วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๘๖. โรงงานต้นแบบ


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕



ในการนำเสนอผลการวิจัยของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ ๒  เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๓    มีการนำเสนอเรื่อง Public-Private Partnership เพื่อส่งเสริมการพัฒนา Pilot Plant ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร    นำไปสู่การเสวนาในเรื่อง public – private partnership   และเรื่อง pilot plant    ว่าจะใช้พลังของ ๒ เรื่องนี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ transform อุตสาหกรรมไทยอย่างไร   

ผมนั่งฟังด้วยความรู้สึกว่า ผมได้เปิดกะโหลกอย่างแรง    ด้วยความรู้ว่า ประเทศไทยมีการลงทุนสร้าง (ซื้อ) โรงงานต้นแบบมาก   แต่ได้ผลน้อย   บางโรงงานราคาถึง ๓ พันล้านบาท เพิ่งตัดสินใจซื้อ    เป็นโรงงานด้าน bio-refinery  

ทีมวิจัยเสนอว่า เพื่อให้ผลงานวิจัยและพัฒนาออกจากหิ้งสู่ห้างได้ ก็ต้องมีการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการ สู่ระดับก่อนอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้โรงงานต้นแบบ   ทีมวิจัยต้องการเสนอ business model ของการจัดการโรงงานต้นแบบอย่างเหมาะสม ซึ่งต้องเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน    

เป้าหมายของโรงงานต้นแบบคือ เพื่อเป็นกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาควิชาการ    และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคอุตสาหกรรม    แต่บางโรงงานต้นแบบก็รับจ้างผลิต (OEM pilot plant) ได้ด้วย     

ทีมวิจัยศึกษาโรงงานต้นแบบด้านอาหารของไทย และของต่างประเทศ    โดยของไทยศึกษา ๑๖ โรงงาน    อยู่ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ๑๓    ในจำนวน ๑๓ โรงงานนี้ผลิตสินค้าออกขายถึง ๙ โรงงาน    โดยทำงานร่วมกับ OTOP, Startup, และ SME เป็นหลัก    ส่วนโรงงานต้นแบบอีก ๑ แห่ง อยู่ใน วว., สถาบันอาหาร, และ Food Innopolis  ร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ด้วย   

ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ SWOT ของโรงงานต้นแบบไว้อย่างน่าสนใจ   สรุปได้ว่าเวลานี้เลี้ยงตัวไม่ได้    แต่ก็ยังจัดการให้มีคุณค่าเพิ่มอีกได้  โดยต้องให้ความคล่องตัวมากขึ้น   

เขาศึกษาโรงงานต้นแบบด้านอาหารต่างประเทศมา ๓ แห่ง จากประเทศเนเธอร์แลนด์  เบลเยี่ยม  และนิวซีแลนด์ 

แล้วให้ข้อเสนอแนะแก่โรงงานต้นแบบที่มีอยู่แล้ว และที่จะตั้งใหม่    เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวได้    ผลงานนี้คุณภาพดีทีเดียว

วิจารณ์ พานิช        

๑๕ ส.ค. ๖๓ 


หมายเลขบันทึก: 681750เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2020 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2020 18:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท