วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 24. เรียนรู้จากเกาหลี


ตอนที่ ๑     ตอนที่ ๒      ตอนที่ ๓       ตอนที่ ๔      ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖      ตอนที่ ๗      ตอนที่ ๘      ตอนที่ ๙      ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑     ตอนที่ ๑๒     ตอนที่ ๑๓    ตอนที่ ๑๔      ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖      ตอนที่ ๑๗      ตอนที่ ๑๘      ตอนที่ ๑๙      ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑      ตอนที่ ๒๒      ตอนที่ ๒๓

ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของ สวทน. เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ มีการนำเสนอเรื่อง “การทบทวนวิวัฒนาการด้านนโยบายและกลยุทธการกำหนดโครงสร้าง/รูปแบบการการจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรม ของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการไล่กวดการพัฒนาเทคโนโลยี”   เป็นที่มาของบันทึกนี้   ซึ่งผมตีความเอามาเล่าต่อ  

เกาหลีเป็นประเทศมหัศจรรย์ ที่ยกระดับประเทศจากสภาพประเทศยากจน สู่ประเทศรายได้สูงภายในเวลาเพียง ๔๐ ปี  ผู้นำเสนอบอกว่าใช้ยุทธศาสตร์ Reversed PLC (Product Life Cycle) (1)    ผมเพิ่งรู้จักคำ PLC ในความหมายนี้   เมื่อกลับมาค้นภายหลัง จึงเข้าใจว่า Reverse PLC หมายถึง  ใช้ process innovation นำ ตามด้วย product innovation ในภายหลัง    ตรงกันข้ามกับ PLC ซึ่งเริ่มด้วย product innovation ตามด้วย process innovation  

เกาหลีพัฒนาประเทศด้วยอุตสาหกรรมการผลิตเน้นเพื่อส่งออก  เริ่มจากอุตสาหกรรมขนาดเล็ก  ในช่วงแรก (ทศวรรษ 1960) อาศัยข้อได้เปรียบที่แรงงานราคาถูก   ใช้วิธีนำเข้าเทคโนโลยี แต่เขาฉลาดที่เรียนรู้เทคโนโลยีด้วย    จนในทศวรรษที่ 1970 ก็ทำ reversed engineering    ปรับเป็นเน้นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  และเน้นแรงงานมีฝีมือเป็นข้อได้เปรียบ    หลังจากนั้นเน้นข้อได้เปรียบด้านทุนและเทคโนโลยี    เน้นการสร้างนวัตกรรม     

ผมตีความว่า เกาหลีเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และการพัฒนาคน    มีการเชื่อมโยงสามส่วนนี้ให้เอื้อซึ่งกันและกัน    โดยที่อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีที่เน้นมีการพัฒนาไปอย่างถูกต้องตามพัฒนาการของโลก    คือพัฒนาจากอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี    ในทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมาหันมาเน้นพัฒนาโทรคมนาคม    รวมทั้งมีการส่งเสริม SME

มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย    ทำหน้าที่วิจัยพัฒนาและนวัตกรรม    รวมทั้งมีการประเมินเพื่อปรับระบบอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์    โดยเน้นให้อุตสาหกรรมเป็นพลังนำ     ทั้งหมดนั้นดำเนินการอย่างซับซ้อน    และแน่นอนที่สุด มีนโยบายรัฐสนันสนุนต่อเนื่อง  

ผมตีความว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่เพียงพอ    ต้องพัฒนาการค้าไปพร้อมๆ กัน    โดยเกาหลีเน้นมีสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตนเอง    แข่งขันทั่วโลกด้วยสินค้าเทคโนโลยีก้าวหน้า   

ตีความต่อ ว่าเกาหลีดำเนินการต่างๆ ก่อนมีทฤษฎีหรือความรู้ที่นักวิชาการของ มจธ. และ สวทน. ไปอ่านทบทวนมาเสนอ   คือมีการปฏิบัติก่อน แล้วนักวิชาการไปศึกษาเก็บข้อมูลเอามาสังเคราะห์เป็นทฤษฎีในภายหลัง    กล่าวใหม่ว่า การพัฒนาประเทศด้วยการวิจัยและนวัตกรรมนั้น ต้องกล้าทำนอกกรอบ นอกทฤษฎี ตามสถานการณ์และเป้าหมายที่ต้องการ    โดยต้องมีกลไกเรียนรู้จากการปฏิบัติ  

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ก.พ. ๖๒

หมายเลขบันทึก: 660352เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2019 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2019 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท