วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 21. หิ้งงานวิจัย


ตอนที่ ๑    ตอนที่ ๒     ตอนที่ ๓       ตอนที่ ๔        ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖        ตอนที่ ๗        ตอนที่ ๘       ตอนที่  ๙        ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑       ตอนที่ ๑๒       ตอนที่ ๑๓      ตอนที่ ๑๔     ตอนที่ ๑๕  

ตอนที่ ๑๖       ตอนที่ ๑๗       ตอนที่ ๑๘      ตอนที่ ๑๙       ตอนที่ ๒๐  

นสพ. ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๑ ลงข่าว ครม. ปลกล็อกงานวิจัยรัฐลงจากหิ้ง ให้สิทธิ์ผู้ทำเป็นเจ้าของนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ ()    เป็นข่าวดีของประเทศไทย และต่อวงการวิจัย

แต่ผมยังคิดว่า ยังมี ล็อก อยู่ที่ “ขาขึ้น” ของการทำวิจัยแบบไม่ขึ้นหิ้ง    ซึ่งผมขอเรียกว่า “การวิจัยมุ่งนวัตกรรม”   

ผมจำได้ว่า ตอนไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวตง ประเทศจีนเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ ตามที่เล่าไว้ที่ ()    เขาแสดงผลงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาเอกด้านพลังงาน    ที่โจทย์วิจัยมาจากภาคอุตสาหกรรม    ทุนวิจัยมาจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ   ทำวิจัยสำเร็จภาคอุตสาหกรรมเอาไปพัฒนาต่อเพื่อผลิตขาย    และทางมหาวิทยาลัยก็เอาไปตีพิมพ์เผยแพร่ โดยทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ว่าขอให้ลงวารสารที่มี impact factor 5 ขึ้นไป   นี่คือตัวอย่างการทำวิจัยมุ่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย   

การวิจัยมุ่งนวัตกรรมคืองานวิจัยที่โจทย์มาจาก “ผู้ใช้”    และฝ่ายผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในบางขั้นตอนของงานด้วย   โดยหวังเอาผลการวิจัยไปใช้ในทางธุรกิจ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ได้   งานวิจัยแบบนี้จึงไม่ขึ้นหิ้ง    โปรดสังเกตว่า ตัวอย่างของจีนตามย่อหน้าบน    เป็นทั้งงานวิจัยมุ่งนวัตกรรม และงานวิจัยสร้างความรู้ใหม่ด้วย    เป็นการทำวิจัยแบบ “ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว”

ตามข่าว () เป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา    ที่ประเทศไทยเราเอาอย่างสหรัฐอเมริกาที่เมื่อปี ค.ศ. 1980 เขาออก Bayh-Dole Act (3) มอบความเป็นเจ้าของสิทธิทางปัญญาที่เกิดจากงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง ให้แก่ผู้ทำวิจัย    มีผลให้ผลงานวิจัย “ลงจากหิ้งสู่ตลาดง่ายขึ้น”    แต่นักวิจัยไทยกับนักวิจัยอเมริกัน อยู่ในบริบทของระบบอุตสาหกรรม และระบบวิจัยและพัฒนาที่แตกต่างกันมาก    คือระบบของเขามีพัฒนาการก้าวหน้ามาก    ของเรายังเตาะแตะ   การจะให้นักวิจัยไทยเอาผลงานวิจัยเชิงประดิษฐ์คิดค้นหรือออกแบบ สู่ตลาดเป็นงานที่ยากมาก   หากจะให้ทำได้สำเร็จจริง อาศัยกลไกที่ พรบ. เอื้อตามข่าวจะยังไม่เพียงพอ    ต้องอาศัยการจัดการ  “ขาขึ้น”   คือการจัดการความร่วมมือกับฝ่าย “ผู้ใช้”    ทำงานวิจัยมุ่งนวัตกรรมตามที่กล่าวแล้ว      

วิจารณ์ พานิช        

๒๓ ก.ย. ๖๑

หมายเลขบันทึก: 656594เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2018 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2018 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท