วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) 53. ระบบกำกับดูแลที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒



วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีข้อสังเกตจากคณะกรรมการตรวจสอบ มาเสนอในที่ประชุม ทำให้ผมเสนอที่ประชุมว่า รัฐบาลนายกประยุทธ์ทั้งสองรัฐบาล ต้องการพัฒนาประเทศในระดับ transform ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์     แต่ระบบ governance กิจการสาธารณะที่ดำเนินโดยภาครัฐยังใช้ชุดความคิดที่เน้นการปฏิบัติตามกฎระเบียบแบบเถรตรง ตรวจสอบตามตัวอักษร     ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่ไม่เอื้อต่อการทำงานสร้างสรรค์ 

ผมจึงเสนอว่า คณะกรรมการบริหาร กสศ. น่าจะร่วมกันคิดระบบ governance สำหรับใช้กำกับหน่วยงานที่ทำงานริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ     ไม่ใช่ทำงานประจำตามปกติ  

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ (๑) มาตรา ๖๙ ระบุให้มี sandbox ด้านการอุดมศึกษาได้    แต่ก็ระบุเฉพาะการจัดหลักสูตรเท่านั้น    และไม่ครอบคลุมมาถึง กสศ.     

วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ผมไปประชุม Research and Innovation Advisory Committee ของ SiCORE-M คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล    ที่ผมมองว่าเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา  ตามที่ พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ต้องการให้ดำเนินการ    แต่การดำเนินการริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่เรียกชื่อว่า SiCRES (Siriraj Clinical Research Excellence Service) พบกับความยากลำบากจากระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ   

เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่บอกว่า ประเทศไทยต้องการระบบกำกับดูแลกิจกรรมเพื่อการสร้างสรรค์อีกระบบหนึ่ง ที่มีการตรวจสอบรัดกุมป้องกันการทุจริต ไปพร้อมๆ กันกับเอื้อความคล่องตัวในการทำงานสร้างสรรค์    

วิจารณ์ พานิช        

๑๑ พ.ย. ๖๒

หมายเลขบันทึก: 674310เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2020 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยครับ ระบบวิจัยของเราขาดผู้นำที่เข้มแข็งและมองภาพรวมที่ชัดเจนระบบราชการที่เน้นกฏหมายและระเบียบเป็นอุปสรรคที่สำคัญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท