วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 22. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม



ตอนที่ ๑    ตอนที่ ๒         ตอนที่ ๓       ตอนที่ ๔        ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖        ตอนที่ ๗        ตอนที่ ๘       ตอนที่  ๙        ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑       ตอนที่ ๑๒       ตอนที่ ๑๓      ตอนที่ ๑๔     ตอนที่ ๑๕  

ตอนที่ ๑๖       ตอนที่ ๑๗       ตอนที่ ๑๘      ตอนที่ ๑๙   ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

มีคนส่งร่าง พรบ. สองชุดมาให้   คือ ร่าง พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ... (๑)   กับ ร่าง พรบ. สภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ... (๒)   ผมอ่านเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง    รวมทั้งในช่วงที่เขียนบันทึกนี้ มีคนมาขอความเห็นอยู่บ้าง    จึงขอให้ความเห็นสู่สาธารณะภายใต้ปัญญาที่มีจำกัดดังนี้

  1. 1. ผมเห็นด้วยกับการมีกระทรวงใหม่นี้    เพื่อใช้เป็นกลไกให้อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นพลังขับดันประเทศสู่ ประเทศไทย ๔.๐
  2. 2. จะสำเร็จได้ ๓ ส่วน (อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) ในกระทรวงต้องทำงานประสานเป็นเนื้อเดียวกัน หรือเกิดพลังเสริมซึ่งกันและกัน (synergy)    ไม่ทำงานเป็นไซโล    อย่างที่กรมต่างๆ ในหลายกระทรวงมีพฤติกรรม    การเขียนกฎหมายจึงต้องทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ในทางปฏิบัติให้ได้ 
  3. 3. ส่วนต่างๆ ของกระทรวงใหม่นี้ ต้องทำงานโดยสร้างทักษะการทำงาน (working skills) แบบใหม่ขึ้นมาใช้    ไม่ใช่ทำงานในลักษณะเดิมๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องไม่ทำงานแบบราชการที่มุ่งกฎระเบียบ ไม่มุ่งผลสัมฤทธิ์     จึงมีความเสี่ยงมากที่ใช้วิธีโยกคนจากหน่วยงานเดิม มาทำงานใหม่โดยไม่มีการ reskill และตรวจสอบว่ามีทักษะใหม่ (และกระบวนทัศน์ใหม่) ที่ต้องการหรือไม่    เรื่องนี้ผมมีประสบการณ์ตรงสมัยก่อตั้ง สกว. เมื่อ ๒๖ ปีก่อน  
  4. 4. ร่าง พรบ. ยังระบุเรื่องความรับผิดรับชอบ (accountability)  ไม่ชัดเจน    หากจะให้ พรบ. นี้มีพลังขับเคลื่อนประเทศอย่างแท้จริง    ต้องระบุความรับผิดรับชอบของแต่ละจุดให้ชัดเจน    และต้องให้อำนาจและความคล่องตัวแก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ในลักษณะ strong executive, high accountability   ไม่ใช่ใช้วิธีการควบคุมขั้นตอนเข้มข้น อย่างที่รัฐบาลนี้นำเข้ามาใช้    ต้องใช้การควบคุมที่ผลงาน ไม่ใช่ควบคุมขั้นตอน 

                ต้องจัดระบบรับผิดรับชอบ (accountability) ในส่วนของการตั้งงบประมาณด้วย    ในขณะนี้สำนักงบประมาณเป็นผู้ตัดสินสุดท้ายต่องบประมาณวิจัยลงไปที่รายโครงการ  โดยสำนักงบประมาณไม่ต้อง accountable ()    สภาพเช่นนี้ควรหมดไปโดยฝีมือของกระทรวงใหม่

  1. 5. วิธีทำงานกำกับคุณภาพแบบตั้งด่าน “ตรวจสอบตรงประตูทางเข้า”    เช่นตรวจหลักสูตรในกระดาษอย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบันจะไร้ผล ดังที่เห็นๆ กันอยู่    กฎหมายพึงกำหนดให้ทำหน้าที่กำกับคุณภาพที่ตัวบัณฑิต    ที่คน ไม่ใช่ที่กระดาษ   และต้องกำกับโดยสื่อสารข้อมูล/สารสนเทศต่อประชาชน ให้ประชาชนกำกับคุณภาพในฐานะ “ลูกค้า” หรือผู้ใช้บริการ เอง    ต้องพัฒนาวิธีทำงานกำกับดูแลขึ้นใหม่    หลักการดังกล่าวใช้ได้ทั้งในการกำกับคุณภาพอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  
  2. 6. ต้องมีหน่วยงานหรือกลไกรับผิดชอบการจัดทำระบบข้อมูลที่ทันสมัยและแม่นยำ    สำหรับใช้กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน การจัดการ การประเมิน  และการสื่อสารสาธารณะ

        ควรสร้างกลไกใช้ระบบข้อมูลข่าวสาร เป็นเครื่องมือให้เกิดการทำงานบูรณาการกับ ทั้ง vertical integration  และ horizontal integration

  1. 7. ผมเห็นด้วยกับแนวทางยกระดับการจัดการงานวิจัยสู่การจัดการแบบ agenda-based, area-based, และ program-based   ลดการจัดการแบบ project-based ลงไป    เพื่อยกระดับการวิจัยสู่นวัตกรรม    และให้งบประมาณสนับสนุนการวิจัยไม่เป็นเบี้ยหัวแตก   ซึ่งในการนี้ต้องพัฒนาวิธีจัดการ “งานวิจัยมุ่งนวัตกรรม” () ขึ้นมาใช้   ดูตัวอย่างของประเทศจีนที่ ()    
  2. 8. กระทรวงใหม่นี้ ต้องสร้างวัฒนธรรมการสนับสนุนด้านงบประมาณและด้านอื่นๆ ตามผลงาน ที่เรียกว่า merit system   ต้องเป็นหัวขบวนนำพาประเทศไทยออกจากวัฒนธรรมอุปถัมภ์ หรือวัฒนธรรมพวกพ้อง  ประเทศไทยจึงจะขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย ๔.๐ ได้สำเร็จ
  3. 9. เราไม่มีเวลาที่จะสูญเสียไปกับการตั้งกระทรวงใหม่ภายใต้การต่อรองอำนาจและผลประโยชน์ของตัวบุคคลและหน่วยงาน   เราต้องเอาผลประโยชน์ของประเทศในระยะยาวเป็นหลัก    ผมฝันเห็นความสำเร็จจากกระทรวงใหม่นี้         

วิจารณ์ พานิช        

๑๗ พ.ย. ๖๑


Gov policy from Pattie KB

Educatpolicy2561 from Pattie KB

หมายเลขบันทึก: 658671เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2018 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2018 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท