วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 30. ข้อคิดคำนึงเรื่องกระทรวง อว.


ตอนที่ ๑       ตอนที่ ๒       ตอนที่ ๓       ตอนที่ ๔      ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖       ตอนที่ ๗       ตอนที่ ๘       ตอนที่ ๙     ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑      ตอนที่ ๑๒      ตอนที่ ๑๓      ตอนที่ ๑๔       ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖        ตอนที่ ๑๗       ตอนที่ ๑๘       ตอนที่ ๑๙      ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑        ตอนที่ ๒๒         ตอนที่ ๒๓        ตอนที่ ๒๔        ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖       ตอนที่ ๒๗ ตอนที่ ๒๘       ตอนที่ ๒๙

   

เช้าวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ผมโชคดี มีโอกาสได้ร่วมการหารือในกลุ่มเล็กๆ (๔ คน) เรื่องยุทธศาสตร์การเมืองในการดูแลให้กระทรวง อว. () ทำประโยชน์แก่อนาคตของประเทศ    สมตามเจตนารมณ์ของการยุบรวมกระทรวงตั้งเป็นกระทรวงใหม่    

          ที่จริงผมอยากเรียกว่า มีโอกาสได้เรียนรู้จาก ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา มากกว่า     ในฐานะประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา ที่ทำงานมาใกล้ครบกำหนด ๒ ปี และสลายตัว     ท่านจึงมีข้อมูลเรื่องระบบการศึกษามาก    และวิเคราะห์ลุ่มลึก ตามคุณลักษณะของท่าน    

          ข้อเสนอของท่านคือ ต้องปฏิรูปอุดมศึกษา    

         โดยต้องทำความเข้าใจระบบทั้งระบบ    อย่าหลงภาพลวงของ “ภูเขาน้ำแข็ง”    ที่เรามักเห็นตัวปัญหาที่ชัดเจน ที่อยู่เหนือน้ำ    ไม่เห็น “root cause” ที่อยู่ใต้น้ำ   

         ท่านชี้ให้เห็น โมเดลอุดมศึกษา ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคแรกของการมีมหาวิทยาลัย คือยุค โบโลญญ่า (ค.ศ. 1088)  ตามมาด้วยโมเดลมหาวิทยาลัยปารีส   โมเดลอ็อกซ์บริดจ์   โมเดล ฮุมโบ๊ลเที่ยน (มหาวิทยาลัยวิจัย) (เบอร์ลิน)    และโมเดลมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

         อุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยไทยที่ตั้งขึ้นสมัย ร. ๖ คือกว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว    ยึดแนวมหาวิทยาลัยปารีส คือเน้นสร้างคนให้แก่ประเทศ    และยังไม่เปลี่ยน   เมื่อผสมกับความสำเร็จของระบบอุดมศึกษาไทย คือ massification   ก็นำไปสู่ปัญหา relevance   คือผลิตคนไม่ตรงตามความต้องการของสังคม    ทั้งในเชิงจำนวนและคุณภาพ    มีบัณฑิตหลายสาขาตกงานเป็นจำนวนมาก    เช่นสาขาครู   ที่มีปัญหาทั้งตกงาน และที่ได้งานก็ทำหน้าที่ได้ไม่ดี (คุณภาพ)

        ปัญหาถัดมา ท่านใช้คำว่า อุดมศึกษาไม่สร้าง well-educated workers   แปลเป็นไทยว่าบัณฑิตทำงานไม่เป็น    ซึ่งผมตีความต่อว่า root cause คือมหาวิทยาลัยไม่ได้ผลิตบัณฑิตร่วมกับสถานประกอบการ    และไม่ได้เน้นการเรียนจากการทำงาน (หลงคิดว่าเรียนจากการทำงานเป็นวิธีเรียนของอาชีวศึกษา)  

          จุดบอดของอุดมศึกษาข้อที่ ๒ คือ ไม่ได้สร้าง frontier knowledge, และประการที่ ๓ คือ ไม่สร้าง innovation    นี่คือความเห็นของ ศ. นพ. จรัส     

          เราคุยกันว่าในสภาพปัญหาที่ซับซ้อนเช่นนี้ รัฐบาลจัดการได้โดยใช้ financial sanction    คือจัดระบบ differential incentive   ตาม performance ที่ต้องการ    ผมเอ่ยระบบประเมินมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์ และให้เงินสนับสนุนตามผลประกอบการ ที่อังกฤษใช้    แต่ผู้เข้าร่วมหารือท่านอื่นบอกว่าจะไม่ได้ผลในบริบทไทย ที่มหาวิทยาลัยมีพลังวิ่งเต้นสูงมาก    

              ผมจึงเสนอว่า น่าจะพิจารณาใช้ initiative approach เป็นเครื่องมือทำ change management เชิงระบบของอุดมศึกษาไทย    โดยฝ่ายการเมืองริเริ่มตั้งโจทย์ผลลัพธ์ที่ต้องการ พร้อมทั้งบอกทรัพยากรสนับสนุน   ให้มหาวิทยาลัย (น่าจะจัดทีมหลายมหาวิทยาลัย) เสนอโครงการว่าจะดำเนินการอย่างไร   ใช้เวลานานแค่ไหน   ส่งมอบผลงานอย่างไร ตามเป้าหมายรายทางและเป้าหมายปลายทาง    แล้วมีกลไกคัดเลือก และมีคณะกรรมการชี้ทิศทาง    และมีกลไกประเมินโครงการ ที่น่าจะทำแบบ Development Evaluation  

              มีการพูดกันว่า โครงสร้างที่ต้องการคือระบบข้อมูลที่เอื้อต่อการทำ big data analytics   และการมี data scientist    วิเคราะห์ออกมาเป็นสารสนเทศที่ต้องการใช้จัดการระบบ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการทรัพยากร)    และสื่อสารกับสังคม    เพื่อให้มหาวิทยาลัยต้องรับผิดรับชอบต่อสังคมด้วย               

ศ. นพ. จรัส ให้ความเห็นว่า ในเรื่องความสามารถในการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาไทยในเวทีโลก (World University Ranking) ควรมีเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัยร่วมกันดำเนินการ    เน้น collaboration ระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำ (tier 1)    ไม่ใช่มุ่ง competition กันเองอย่างในปัจจุบัน   

ศ. นพ. จรัส ชี้ให้เห็นว่า ที่จริงนวัตกรรมในด้านเกษตรของไทยเกิดขึ้นโดยเกษตรกร และโดยสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ    แต่ที่มหาวิทยาลัยควรทำคือ deep innovation   ที่เชื่อมความรู้ทฤษฎีเข้ากับนวัตกรรม    ท่านยกตัวอย่างผลงานนวัตกรรมเลี้ยงปลานิลให้ได้ตัวผู้ทั้งหมดของ AIT   และโครงการวิจัยพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกโดย ศ. นพ. ณัฐ ภมรประวัติ ผู้ล่วงลับ     

ผมเสนอให้มอบหมายให้ สอวน. (สวทน. เดิม) ทำงานวิจัยระบบนวัตกรรม (National Innovation Systems) ของไทย     ว่าสภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร   ระบบที่ดีเป็นอย่างไร   มีส่วนไหนจุดใดบ้างที่ยังโหว่หรืออ่อนแอ ที่จะต้องปรับปรุง    เพื่อการจัดการระบบเชิงรุก   สร้าง “โครงสร้างพื้นฐานด้านวิจัยสู่นวัตกรรมของชาติ”   เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐  

ผมเสนอแนวทางของจีน ในการส่งเสริมมหาวิทยาลัยกลุ่ม tier 1 ให้ทำงานวิจัยทั้ง basic และ innovation research อยู่ในงานเดียวกัน   คืองานวิจัยเดียวที่โจทย์มาจากบริษัทเอกชน และทำร่วมกับเอกชน    ได้ทั้งผลงานนวัตกรรมที่นักศึกษานำไปเขียนวิทยานิพนธ์  บริษัทเอาไปใช้ผลิตสินค้า  มีการจดสิทธิบัตร  และอาจารย์เอาไปตีพิมพ์    รวมทั้งวิธีการที่รัฐบาลจีนสร้าง innovation platform ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอุดมศึกษากับภาคการผลิต ()     และ ศ. นพ. จรัส ชี้ว่า จีนเริ่มการพัฒนามหาวิทยาลัยด้วย Project 211  และตามด้วย Project 985 ()   

ที่จริง ศ. นพ. จรัส เล่าข้อมูลทางการศึกษามากมาย    ที่สะท้อนคอร์รัปชั่นเชิงระบบ ในระบบการศึกษา     ที่บั่นทอนคุณภาพของการศึกษาไทย และคุณภาพพลเมืองไทย     ผมจะแยกไปเล่าในบันทึกอื่น    เพราะบันทึกชุดนี้เป็นเรื่องวิจัยและนวัตกรรม      

วิจารณ์ พานิช        

๒๐ พ.ค. ๖๒

หมายเลขบันทึก: 662049เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2019 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท