ครูวิจัยในงานประจำ


“ครูวิจัยในงานประจำ”

ชื่อเล่น ครู R2R

นั่งดูภาพย้อนหลังไปก็ระลึกถึงพลังการเรียนรู้ที่สุดๆ ยอดมากมากกับการทำหน้าที่เป็น R2R Facilitator บางคนเรียกฉันว่า “ครูวิจัย”

ปี 2548 ถึงปัจจุบัน สร้างภาพฝันในการออกแบบการเรียนรู้ให้เป็นจริง นำพาคนทำงานประจำที่มีภาระงานล้นมือลุกขึ้นมาทำวิจัยต่อเนื่องได้มาหลายปี

ชวนให้นึกถึงชาวญี่ปุ่นที่ทำวิจัยสักเรื่องนี่เขาทำกันยาวนานมาก แต่คนไทยเรามักทำวิจัยเฉพาะกิจเป็นครั้งๆ ไป เช่น อุบัติการณ์ในขณะนั้น ทำวิจัยในการเรียนระดับบัณฑิตวิทยาลัย หรือทำเพื่อเลื่อนระดับผลงาน

แต่นักพัฒนางานที่ฉันคอนแทรคด้วยเกือบทุกคนทำวิจัยจากงานประจำ(R2R)มาเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี โดยไม่มีคำสั่ง ทำเพื่ออยากรู้ว่าสิ่งที่ตนเองพัฒนาขึ้นมานั้นผลเป็นอย่างไร จะสามารถแก้ไขปัญหานั่นโน่นนี่ในงานประจำได้หรือไม่อย่างไร

ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคนทำงาน แม้วิจัยจะเป็นเรื่องยาก แต่โจทย์สำหรับฉัน คือ จะทำอย่างไรให้เขารู้สึกว่าไม่ยาก ทำได้ และฉันก็ก้าวเดินเคียงข้างพวกเขา

ถ้าฉันยังนั่งทำงานอยู่ในสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัยใหญ่ๆ ฉันเชื่อว่าฉันจะไม่สามารถสร้างฝันที่จะสร้างนักพัฒนางานให้สร้างความรู้จากการทำวิจัยนี้ได้

สิ่งที่ภาคภูมิใจมากมากเลยในชีวิตการงานเช่นนี้ คือ การได้รับโอกาสติดตามนักพัฒนางานด้วยวิจัย(R2R) ที่มีผลงานเล็กๆ หากแต่กระเพื่อมเชิงระบบ ไม่ได้มีวุฒิปริญญาโทหรือปริญญาเอก เป็นเพียงนักพัฒนางานตัวเล็กๆ ในองค์กรเล็กๆไปเรียนรู้ที่ TEMASEK ประเทศสิงคโปร์

เพียงแค่นึกถึง

ก็ยิ้มละไม...ในใจ


คำสำคัญ (Tags): #r2r#ครูวิจัย
หมายเลขบันทึก: 674393เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2020 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2020 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำงานวิจัย ก่อให้เกิดปัญญาที่ดีเสมอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท