เยือนมหาวิทยาลัยจีน : 7. Open University of Design


๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ บ่าย

หลังกินอาหารเที่ยง เรานั่งรถไปเกือบชั่วโมง ไปยัง Liangzhu Mengqi Town of Designers ที่ CIDA – China Industrial Design Association (1) ตั้งอยู่    ระหว่างทางเห็นชัดเจนว่าบริเวณนั้นเป็นเมืองใหม่    และยังมีการก่อสร้างเพิ่มอีกมากมาย    ประเทศจีนกำลังดำเนินการ urbanization อย่างรวดเร็ว    เพื่อให้ความเจริญกระจายทั่วถึง   

ทางเดินเข้า CIDA มีแถวม้า (รูปปั้น) ๑๘ ตัวยืนต้อนรับ   ที่เตะตาคือตัวแรกสีดำไม่ยืนในแถว    นอกนั้นสีขาวยืนเป็นระเบียบ   มีคำอธิบายว่า Jack Ma แซ่เบ๊  

เข้าไปในห้องประชุมก็ตกใจ เพราะห้องกว้างขวางใหญ่โตมาก และเพดานสูงมาก    อาคารต่างๆ ในจีนเพดานสูงทั้งสิ้น

  บุคคลสำคัญที่สุดที่มาต้อนรับเราคือศาสตราจาย์ Ying Fangtian เลขาธิการของ CIDA   เป็นคณบดีของ China Industrial Design Institution   และเป็น Vice President Innovation Design Engineering Center of Zhejiang University   อีกคนหนึ่งคือศาสตราจารย์ Liu Dongchen, College of Software Technology, ZJU  ผู้นำสถาบันวิจัยและพัฒนา Software Technology อันดับหนึ่งของประเทศจีน    อีกท่านหนึ่งเป็นผู้หญิงที่เราพบแล้วเมื่อวานพร้อมกับ ศ. Ying Fangtian   ที่ไปกินอาหารเย็นร่วมกับคณะเรา    ชื่อ ศ. Lingyun Sun, Deputy Director, International Design Institute, Zhejiang University

แปลกมากที่เขาให้เลขานุการบริหารของ CIDA ซึ่งเป็นผู้หญิงและไม่อาวุโส ชื่อ Zhou Leijing เป็นผู้อ่านคำต้อนรับ  แล้วมีล่าม (หญิง) แปล   ทราบภายหลังว่า ล่ามกำลังเรียนปริญญาโทภาษาอังกฤษ   

ตามด้วย ศ. นพ. เกษม วัฒนชัย นายกสภา มช. กล่าวขอบคุณและบอกวัตถุประสงค์ของการไปเยือน    แล้วเขาเชิญนายกเทศมนตรีของเมือง Liangzhu Mengqi Town ชื่อ Jiang Xudong กล่าวต้อนรับสู่ “เมืองแห่งนักออกแบบ” (Town of Designers) (2)   เล่าการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองแห่งนักออกแบบโดยความร่วมมือของหลายฝ่าย   เป็นพื้นที่ที่เอื้อให้การออกแบบ เทคโนโลยี และธุรกิจ ร่วมกันทำงานสร้างสรรค์    โดยเป้าหมายสำคัญที่สุดคือพัฒนาการและความสุขของคนทั้งโลก   ดังนั้น การดำเนินการจึงต้องมี creativity, culture, nature และ morality อยู่ข้างใน   

ต่อด้วยการฉายวีดิทัศน์ ๒ เรื่อง คือ (๑) เรื่องของ CIDA  (๒) Design for Poverty Alleviation    การที่เขานำเสนอปณิธานเรื่อง “การออกแบบเพื่อลดความยากจน”  ทำให้ ศ. นพ. เกษม เกิดอารมณ์ซาบซึ้ง  จึงกล่าวเสริมว่า นี่คือ attitude design   ที่เป็นเจตคติเพื่อความเท่าเทียม เพื่อมนุษยชาติ   ตรงกับสุนทรพจน์ของท่านประธานสีจิ้นผิง ต่อที่ประชุมประจำปีของ CAS & CAE เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ (3)   ที่น่าสรรเสริญยิ่ง  

แล้ว ศ. Ying Fangtian เล่าเรื่องที่กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีออกแบบ (Ministry of Industry and Design Technology) หาทางดำเนินการแก้ปัญหาที่โลกเผชิญด้วยการออกแบบ   เป็นแนวทางนวัตกรรมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม    ให้ green, smart, innovative    ใช้ advanced technology, entrepreneurship สู่ sustainable development   โดยได้ก่อตั้ง industrial design center ถึง 110 แห่งทั่วประเทศ    ที่มีผลงานคุณภาพสูง และได้รับการยอมรับจาก MIT   มี National Industry Design Award    เฉพาะใน Zhejiang จังหวัดเดียว มี Industry Design Company ถึง ๓,๘๐๐ บริษัท โดยมีนิคม industry design ๑๗ แห่ง  มี Provincial Industry Design Center รวม ๒๐๗ แห่ง  มีสถาบันสอนการออกแบบสินค้า ๒๓ แห่ง   

ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมบริการออกแบบของจีนทำรายได้ ๖.๔ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ   

ในปี 2016  WIDC – World Industrial Design Conference (4)  ได้มีข้อตกลงความร่วมมือสร้างระบบการศึกษาด้านการออกแบบ ที่เรียกว่า “D+X” guided open design education   ซึ่งเป็นที่มาของ Open University of Design   ซึ่งมีเป้าหมาย ๔ ประการคือ

  • Facing global problems of all mankind
  • Focus on advanced technology research and innovative application
  • Focus on cultivating leaders with the spirit of entreoreneurship
  • Fosus on sustainable development to support the economy

Open University of Design เป็น i.School คือใช้หลักการ 4Is คือ

  • Industrial
  • Integration
  • Innovation
  • International  

   Open University of Design เกิดจากความร่วมมือของ ๓ ฝ่ายคือ  (๑) หนึ่งสมาคม คือ CIDA  (๒) หนึ่งพื้นที่ คือ Liangzhu Mengqi Town of Designers  และ (๓) หนึ่งกลุ่มสถาบันวิชาการ เวลานี้มี ๘ มหาวิทยาลัยร่วมมือกัน   แน่นอนว่า มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง เป็นหนึ่งในแปด   

กิจการของ Open University of Design คือรับนักศึกษาระดับปริญญาโท ปีแรก ๒๕๐ - ๓๐๐ คน จากหลากหลายสาขาวิชา    เข้าเรียนหลักสูตรสองปริญญา ใน ๘ มหาวิทยาลัยสมาชิก    ทำงานออกแบบข้ามสาขาวิชา (discipline) ข้ามวัฒนธรรม (culture) และข้ามfield   โดยมหาวิทยาลัยทำหน้าที่จัดอาจารย์ที่ปรึกษา    นักศึกษาทำหน้าที่เป็น leading talent พัฒนาสู่ความเป็นผู้ประกอบการ    แหล่งผลิต (professional) เป็นที่ฝึก   และ CIDA  ประสานการฝึก   เพื่อเอาชนะตัวปิดกั้นความเชื่อมโยงระหว่าง การออกแบบ เทคโนโลยี และธุรกิจ    เท่ากับ Open University of Design เป็น innovation platform  ที่เชื่อมโยงกับพลังทั่วโลก  

ได้รับนักศึกษารุ่นแรกแล้ว    รุ่นที่สองจะเพิ่มจำนวนเป็น ๕๐๐ - ๖๐๐ คน    มีตัวอย่างความสำเร็จการสร้างผลงานของรุ่นแรก ได้แก่ (๑) การออกแบบรองเท้าที่เรียกว่า reflexology shoe   (๒) เครื่องตกแต่งแฟชั่นผม ด้วยเทคโนโลยีเรืองแสง ที่เปลี่ยนสีตามอัตราการเต้นของหัวใจ  (๓) bio light ทำจากปฏิกิริยาสร้างแสงในหิ่งห้อย  ทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงเหลือหนึ่งในสาม   (๔) หุ่นยนตร์ตัดหญ้า  (๕) Azadirachtin จากพืช ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่ไม่เป็นพิษต่อสัตว์อื่นและต่อสภาพแวดล้อม   (๖) UAV พ่นยาฆ่าแมลงในแปลงเกษตร   (๗) smallest smart vehicle ที่การพัฒนานำไปสู่การจดสิทธิบัตรกว่า ๓๐๐ รายการ    และจะสร้างรายได้กว่า ๒ หมื่นล้านหยวน 

ตามด้วยการนำเสนอของ ศาสตราจารย์ Liu Dongchen, College of Software Technology, ZJU  เรื่อง IT Talent Development : The Way We Are Going    ที่เป็น ๑ ใน ๓๗ Software College ที่ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2001   และพัฒนาขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ   โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Faculty of Information Science and Technology, ZJU   และตั้งอยู่ที่ The National Hi-Tech Zone, Ningbo   โปรดสังเกตนะครับ เขาตั้งหน่วยอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยหลักของประเทศ แต่ให้หน่วยนั้นไปตั้งอยู่กับเขตอุตสาหกรรม    เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาทำงานวิชาการเป็นเนื้อเดียวกันกับธุรกิจอุตสาหกรรม   อุดมศึกษาของเขาจึงมีผลงานที่มี impact factor สูง    และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง    วิกฤติอุดมศึกษาที่สหรัฐอเมริกาและไทยกำลังเผชิญ เป็นสภาพที่จีนไม่รู้จัก  

หลักสูตรปริญญาโทใช้เวลาเรียน ๒ ปี   ปีแรกเรียนทฤษฎี   ปีที่สองไปเป็น อินเทอร์นในโรงงานอุตสาหกรรม    ขณะนี้จำนวน นศ. ป. โท ๘๐๐+ คน   อาจารย์ ๕๐+   โดยอาจารย์ส่วนใหญ่อยู่ใน College of  Computer Science    โปรดสังเกตสัดส่วนระหว่างอาจารย์กับนักศึกษานะครับ ว่าสูงถึง ๑ : ๑๖   มีคนถามท่านว่าสัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์สูงเช่นนี้ “สกอ.” จีนยอมหรือ    ท่านบอกว่า จริงๆ แล้วมีอาจารย์อีกจำนวนมากกว่านี้ ในภาคอุตสาหกรรม   

มี ๕ สาขาวิชาเอก ได้แก่  (1) Internet of things and intelligent computing, (2) Financial information technology, (3) Information product design, (4) Internet mobile technology, (5) Big data technology  

ลักษณะพิเศษของการศึกษามี ๓ ประการ คือ  (1) Guided by the development of IT and talent requirement  (2) Talent training model : Education – Research – Industry,  (3) Teaching methods : practice courses – project training – enterprise internship   

จุดแข็งของการศึกษา ได้แก่  (๑) มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับอุตสาหกรรม : วิจัยและพัฒนาร่วมกัน   ฝึกนักศึกษาร่วมกัน  (๒) ใช้หลัก practice makes perfect : DIY lecture, teamwork-projects, internship-companies  

ตัวอย่างความร่วมมือกับอุตสาหกรรม  (๑) Internet of things & Intelligent computing  ร่วมมือกับ Neusoft (บริษัทซอฟท์แวร์อันดับหนึ่งของจีน)  (๒) Financial information technology ร่วมมือกับธนาคาร State Street  (๓) Information product design ร่วมมือกับบริษัท Apple  (๔) Big data technology ร่วมมือกับบริษัท IBM    (๕) Internet mobile technology ร่วมมือกับบริษัท Microsoft   

เขายกตัวอย่างความสำเร็จของบัณฑิต  อาจารย์  และวิทยาลัย ที่เวลานี้มีหลักฐานจากการประเมินโดยกระทรวงศึกษาธิการจีน ว่าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ   รวมทั้งมีความร่วมมือจัดหลักสูตรกับมหาวิทยาลัยและบริษัทในสหรัฐอเมริกา  แคนาดา  อังกฤษ  ญี่ปุ่น  และสิงคโปร์ 

หลังการนำเสนอของฝ่ายจีน    ทาง มช. นำเสนอวีดิทัศน์ Northern Science Park ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จ    เป็น physical infrastructure ที่แสดงความพร้อมในการทำงานวิจัยและบัณฑิตศึกษาร่วมกับภาคธุรกิจและต่างประเทศ    และแนะนำ CAMT (วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี)

ต่อด้วยการเสวนา    ที่ รศ. ดร. ณอคุณ สิทธิพงศ์ เสนอให้ มช. ตั้ง Center for Lanna Industrial Design  ร่วมมือกับภาคเอกชนในภาคเหนือ และร่วมมือกับ Open University of Design  และกับ College of Software Technology, ZJU    ซึ่งในการสนทนาของท่านนายกสภา ศ. ดร. เกษม วัฒนชัย กับฝ่ายจีนตอนเลี้ยงอาหารเย็น มีความชัดเจนขึ้นมาก  

หลังจากนั้นไปชมผลิตภัณฑ์ของ นศ. รุ่นแรกของ Open University of Design   ทำให้เราได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้จริงๆ     

ผม AAR กับตัวเองว่า   เวลานี้รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการยกร่าง พรบ. กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุดมศึกษา    เพื่อใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐   หากจะให้เกิดผลได้จริง    ต้องมีการสร้าง platform การทำงานอุดมศึกษาใหม่    สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการทำหน้าที่อุดมศึกษา    และต้องคิดใหญ่ขนาดสร้าง new civilization   มีกลไกสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีพลัง    อย่างที่เราไปเห็นในบ่ายวันนี้       

วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่   ท่านนายกสภาอธิบาย Open University System ของจีน   ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๔ ด้าน    มาร่วมกันจัดการเรียนการสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น College of Design ประกอบด้วยองค์ประกอบระดับ excellence 4 ด้าน คือ  (๑) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เลือกเชิญมาสอน หรือเป็นที่ปรึกษาวิจัย  (๒) Top 10 global university เลือกเชิญมาร่วม   (๓) Top 15 Chinese university  (๔) Chinese / Overseas private companies    จะเห็นว่า เขามีวิธีจัดให้เกิดการเรียนการสอนที่มีทั้งความเป็นเลิศ และการประยุกต์สู่อุตสาหกรรมโดยตรง  

วิจารณ์ พานิช        

๔ มิ.ย. ๖๑   เพิ่มเติม ๒๒ มิ.ย. ๖๑

 

1 ทางเดินไปห้องประชุม

2 ส่วนหนึ่งของห้องประชุม

3 สมาชิกของฝ่ายจีนที่มาต้อนรับและเจรจาความร่วมมือ

4 สภาพขณะประชุม

5 คนที่ ๔ จากซ้าย Ying Fangtian คนที่สองจากซ้าย ศ. Liu Dongchen

6 ผลงาน Smart vehicle

7 Smart vehicle ที่เอามาให้ลอง

8 ผลงาน UAV

9 ผลงาน Bio Light

10 เมื่อเสียบไฟฟ้า

11 ป้ายโฆษณา Bio Light

12 ส่วนหนึ่งของอาคารใน Town Design Center

หมายเลขบันทึก: 648979เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2018 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2019 05:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท