วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) 43. ขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน.


ตอนที่ ๑      ตอนที่ ๒      ตอนที่ ๓     ตอนที่ ๔      ตอนที่ ๕  

ตอนที่ ๖      ตอนที่ ๗      ตอนที่ ๘      ตอนที่ ๙      ตอนที่ ๑๐  

ตอนที่ ๑๑       ตอนที่ ๑๒    ตอนที่ ๑๓      ตอนที่ ๑๔      ตอนที่ ๑๕  

ตอนที่ ๑๖      ตอนที่ ๑๗    ตอนที่ ๑๘   ตอนที่ ๑๙   ตอนที่ ๒๐   

ตอนที่ ๒๑    ตอนที่ ๒๒    ตอนที่ ๒๓    ตอนที่ ๒๔    ตอนที่ ๒๕  

ตอนที่ ๒๖    ตอนที่ ๒๗   ตอนที่ ๒๘    ตอนที่ ๒๙    ตอนที่ ๓๐  

ตอนที่ ๓๑ ตอนที่ ๓๒     ตอนที่ ๓๓   ตอนที่ ๓๔ ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖       ตอนที่ ๓๗     ตอนที่ ๓๘     ตอนที่ ๓๙     ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑     ตอนที่ ๔๒

วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๒ ตอนค่ำมีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม () ที่มี รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธาน    เขานัดทางไลน์ ผมลืมเข้าไปดู    จึงไม่ได้ไปประชุม    แต่ก็ได้รับ ppt ประกอบการประชุม ()

  จึงเขียนบันทึกจาก ppt นี้  

จะเห็นว่า คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ขับเคลื่อนการ reform สี่ด้าน    คือ (๑) ด้านนโยบาย  (๒) ด้านการจัดการงบประมาณ  (๓) ด้านการบริหารจัดการ  และ (๔) ด้านควบคุมดูแล    ซึ่งต้องมีการบูรณาการทั้ง ๔ ด้านของ reform    และบูรณาการภารกิจ อุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม    ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่มีการจัดตั้งกระทรวง อว.  

ในความเห็นของผม การทำงานอย่างบูรณาการภาคส่วน บูรณาการภารกิจ และบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานนี่แหละคือความท้าทายสูงสุดของระบบ อววน. ไทย    ท่านที่ติดตามบรรทึกชุด วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี  นี้ จะเห็นว่า  ผมได้เตือนเสมอมาว่า     การทำงานเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก เพราะความมี “ตัวกู ของกู” สูงผิดปกติ ของผู้บริหารหมายเลขหนึ่งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    และการที่ผู้บริหารไม่ถูกกัน    จะเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุด    เพราะจะทำให้การทำงานไม่บูรณาการกัน    แทนที่จะเกิด synergy กลับบั่นทอนกัน   

ถึงกับมีคนเสนอให้ ผู้บริหารที่ขัดแย้งกัน ไม่ยอมร่วมมือกัน ต้อง “ไปทั้งคู่”    แต่ในบริบทวัฒนธรรมไทย เรื่องนี้คงไม่เกิด เพราะต่างคนต่างก็มี แบ็ค แข็ง     สังคมของเราไม่เด็ดขาดพอเพื่อการปฏิรูป    เรามีแนวโน้มจะเห็นแก่บุคคลมากกว่าเห็นแก่ประเทศ   

ยุทธศาสตร์บูรณาการที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือ บูรณาการข้ามกระทรวง    ข้าม “ภาคส่วน” (sector) คือภาคธุรกิจ  ภาคการผลิต  ภาคประชาสังคม  ภาคท้องถิ่น     ต้องไม่บูรณาการแคบๆ กันอยู่ในกระทรวง อว. เท่านั้น     

แค่สร้างโครงสร้าง และวิธีทำงานให้เกิดบูรณาการสองประเด็นข้างบน ให้ได้ผลจริงจัง ก็จะมีคุณูปการสู่การพัฒนา ประเทศไทย ๔.๐ อย่างมากมาย   

สภานโยบาย อววน. (สกช.) เพิ่งประชุมเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๒  และมีมติสำคัญคือ อนุมัติโครงสร้างหน่วยงานด้าน ววน. ของประเทศ    ที่เปิดโอกาสให้ปรับปรุงได้ง่าย    และอนุมัติการจัดตั้ง PMU (Program Management Unit) สามหน่วยงาน sandbox ภายใต้ สอวช. เพื่อจัดการงานวิจัย (ทุนวิจัย) ด้าน (๑) การพัฒนากำลังคน   (๒) R&I เพื่อความสามารถในการแข่งขัน    และ (๓) R&I เชิงพื้นที่และชุมชน    นี่คือการ spin off งานของ สกว. เดิม ๓ ด้าน ไปเป็น PMU   เพื่อการันตีความคล่องตัว และความต่อเนื่องในการทำงาน    ซึ่งเดิมทำได้ดีอยู่แล้ว (แต่ต้องพัฒนาให้ทันบริบทแห่งยุคสมัยอีกมาก)  

  หัวใจของการปฏิรูประบบงบประมาณคือการทำให้งบประมาณสนับสนุน ววน. ก้าวข้ามระบบงบประมาณแบบรายปี    ไปเป็นงบประมาณ multi-year long term commitment    โดยจัดเป็น กองทุนส่งเสริม ววน.     เรื่องนี้ยังจะต้องต่อสู้กันต่อไป    ว่าจะ implement ได้แค่ไหน    เพราะมีข้อท้าทายในเชิงดำเนินการหลากหลายด้าน    ซึ่งเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ภาพย่อยมากมาย    

งบประมาณ ววน. ปี ๒๕๖๓ ของประเทศ วงเงิน ๓๗,๐๐๐ ล้านบาท    ซึ่งไม่ได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ    แต่คาดว่า ต่อไปน่าจะจัดการให้เงินก่อผลกระทบที่ต้องการได้มากขึ้น   พูดใหม่ว่า มีการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น    จะเป็นจริงได้แค่ไหนต้องมีการวัด เก็บข้อมูล นำมาวิเคราะห์ และสื่อสารสังคม    เพื่อให้ระบบ ววน. accountable ต่อสังคม    ไม่ใช่แค่ accountable ต่อรัฐบาล   

ขอหมายเหตุ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม ว่า งบประมาณ ววน. ที่ ครม. มีมติเห็นชอบ ๓๗,๐๐๐ ล้านบาทนั้น    สำนักงบประมาณกำหนดเพียง ๒๔,๐๐๐ ล้านบาท    และผ่านสภาผู้แทนฯ วาระแรกไปแล้ว

โปรดสังเกตจาก powerpoint นะครับ ว่า สอวช. ทำการบ้านมาดีมาก    ในส่วนการปฏิรูป การบริหารจัดการ มีการเสนอให้ใช้การบริหารสมัยใหม่ ด้วยเครื่องมือ OKR   ซึ่งจะทำให้มีความชัดเจนที่เป้าหมายระยะยาวและระยะสั้น และมีการวัดผลบ่อยๆ ที่ไม่ใช่รายปี เอามาพิจารณาร่วมกัน    หากทำได้จริงจังจะเป็นตัวอย่างของการปฏิรูปราชการให้เน้นทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์    

การปฏิรูป ววน. นี้มี พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ (๓) เป็นแม่บท    

ส่วนการปฏิรูปการอุดมศึกษา มี พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ (๔) เป็นแม่บท  

วิจารณ์ พานิช        

๓ ก.ย. ๖๒   ปรับปรุง ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๒

Meetingone from Pattie KB

01 nov62 from Pattie KB
หมายเลขบันทึก: 672201เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2019 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท