วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 19. บริหารยุทธศาสตร์ครบวงจร



 

ตอนที่ ๑     ตอนที่ ๒    ตอนที่ ๓     ตอนที่ ๔    ตอนที่ ๕ 

ตอนที่ ๖    ตอนที่ ๗    ตอนที่ ๘     ตอนที่  ๙     ตอนที่ ๑๐ 

ตอนที่ ๑๑   ตอนที่ ๑๒    ตอนที่ ๑๓    ตอนที่ ๑๔    ตอนที่ ๑๕ 

ตอนที่ ๑๖  ตอนที่ ๑๗    ตอนที่ ๑๘ 


ในการประชุมคณะกรรมการจัดทำระบบบริหารจัดการงบประมาณบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑  ที่ สวทน.   ผมได้รับทราบวิธีการงบประมาณของแผนงาน Spearhead ด้านเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ด้วยความอ่อนใจ


อ่อนใจว่า ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี เขียนไว้ทะมัดทะแมงและมีพลังมาก    แต่เมื่อมาถึงภาคปฏิบัติ    ต้องผ่านขั้นตอนทางราชการมากมาย    ทำให้ถูกลดทอนพลังเป็นเสมือนงานประจำทั่วๆไป   จนไม่เหลือพลังการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงและความอยู่รอดของประเทศระยะยาว   

แทนที่จะมีการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ กลับจัดการแบบ business as usual

งานสำคัญที่ต้องทุ่มเททรัพยากร ทุ่มเทพลังสมอง เพื่อทำให้สำเร็จ    ภายใต้หลักการว่า เป็นงานที่ทำแบบเรื่อยๆ ตามขั้นตอนปกติทั่วไป ไม่มีทางทำได้สำเร็จ   ไม่ได้รับการดูแลจากผู้บริหารประเทศให้ไม่ถูกขั้นตอนที่ไม่จำเป็นดูดพลังไปหมด    บันทึกนี้จึงเน้นวิพากษ์ผู้มีอำนาจทางการเมือง ในการบริหารประเทศ    ที่บริหารกระดาษ   ไม่ได้บริหารผลสำเร็จ  

ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติมีอุปสรรคหมายเลข ๑  อยู่ที่รัฐบาล    ที่เน้นบริหารอำนาจ ไม่ได้เน้นบริหารเป้าหมายหรือผลสำเร็จ  

มองในแง่ลบ คล้ายๆ “ดีแต่พูด”

การดำเนินการโครงการวิจัยแบบ Spearhead ได้รับการอนุมัติหลักการจาก สวนช.   แล้ว สวทน. กับ วช. แบ่งงานกันทำ    ในงบประมาณปี ๒๕๖๒ ส่วนของเป้าหมายที่ ๑ (เพื่อผลทางเศรษฐกิจ)  กับเป้าหมายที่ ๔ (เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรม)     หลังการทำงานหลายขั้นตอน เสนอของบประมาณ ๔๒ โครงการ   สำนักงบประมาณตัดเหลือ ๑๘ โครงการ    โดยไม่ได้ดูที่ลำดับความสำคัญและลำดับความเข้มแข็งของโครงการที่ สวทน. ทำงานมาอย่างยากลำบาก

มีอำนาจตัดสินใจ โดยไม่ต้องดู evidence   และไม่ต้องรับผิดรับชอบ (accountability)    แล้วอย่างนี้ การบริหารประเทศจะไปสู่ประเทศไทย ๔.๐ ได้อย่างไร  


มองอีกมุมหนึ่ง คล้ายๆ รัฐบาลนี้ไม่ได้บริหารยุทธศาสตร์    ปล่อยให้หน่วยราชการทำงานในลักษณะ business as usaual   

บังเอิญผมได้รับเอกสาร แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม (๑)   จาก วช.   ซึ่งในนั้นระบุข้อความ  “สำนักงบประมาณจัดสรรตามแผนงานและกรอบวงเงินตามลาดับความสำคัญ โดยจัดสรรงบประมาณเป็นก้อน (Block Grant) ไปยังหน่วยงานบริหารกรอบเงินประมาณ เช่น วช. หรือ สวทน. เพื่อบริหารแผนงานยุทธศาสตร์”

วิจารณ์ พานิช   

๒๘ ส.ค. ๖๑

หมายเลขบันทึก: 654874เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2018 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2018 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท