วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) : 36. สกสว. organization transformation


ตอนที่ ๑       ตอนที่ ๒       ตอนที่ ๓       ตอนที่ ๔       ตอนที่ ๕  

ตอนที่ ๖       ตอนที่ ๗       ตอนที่ ๘       ตอนที่ ๙       ตอนที่ ๑๐   

ตอนที่ ๑๑       ตอนที่ ๑๒       ตอนที่ ๑๓       ตอนที่ ๑๔      ตอนที่ ๑๕   

ตอนที่ ๑๖       ตอนที่ ๑๗       ตอนที่ ๑๘        ตอนที่ ๑๙        ตอนที่ ๒๐  

 ตอนที่ ๒๑        ตอนที่ ๒๒         ตอนที่ ๒๓        ตอนที่ ๒๔        ตอนที่ ๒๕  

ตอนที่ ๒๖        ตอนที่ ๒๗       ตอนที่ ๒๘        ตอนที่ ๒๙       ตอนที่ ๓๐ 

 ตอนที่ ๓๑       ตอนที่ ๓๒       ตอนที่ ๓๓       ตอนที่ ๓๔      ตอนที่ ๓๕

 

ต่อจากตอนที่ ๓๒ ซึ่งเป็นการประชุมคณะที่ปรึกษาประธาน สกสว. ครั้งที่ ๑ นะครับ   บันทึกนี้เป็น reflection จากการประชุมคณะที่ปรึกษาประธาน สกสว. ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒   ซึ่งผมตีความว่า เราคุยกันเรื่อง organization transformation จาก สกว. ไปเป็น สกสว.   ซึ่งเป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่ง     เพื่อเปลี่ยนจากทำหน้าที่จัดการงานวิจัย ไปทำหน้าที่ transform ระบบ ววน. เชื่อมโยงกันการ transform ระบบอุดมศึกษา  

ประเด็นที่ผมจับได้จากการพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองคือ

  • การเป็นองค์กรที่ผอมและแกร่ง
  • New platform ของการพัฒนา อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม  ตัวอย่างวิธีการของจีน คือ Innobelt ที่เซี่ยงไฮ้ (๑)    และ Town of Designers ที่หางโจว (๒)
  • การทำหน้าที่แนว “ระนาดทุ้ม” ของ ศ. ดร. เจตนา นาควัชระ    ซึ่งหมายความว่า ทำงานแบบไม่เอาเด่นเอาดังเข้าตัว หรือหน่วยงานของตน    มุ่งให้งานส่วนรวมดี
  • การจัด series of seminar เรื่องแนวทางพัฒนาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม    เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
  • การจัดการ resources allocation เชิงรุก   และมีการปรึกษาหารือ    ไม่ใช่เชิงตั้งรับ 
  • การกำหนดระบบ ให้มีโปรแกรม หรือ SDU รับผิดชอบ ในเรื่องที่มีความสำคัญมากๆ เช่น โครงการ คปก., โครงการสนับสนุนการวิจัยอุตสาหกรรม
  • การมี platform สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแก่ SME ไทย   เพื่อให้ยืนบนขาตัวเองในด้านเทคโนโลยีได้มากขึ้น    โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ของไต้หวัน เกาหลี    และจากอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย
  • ต้องเชื่อมโยงระหว่าง อุดมศึกษา กับ ววน.  
  • ระบบข้อมูล ที่นำไปสู่การประเมิน   ให้จัดทำเป็น Report to the Nation    
  • มีการนำเสนอข้อเรียนรู้การพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมของเกาหลี ไต้หวัน และจีน
  • การทำงานประสานเชื่อมโยงกับ วช. เพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก    โดย สกสว. รีบถ่ายโอนภารกิจดูแลทุนวิจัย เริ่มจากทุนรายย่อย ให้แก่ วช. และให้การสนับสนุนทักษะวิธีทำงาน เพื่อความสะดวกของนักวิจัยผู้รับทุน  

ข้อสะท้อนคิดในภาพรวมของผม คือ สกสว. กำลังเผชิญความท้าทายว่า จะเปลี่ยนภารกิจไปทำหน้าที่ใหม่ ที่คนทั้ง ๑๘๕ คน ไม่คุ้นเคย และไม่มีทักษะ  ให้สำเร็จได้อย่างไร    โดยไม่ปลดพนักงานออก    แต่ต้องร่วมมือกันเรียนรู้ทักษะใหม่อย่างรวดเร็ว เพื่อทำงานใหม่ให้สำเร็จให้จงได้    

  ข้อสรุปของผมคือ ฝ่ายบริหาร สกสว. ต้องตีโจทย์ให้แตกว่า    การทำหน้าที่เสนาธิการให้แก่ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  หมายความว่าอย่างไร    สิ่งที่เรียกว่า “ความสำเร็จ” คืออะไร ผมขอเสนอว่า คือ การทำให้ระบบ อววน. เป็นกลไกส่งเสริมให้ภาคการผลิตและบริการ  และภาคการดำรงชีวิต ทำหน้าที่ในแนวทางใหม่ๆ ได้    เกิดผลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สภาพประเทศรายได้สูง สังคมดี    หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง

ตีความให้ง่ายต่อการปฏิบัติได้ว่า สกสว. เป็นผู้ช่วยพระเอก    ตัวพระเอก (หรือนางเอก) คือกระทรวงต่างๆ    และ real sector   

วิจารณ์ พานิช        

๒๘ มิ.ย. ๖๒

ล็อบบี้   โรงแรมเซนจูรี่ ปาร์ก   ถนนราชปรารภ  ดินแดง

                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 665980เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2019 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท