วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 37. มุมมองจากผู้รับทุนคุณภาพสูง


ตอนที่ ๑       ตอนที่ ๒      ตอนที่ ๓      ตอนที่ ๔      ตอนที่ ๕  

ตอนที่ ๖      ตอนที่ ๗      ตอนที่ ๘       ตอนที่ ๙       ตอนที่ ๑๐  

ตอนที่ ๑๑      ตอนที่ ๑๒      ตอนที่ ๑๓      ตอนที่ ๑๔      ตอนที่ ๑๕  

ตอนที่ ๑๖      ตอนที่ ๑๗     ตอนที่ ๑๘   ตอนที่ ๑๙   ตอนที่ ๒๐   

ตอนที่ ๒๑    ตอนที่ ๒๒    ตอนที่ ๒๓    ตอนที่ ๒๔    ตอนที่ ๒๕  

ตอนที่ ๒๖    ตอนที่ ๒๗   ตอนที่ ๒๘    ตอนที่ ๒๙    ตอนที่ ๓๐ 

ตอนที่ ๓๑     ตอนที่ ๓๒      ตอนที่ ๓๓   ตอนที่ ๓๔ ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖     ตอนที่ ๓๗

รัฐบาลประยุทธ ๒ เริ่มทำงานเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒    โดยทำหน้าที่เริ่มงานของกระทรวงใหม่ คือกระทรวง อว.    มี ท่าน รมว. ดร. สุวิทย์ เมษิณทรีย์ เป็นผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง platform การทำงานที่มีการเสริมพลังต่อกันและกันระหว่าง ๓ ด้านคือ อุดมศึกษา, วิทยาศาสตร์, และวิจัยและนวัตกรรม    โดยมีเป้าหมายใช้ อว. เป็นพลังขับเคลื่อนสู่ ประเทศไทย ๔.๐    มีการสรุปนโยบาย ข้อดังในรูปที่ ๑ - ๕

 วันที่ ๗ สิงหาาคม ๒๕๖๒ ผมไปร่วมประชุมหารือกลุ่มเล็กๆ ที่กระทรวง อว.    มีการพูดคุยยุทธศาสตร์ลึกๆ ในการทำงานให้บรรลุผล    โดยจุดยืนของผมคือ ผลประโยชน์ของบ้านเมือง อยู่เหนือผลประโยชน์ทางการเมือง    หรือกล่าวตรงๆ คือ ผมไม่สนใจประเด็นผลประโยชน์ทางการเมือง

ผมเสนอ new platform ในการทำงาน    ที่ลดพลังขัดขวางจาก bureaucracy ลง    และเมื่อเอ่ยเรื่อง การ transform ระบบ governance อุดมศึกษา ก็เข้าทางผม ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง platform กำกับดูแลอุดมศึกษามากว่าสิบปี   

ผมมองว่า (ผมอาจจะผิด) วิธีการกำกับดูแลอุดมศึกษาที่ทำกันอยู่นั้นเป็นวิธีการที่ผิด    คือใช้วิธีกำกับปัจจัยนำเข้า และกระบวนการ    วิธีที่ถูกในสายตาของผมคือ กำกับผลลัพธ์  ซึ่งเป็นวิธีที่ทำยาก และระบบราชการของเราไม่ถนัด หรือทำไม่เป็น  

กำกับผลลัพธ์อย่างไร    ผมเสนอว่ากำกับด้วย (๑) ข้อมูลและสารสนเทศ    และ (๒) การทำให้สถาบันอุดมศึกษา accountable ต่อสาธารณชน (ไม่ใช่ accountable ต่อ สกอ./กกอ. อย่างที่ผ่านมา)    นั่นคือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบอุดมศึกษาต้องพัฒนาระบบข้อมูลอุดมศึกษา ที่แม่นยำถูกต้องในระดับวันต่อวัน   สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์ได้ทั้งแบบวิเคราะห์ข้อมูลที่มีโครงสร้างตามที่กำหนด  และแบบวิเคราะห์ขอมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (big data analytics)    หน่วยงานใดลงข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือตกแต่งข้อมูล ต้องได้รับโทษสถานหนัก   ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสารสนเทศสื่อสารต่อสาธารณชน    ทั้งสารสนเทศเชิงระบบและสารสนเทศของรายสถาบัน เพื่อให้สาธารณชนมีส่วนทำให้สถาบันต้องรับผิดรับชอบ (accountable) ต่อสาธารณชน    รวมทั้งฝ่ายกำกับดูแล ใช้สารสนเทศดังกล่าวในการจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนตามเกณฑ์ที่กำหนดในลักษณะ pay for performance   คือผลงานดีได้รับการสนับสนุนมาก    สถาบันใดตกเกณฑ์ จะไม่ได้รับการสนับสนุน    และหากตกเกณฑ์ ๓ ปี ต้องถูกยุบ    

เวลานี้ เรามีสถาบันอุดมศึกษามากเกินไป    ไม่ใช่ขาดแคลนสถาบันอุดมศึกษาอย่างในอดีต 

จุดสำคัญคือ ต้อง retrain คนของ สกอ. ให้ทำหน้าที่นี้เป็น    โยกย้ายคนที่ไม่ถนัดไปทำงานที่ตนถนัด    หาคนที่ทำงานแนวใหม่ได้มาทำงาน    ข้อเขียนสั้นๆ ในย่อหน้านี้เขียนแบบคนหน่อมแน้มทางการเมือง    เพราะเน้นผลประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก    ไม่รอมชอมกับคนไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เป็น  

ในภาพรวมของระบบกำกับดูแล อววน.    ผมมองว่า ระบบข้อมูลและสารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญที่สุด    สำหรับใช้ในการกำกับดูแลและบริหารงานในภาพ macro  และ micro   โดยที่หน่วยงานที่ลงข้อมูลไม่ครบ หรือลงข้อมูลเท็จ จะไม่ได้รับทรัพยากรสนับสนุน   

หลักการหน่วยงานภาครัฐ ต้อง accountable ต่อสาธารณชน   เป็นหลักการแห่งศตวรรษที่ ๒๑    เวลานี้ประเทศไทยเรายังใช้ระบบ public governance ที่ล้าหลังตกยุค    ยังเป็นระบบ governance เพื่อคนทำงานเป็นเป้าหมายหลัก    ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นเป้าหมายหลัก

มีคำถามว่า ภาครัฐจะพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศดังกล่าวได้อย่างไร    คำตอบคือ ให้ขอความช่วยเหลือจากบริษัทขนาดใหญ่ เช่น กลุ่ม ปตท., กลุ่มปูนซีเมนต์ไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, เป็นต้น    ไม่ใช่เรื่องยากในเชิงเทคนิค       

วิจารณ์ พานิช        

๘ ส.ค. ๖๒

                                                               

1

2

3

4

5

หมายเลขบันทึก: 668574เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2019 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาต ส่งต่อ นะครับ ครู ขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท