังขับเคลื่อนการ transform ประเทศไทย    สู่สภาพรายได้สูงสังคมดี  

ซึ่งหมายความว่า กิจกรรมส่วนใหญ่จะอยู่นอกกระทรวง อว.   หรือแม้อยู่ในกระทรวง อว. หลายหน่วยงานก็สั่งการตรงๆ ไม่ได้    ต้องหาวิธี nudge ให้ทำตาม   หรือในภาษาง่ายๆ คือ หาทางส่งเสริมให้ทำตามนโยบาย    หากทำตามนั้นก็มีทุนสนับสนุน   ยิ่งทำแล้วเกิดผลดีตามเป้า ต่อไปก็จะได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้น   

ที่จริงงบประมาณ ปี ๒๕๖๓ ก็ออกมาในแนวที่ผมเขียนมานานแล้ว    ว่าหมดยุคที่มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณมาทำงานวิชาการแบบเดิมๆ ที่ผมเรียกว่า diffusion mode แล้ว   ต้องเปลี่ยนไปใช้ engagement mode    และ engagement ที่สำคัญที่สุดคือ engage กับเป้าหมายในการพัฒนาประเทศและนโยบายของรัฐบาล (๑)    ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ มหาวิทยาลัยโดนตัดงบประมาณกันถ้วนหน้า (ยกเว้นกลุ่ม มรภ. และ มทร.) โดยเฉพาะงบประมาณด้านการวิจัย    

ผมคิดในใจว่าทีมงานของ รมว. น่าจะใช้ยุทธศาสตร์ส่งเสริม   ไม่ใช่ยุทธศาสตร์บังคับ    และเลือกส่งเสริมหน่วยงานหรือทีมที่ทำงานได้ผลดี    วิธีการที่ผมได้รับทราบมาจากต่างประเทศวิธีหนึ่งเรียกว่า initiatives    คือมีงบประมาณประกาศชิ้นงานในลักษณะแปลกใหม่ให้ หน่วย/ทีม งานสมัครรับทำ ในลักษณะที่มีการคัดเลือก    และมีการติดตามสนับสนุนให้ทำได้สำเร็จ    เพื่อใช้ผลงานใหม่นั้นๆ ไปเปลี่ยนรูปแบบการทำงานภาพใหญ่    ให้เกิด transformation ของระบบงาน    ในภาษาปัจจุบันน่าจะเรียกได้ว่า เป็นการประกาศ sandbox ที่ใน box มีเงินสนับสนุนด้วย    เห็นได้ชัดเจนว่า นักการเมืองต้องการผลงานเร็ว    และเลือกทำภายในขอบเขตอำนาจของตน    งานที่จริงๆ แล้วต้องหนุนทุกกระทรวงจึงถูกกันไว้เป็นงานระยะยาว       

ผมจ้องไปฟังว่า ทีมงานของท่านรัฐมนตรี มีแนวคิดการทำงาน ววน. ในลักษณะ “วิจัยนำ” (research mode)  หรือแนว “นวัตกรรมนำ” (innovation mode)    และพบว่าเป็นแนววิจัยนำ ผมจึงเสนอเมื่อจบการประชุมว่า    แนวทางที่ใช้ทำงานยังเป็นแนววิจัยนำ ซึ่งล้าสมัยแล้ว    ท่านที่สนใจโประอ่านบันทึกก่อนๆ ในชุด วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาตินี้

ผมจ้องไปฟังว่า ทีมงานคำนึงถึงขีดความสามารถในการทำงานของหน่วยวิจัยแค่ไหน    โดยผมเขียนในบันทึกชุดนี้เรื่อยมา ว่าระบบหน่วยงานวิจัยของไทย “ไม่สมประกอบ” หรือ “พิการ”    ในลักษณะ “มีอวัยวะไม่ครบ”    และเป็นดังคาด    ดังนั้น ตอนจบ ผมจึงให้ความเห็นว่า ที่คุยกันทั้งหมด    อยู่บนสมมติฐานว่าระบบหน่วยงานทำวิจัยของประเทศมีความแข็งแรง ซึ่งผมคิดว่าผิด    เราหลงคิดพึ่งมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานวิจัยหลักเพื่อการพัฒนาประเทศ    มหาวิทยาลัยมีความสำคัญต่อระบบวิจัยของประเทศ  แต่ไม่เพียงพอ    ต้องการหน่วยงานวิจัยเฉพาะด้านที่มุ่งทำวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมสู่การหารายได้ และการเปลี่ยนแปลงสังคม    

วิจารณ์ พานิช        

๑ ต.ค. ๖๒

    



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท