วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) 55. Transformative Function ของ สกสว.


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

สกสว. ติดต่อให้ผมไปทำหน้าที่ “ประธานคณะอนุกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการส่งเสริมการบริหารกลุ่มโปรแกรม” (CPC – Cluster Promoting Committee)    และนัดประชุมเช้าวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒   

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดนี้ชื่อ “แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารและหน่วยบริหารโปรแกรม พ.ศ. ๒๕๖๒”    เป็นคำสั่งลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ โดยประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เมื่อเปิดการประชุม กรรมการติงว่างานตามคำสั่ง กับที่ฝ่ายเลขานุการที่รับผิดชอบโดยรอง ผอ. สกสว. เสนอต่อคณะอนุกรรมการ ไม่ตรงกัน    ซึ่งเป็นผลของการที่เวลานี้เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วภายในกระทรวง อว.    และคณะกรรมการตามชื่อในคำสั่งมีการแต่งตั้งไปเรียบร้อยแล้ว โดยกระทรวง อว.    ทาง สกสว. เตรียมแผนผังโครงสร้างการทำงานมาอธิบายอย่างดี    

แต่แผนผังนี่เองที่จุดชนวนการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ว่า สกสว. กำลังทำอะไร    โครงสร้าง CRC ที่ยังไม่ผ่านคณะกรรมการ กสว. ทำหน้าที่อะไรกันแน่    ซ้ำซ้อนกับโครงสร้างของ 4 Platform และของ PMU หรือเปล่า   

ผมเกริ่นนำตั้งแต่เริ่มเปิดการประชุมแล้ว ว่าการ implement กระทรวง อว. ยังอยู่ในช่วงสับสน ขาดความชัดเจน    สกสว. ก็ยังอยู่ในช่วงหาตัวตน หาวิธีทำงาน    ในช่วงต้นของการประชุมจึงต้องร่วมกันหาความชัดเจนก่อน ว่าจะให้คณะอนุกรรมการชุดนี้ทำอะไร

เมื่ออภิปรายได้ราวๆ ๑ ชั่วโมง    ผมชี้ให้ที่ประชุมเห็นว่า ต้องร่วมกันทำความชัดเจนว่า CRC เป็นโครงสร้างของระบบงานใหญ่ หรือเป็นกลไกภายในของ สกสว.    ท่าน ผอ. สกสว. และทีมผู้บริหารของ สกสว. เห็นพ้องทันทีว่า เป็นกลไกบริหารภายใน   

ทำให้ผมชี้แนะว่า หากเป็นกลไกบริหารภายใน เพื่อช่วยงานของผู้บริหาร สกสว.   การแต่งตั้งกรรมการ CRC ก็อาจแต่งตั้งโดย ผอ. สกสว. เองได้ เพราะเป็นเรื่องภายใน    ซึ่งจะช่วยให้มีความชัดเจนว่า CRC ไม่ใช่โครงสร้างที่เพิ่มชั้นของการควบคุมสั่งการ หรืออนุมัติ    ไม่ไปยุ่งกับโครงสร้างการทำงานของกระทรวง อว. ที่มีข้อตกลงชัดเจนในระดับหนึ่งแล้ว    

เพราะ รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อน อววน. เสนอว่า    สกสว. ไม่ได้ทำหน้าที่ดูแลงบประมาณ ววน. เฉพาะส่วนที่เป็นกองทุน ซึ่งในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เป็นเงิน ๑๒,๕๕๕ ล้านบาท เท่านั้น    แต่ต้องดูแลเงิน ววน. ส่วนที่ไม่ผ่านกองทุน เป็นเงิน ๗,๗๔๐ ล้านบาท ด้วย    ผมจึงเสนอต่อที่ประชุมว่า ประเด็นที่เรากำลังคุยกันนี้ เป็นเรื่องของการช่วยระดมความคิดว่า สกสว. จะช่วยทำหน้าที่สร้าง impact ต่อการพัฒนาประเทศผ่านการลงทุนด้าน ววน. ให้การลงทุนก่อผลคุ้มค่า ได้อย่างไร    โดยต้องให้ชัดเจนว่า สกสว. ทำงานสร้างคุณค่าของ ววน. ของทั้งประเทศ    ไม่ใช่เฉพาะภายในกระทรวง อว.    และคำว่า ของทั้งประเทศ หมายความว่า รวมทุกภาคส่วน ทุกกระทรวง    โดยต้องไม่ลืมว่าเวลานี้ภาคธุรกิจเอกชนลงทุน ววน. สามในสี่ของประเทศ     ภาครัฐลงทุนเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้น  

ผมชี้ว่า ทุน ววน. ไม่ได้มีเฉพาะด้านเงิน    ยังมีด้านอื่นๆ อีกมาก    ทั้งด้านคน ศิลปะและวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือทุนทางชีวภาพ และอื่นๆ    สกสว. น่าจะทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศไทยใช้ทุนหรือทรัพยาการ ววน. เหล่านั้นก่อผลคุ้มค่า ต่อการฉุดรั้งประเทศไทยออกจากหล่มรายได้ปานกลาง     ต้องมีวิธีลดการลงทุนที่ไม่ก่อผลคุ้มค่า    และเพิ่มการลงทุนที่ก่อผลคุ้มค่า    ซึ่งกลไกแนว CDC ที่เสนอน่าจะช่วยได้    

สกสว. จะทำงานเช่นนี้ได้ หน่วยงานอื่นๆ ในระบบ ววน. ต้องเชื่อใจว่า สกสว. ไม่ทำหน้าที่แบบเน้นใช้อำนาจสั่งการ    แต่ทำงานแบบเน้นข้อมูล สารสนเทศ  เน้นทำหน้าที่สนับสนุน (แบบเลือกสนับสนุนกิจกรรมหรือวิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี หรือมีหลักฐานว่าน่าจะได้ผลดี) ให้หน่วยงานต่างๆ ในระบบ ววน.  มีผลงานของตน ตามที่คาดหวังโดยแผนยุทธศาสตร์ชาติ     ซึ่งหมายความว่า สกสว. เน้นทำงานโดยใช้ความสัมพันธ์แนวระนาบ    ไม่ใช่เน้นความสัมพันธ์แนวดิ่งเชิงควบคุมสั่งการ

ผมชี้ว่า สกสว. มีหน้าที่สร้าง learning loop และสร้าง ecosystems ขึ้นในระบบ ววน. ของประเทศ    รวมทั้งภายใน สกสว. เอง     โดยมีเป้าหมายช่วยกันทำให้ระบบ ววน. ของประเทศ deliver ผลงานที่เป็นเป้าหมายยิ่งใหญ่     คือให้การลงทุนด้าน ววน. ก่อผลพัฒนานวัตกรรม ช่วยยกระดับประเทศจากรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง ให้จงได้    ให้เกิดการทำงานประสานส่งเสริม (synergy) กันของส่วนต่างๆ ของระบบ ววน.    ขจัดการทำงานแบบแยกส่วน ไซโล หรือแก่งแย่งกัน ในระบบ ววน.                      

ที่ประชุมอภิปรายเพื่อช่วยกันขจัดความสับสนที่จู่ๆ ก็มี CPC โผล่ขึ้นมา          

สรุปว่า ในการประชุมวันนี้ คณะอนุกรรมการฯ ช่วยแนะนำให้กลไก CPC “หายตัว” เข้าไปอยู่ภายใน สกสว.    และแนะนำให้ สกสว. ทำงานใหญ่ให้แก่ประเทศ    ด้วยท่าทีและวิธีการที่ไม่เน้นการใช้อำนาจ    แต่เน้นการใช้ปัญญา  เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยง และสนับสนุน     หาก สกสว. ทำงานในลักษณะนี้ได้จริง     สกสว. จะเป็นผู้นำในการทำงานจัดการนโยบายด้วยวิธีการแนวใหม่ แนว transformation    ที่เน้นการทำงานแนวราบ แนวส่งเสริม หรือแนวใช้ปัญญา    ไม่ใช่แนวดิ่ง หรือแนวใช้อำนาจ     และมุ่งทำงานขับเคลื่อนภาพใหญ่ของระบบ ววน. ของทั้งประเทศ   

รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ชี้ให้เห็นมรดกเดิมของ สกสว. สมัยเป็น สกว.    ที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่คล่องตัว มีความไม่เป็นทางการสูง     เหมาะต่อการทำงานในสภาพของกระทรวงใหม่ คือ อว.    ที่ต้องการการทำงานแบบกล้า take risk    กล้าริเริ่มใหม่ๆ และสร้าง learning loop เพื่อการปรับตัวโดยเร็ว    โดยที่ สกสว. ต้องทำงานร่วมมือใกล้ชิดกับ สอวช. และ สป. อว.  

เราใช้เวลาประชุมเพียง ๒ ชั่วโมง   จากที่กำหนดไว้ ๓ ชั่วโมง     ก็ได้ข้อสรุปที่มีคุณค่ายิ่งต่อการทำงานของ สกสว.     ผมมีความสุขมาก ที่ได้ทำงานนี้ให้แก่ สกสว. ที่ผมรัก  ซึ่งหากทำตามแนวนี้ได้จริง จะก่อผลดีต่อบ้านเมืองที่ผมรัก ได้อย่างยิ่งยวด   

นอกจากนั้น ผมยังภูมิใจ ที่ได้ฝึกทำหน้าที่ประธานการประชุมที่ใช้เวลาอย่างกระชับ ได้สาระสำคัญ      ซึ่งขึ้นอยู่กับการเตรียมข้อมูลมาเสนออย่างดีของ รศ. ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รอง ผอ. สกสว.    และขึ้นกับความเป็นคนสมองไวของ ผู้อำนวยการ สกสว. ศ. นพ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ  และท่านรอง ผอ. ทุกท่านในที่ประชุม    

วิจารณ์ พานิช        

๒๒ พ.ย. ๖๒

               

หมายเลขบันทึก: 674575เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2020 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท