วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 16. วิธีจัดการงบประมาณ วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ของประเทศ



ตอนที่ ๑    ตอนที่ ๒       ตอนที่ ๓    ตอนที่ ๔     ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖     ตอนที่ ๗     ตอนที่ ๘     ตอนที่  ๙      ตอนที่ ๑๐ 

ตอนที่ ๑๑     ตอนที่ ๑๒      ตอนที่ ๑๓     ตอนที่ ๑๔      ตอนที่ ๑๕ 



งบประมาณของรัฐบาลด้านการวิจัยและพัฒนา ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ที่หน่วยงานรับผิดชอบเสนอขึ้นไป จำนวน ๓๗,๔๗๖.๔๑ ล้านบาทนั้น    บัดนี้ สำนักงบประมาณดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ อนุมัติในวงเงิน ๑๖,๐๕๖.๘๖ ล้านบาท    ซึ่งต่ำกว่าของปีงบประมาณ ๒๕๖๑   

ผมตีความว่า นโยบาย ประเทศไทย ๔.๐ ขับเคลื่อนด้วยการพัฒนานวัตกรรม ที่รัฐบาลนี้กำหนดนั้น    ในทางปฏิบัติไม่มีการบริหารจริงจัง     เพราะงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมยังคงได้รับการจัดการแบบเดิมๆ    ไม่มีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ยิ่งอ่อนแอหนักขึ้นไปอีก เมื่อสำนักงบประมาณตัดงบประมาณแผนงาน Spearhead เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจลงไปอย่างมากมาย   ตัดมากกว่างบธรรมดา    และยิ่งร้ายกว่านั้น มีการตัดโครงการ Spearhead ที่ลำดับความสำคัญสูงออกไป    และมีการลดงบประมาณของโครงการที่ได้รับการอนุมัติ    ในขั้นตอนของสำนักงบประมาณ  

สะท้อนภาพการทำงานในเรื่องงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาลแบบไร้เอกภาพ    ไร้ระบบการจัดลำดับความสำคัญ    และที่สำคัญ เป็นการทำลายการวางรากฐานระบบวิจัยและนวัตกรรมเพื่อประเทศไทย ๔.๐

หากรัฐบาลยังปล่อยให้การบริหารระบบงบประมาณยังคงเป็นแบบเดิมๆ ไร้การจัดการลำดับความสำคัญเพื่อเป้าหมายพัฒนาการระยะยาว เพื่อประเทศไทย ๔.๐ อย่างที่ดำเนินการต่อการอนุมัติงบประมาณปี ๒๕๖๒    ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศไทยจะบรรลุเป้า ๔.๐ ได้  

วิจารณ์ พานิช        

๑๕ มิ.ย. ๖๑


หมายเลขบันทึก: 649244เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2018 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2018 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท