วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) 57. ระบบติดตามประเมินผล ววน. ของประเทศ


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖




การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาพัฒนาระบบ ววน. ครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ ที่ สอวช. เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ มีวาระ การติดตามและประเมินผลระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  เข้าสู่การเสวนา โดยมี ดร. สิริพร พิทยโสภณ นำเสนอแนวคิด เพื่อให้คณะกรรมการให้คำแนะนำ

ดร. สิริพร เสนอหลักการ ๖ ข้อของการประเมินที่ดียิ่ง คือ

  • หลักการข้อที่ ๑   ระบบการติดตามผล อววน. ควรมี ๓ ระดับ ได้แก่  (๑) ระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และระบบ อววน. (policy/strategy/system)  (๒) ระดับการเปลี่ยนแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (deployment)  และ (๓) ระดับปฏิบัติ (implementation)   
  • หลักการข้อที่ ๒   ผลการดำเนินงานต้องสามารถเชื่อมโยงผลลัพธ์และผลกระทบของระบบ อววน. กับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนระดับชาติ
  • หลักการข้อที่ ๓   ระบบการติดตามและประเมินผลต้องสะท้อนพัฒนาการของขีดความสามารถด้าน อววน. ของประเทศ   ควบคู่ไปกับการสะท้อนผลการดำเนินงาน
  • หลักการข้อที่ ๔   ต้องสามารถใช้ผลการประเมินให้เกิดการเรียนรู้ และนำไปสู่การพัฒนาระบบ และพัฒนาคุณภาพงาน ตามหลักการ double-loop learning
  • หลักการข้อที่ ๕   ต้องสามารถชี้ให้เห็นความรับผิดรับชอบต่องาน (accountability)    ซึ่งเป็นฐานในการสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในระบบ อววน.
  • หลักการข้อที่ ๖   ต้องพัฒนาระบบสารสนเทศรองรับระบบติดตามและประเมินผล

จะเห็นว่าทีมงานของ สวทน. คิดหลักการและวิธีการมาอย่างครอบคลุมและมีหลักคิดที่ดีมาก    คำแนะนำในที่ประชุมจึงเป็นการเสริม หรือทำความชัดเจน เป็นหลัก 

และที่จริงมีการนำเสนอลงไปในรายละเอียดเชิงวิธีการ  มีการยกตัวอย่างด้วย    แต่ผมไม่ได้นำมาเล่า      

มีการย้ำว่า ระบบ M&E (Monitoring and Evaluation) ต้องบูรณาการเป็นเนื้อเดียวกันกับระบบกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์    ผมจึงแนะนำให้รู้จักหลักการประเมินแบบ DE (ตามในหนังสือ Developmental Evaluation : Applying Complexity Concepts to Enhanhance Innovation and Use)    ที่ทีมประเมินกับทีมปฏิบัติงานทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายใหญ่    ซึ่งก็คือเน้นการประเมินเพื่อพัฒนา (formative assessment)   ไม่ใช่เน้นประเมินได้ตก (summative evaluation)    เรื่องการประเมินนี้ ผมมีความห็นว่า น้ำหนักการประเมินเพื่อพัฒนา : ประเมินผล ควรอยู่ที่ 80:20

หากจะใช้ประโยชน์การประเมินแบบ DE อย่างจริงจัง     ต้องคำนึงว่า ประเทศไทยขาดแคลนนักประเมินแนวนี้ เกือบเรียกได้ว่าไม่มีเลย    จึงควรมีนโยบายและมาตรการสร้างและพัฒนานักประเมินแนวนี้            

ระบบที่มีความสำคัญยิ่งต่อการประเมิน และการทำงาน คือระบบข้อมูลและสารสนเทศ    ดร. สัมพันธ์ เสนอให้ไปดูตัวอย่างระบบสารสนเทศช่วยการทำงานที่บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์ปอเรชั่น    ที่มีลักษณะเป็น automate monitoring system ที่มีการ cascade  และ looping ไปยังทั้งระบบงาน    เป็นระบบ online, real time   เน้นที่ lead measure  มากกว่า lab measure     ผมเสนอให้ระบบสารสนเทศของ อววน. มีทั้งระบบ  structured  และ unstructured  เพื่อใช้ big data analytics ช่วยการวิเคราะห์ตอบคำถามในอนาคตได้ด้วย    

รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ให้ความเห็นว่า  ระบบติดตามประเมินผล ต้องประเมินระบบ  ประเมินโครงสร้าง  และประเมินการทำงานเชิงระบบ    ที่ต้องทำงานร่วมกันทั้ง ราชการ เอกชน และมหาวิทยาลัย    และต้องทำหน้าที่ feedback เพื่อการปรับปรุง     และในบางกรณีต้อง feedback ขึ้นไปที่ระดับนโยบาย     ถึงตอนนี้ผมก็เสนอว่า ต้องใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา    โดยมีคำอธิบายคือ ในการแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อนต้องใช้สามเหลี่ยมเขยื้นภูเขา     ยอดบนของสามเหลี่ยมคือการวิจัย สร้างความรู้ หรือสร้าง evidence   แล้วต้องเอาความรู้นั้นไปให้แก่มุมล่างขวาของสามเหลี่ยม คือสังคมในภาพรวม  กิจกรรมนั้นคือการสื่อสารสังคม    ซึ่งต้องใช้ทั้งนักสื่อสารสังคมและนักกดดันทางการเมือง     เพื่อให้ภาคการเมืองหรือภาคนโยบายรับสารที่เป็น evidence ทั้งจากฝ่ายวิชาการ และจากฝ่ายประชาชน    เจ้าของทฤษฎีคือ ศ. นพ. ประเวศ วะสี อธิบายว่า นักการเมืองไม่ค่อยฟังนักวิชาการ    แต่ฟังผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง     

มีคนให้ข้อมูลว่า เคยทำหน้าที่ประเมินกองทุนบางกองทุน ประเมินและให้ข้อเสนอแนะไปแล้ว    ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น    ศ. ดร. นักสิทธ์ คูวัฒนาชัยกระซิบบอกผมว่า    บางหน่วยงานเอาผลการประเมินไปซ่อน     สะท้อนว่า ในสังคมไทย มองการประเมินในแง่ลบ    หากระบบงานมีความไม่ถูกต้อง ย่อมกลัวการประเมิน    ดังนั้น การประเมินจึงมีหน้าที่สร้างความโปร่งใส น่าเชื่อถือให้แก่ระบบอีกด้วย     

ผมขอเสนอมุมมองอีกแบบหนึ่ง ว่า การประเมินคือการสร้าง evidence   สำหรับใช้ในการสื่อสารต่อ constituencies ต่างๆ     เพื่อให้ร่วมกันขับเคลื่อน อววน. ไปในทิศทางที่ถูกต้อง    การประเมินจึงต้องผูกพันเชื่อมโยงกับการสื่อสารสังคม    ทั้งสื่อสารแบบให้ข้อมูลหลักฐาน    และสื่อสารแบบกดดันนโยบาย (policy advocacy)    ระบบประเมินจึงต้องเชื่อมโยงกับระบบสื่อสาร  และระบบกดดันนโยบาย    โดยที่ระบบกดดันนโยบายควรอยู่นอกระบบ อววน.               

วิจารณ์ พานิช        

๘ ธ.ค. ๖๒

               

หมายเลขบันทึก: 674750เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2020 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท