วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๕. Engagement เป็น mindset และ platform


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ผมได้แนวคิดเขียนบันทึกนี้จากการเตรียมตัวประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓    โดยเฉพาะวาระเรื่อง โครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ดิจิทัล ที่ถือได้ว่า เป็นข้อเสนอที่เหมาะสมต่อกาละอย่างยิ่ง    โดยเสนอระเด็นด้านการประยุกต์ ๔ ด้านคือ (๑) พัฒนานัก data science   (๒) การท่องเที่ยวของภูมิภาคอันดามัน  (๓) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  (๔) การแพทย์และสาธารณสุข   

แต่เมื่ออ่านรายละเอียดวิธีดำเนินการ  และกระบวนการเตรียมข้อเสนอแล้ว ผมคิดว่า มอ. ยังขาดกระบวนทัศน์ด้านความเป็นมหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม    และสงสัยว่า ยังขาดภาวะผู้นำ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงชุดความคิดว่าด้วยการทำหน้าที่มหาวิทยาลัยในยุคประเทศไทย ๔.๐ นี้   

ผมเสนอที่ประชุมว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการจัดตั้งวิทยาลัยนี้    แต่คิดว่าหากดำเนินการตามร่างโครงการที่เสนอ มอ. จะขาดโอกาสใช้หน่วยงานใหม่ที่มีศักยภาพสูงในการเป็นหน่วยงานนำร่อง ที่ดำเนินการภายใต้ engagement mindset และ engagement platform    ไม่ใช่ดำเนินการตาม academic platform ตามที่เราคุ้นเคยกันมาหนึ่งร้อยปี   

กล่าวอย่างนี้ ไม่ได้หมายความว่า วิทยาลัยนี้จะหย่อนด้านวิชาการ    academic platform จะยังคงอยู่ และต้องพัฒนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป    แต่ต้องดำเนินการภายใต้ engagement platform ด้วย    โดยผมเสนอสัดส่วน 50:50    แต่ร่างข้อเสนอนี้เป็นเกือบจะ ๑๐๐ : ๐    

 engagement platform ของหน่วยงานวิชาการต้องเริ่มจาก engagement mindset  และ engagement behavior    ซึ่งดูได้จากข้อเสนอที่บอกว่า มีใครหรือหน่วยงานใดเป็น engagement partner บ้าง    และเขามีบทบาทอะไร    เขาลงทุนลงแรงอะไรบ้าง    และจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง     

ซึ่งที่จริง โครงการนี้มีมีติของ engagement แล้วหลายด้าน    คือ (๑) engage กับนโยบายของรัฐบาล  ทำให้กระทรวง อว. ให้งบประมาณปี ๒๕๖๔ มา ๙๔ ล้านบาท  (๒) engage กับ ธุรกิจท่องเที่ยวที่ภูเก็ต   (๓) engage กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด  และ (๔) engage กันเองภายในมหาวิทยาลัยเอง ที่ร่วมกันทำงานโดยทุกวิทยาเขต    ผมได้เสนอว่า ยังขาดมิติของ engagement ที่สำคัญที่สุด คือ industrial engagement    ที่เป็นอุตสาหกรรมให้บริการ data / information / communication platform    เพื่อใช้อุตสาหกรรมเป็นคู่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมลงทุน  และร่วมรับผล ในหลากหลายด้าน    ทั้งด้านการทำงานวิจัยและนวัตกรรม  และด้านการพัฒนานัก data scientist  

นอกจากหุ้นส่วนภาคอุตสาหกรรมแล้ว ควรหาหุ้นส่วนภาคชุมชนด้วย   

สิ่งที่มหาวิทยาลัยไทยขาดคือ engagement mindset & platform   ที่นำไปสู่การจัดระบบงานที่เอื้อต่อการทำงาน real sector engagement     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอื้อให้อาจารย์ได้คลุกคลีกับภาคประกอบการ (real sector)   ช่วยให้รู้เขารู้เรา เจรจาความร่วมมือกันได้    โดยที่ความร่วมมือนั้นต้องเป็นแบบหุ้นส่วนกัน    ไม่ใช่มหาวิทยาลัยไปช่วยเหลือเขา    แต่เป็นการร่วมคิด ร่วมลงทุนลงแรง  ร่วมทำ  และร่วมรับผล  

เมื่ออ่านเอกสารโครงการ ผมพอบอกได้ว่าผู้เขียนมี engagement mindset หรือไม่     

เพื่อความเข้มแข็งของอาจารย์และผู้บริหาร    มหาวิทยาลัยต้องมีกาละและเทศะเพื่อทำความคุ้นเคยกับภาคประกอบการ    เกิดเป็นคู่ร่วมมือที่แน่นแฟ้นและไว้วางใจต่อกัน     นี่คือมิติที่สำคัญยิ่งในการเป็นมหาวิทยาลัย ๔.๐    สำหรับกระทรวง อว. ยุคประเทศไทย ๔.๐

วิจารณ์ พานิช        

๑๗ พ.ค. ๖๓ 


หมายเลขบันทึก: 677897เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2020 18:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2020 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท