วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๖๕. คุยกันเรื่องความฝันและความสำเร็จ


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ยังอยู่ที่ การสัมมนา SiCOREs และหน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ประจำปี ๒๕๖๒  ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พัทยา ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ มกราคม ๒๕๖๓ นะครับ    การประชุมนี้ให้ข้อคิดในการทำงานจัดการความสร้างสรรค์อย่างดีเยี่ยม    สำหรับผม นี่คือที่ชุมนุมของปราชญ์แห่งแผ่นดิน  และเป็นที่ชุมนุมของคนดี  

 การประชุมนี้ มีการออกแบบกระบวนการอย่างดี    โดยตอนเตรียมการมีการระดมความคิดในการประชุมทีม CORE-M ที่มี นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และผมทำหน้าที่ที่ปรึกษาร่วมให้ความเห็นด้วย  

เริ่มด้วยการกระตุกความคิดของผู้เข้าร่วมประชุม ที่เป็นสมาชิกของ CORE (Center of Research Excellence) ของศิริราช    ด้วยการบรรยายสองเรื่องคือ การจัดการงานวิจัยในภาคอุตสาหกรรม บทเรียนต่อภาควิชาการ โดย น.สพ. รุจเวทย์ ทหารแกล้ว  ผู้บริหารงานวิจัยของบริษัทเบทาโกร    กับเรื่อง ลู่ทางแสวงหาทุนวิจัย โดย ศ. ดร. ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะทำงานเกี่ยวกับตำแหน่งวิชาการและความก้าวหน้าทางวิชาชีพของนักวิจัย และดำรงตำแหน่งอีกมากมายในปัจจุบัน เกี่ยวกับการ transform มหาวิทยาลัย    ตามด้วยการเสวนากับวิทยากรทั้งสอง  

ตอนบ่ายเป็นช่วงเวลาให้แต่ละ CORE เล่าเรื่องราวความสำเร็จของตน โดยมีการตกลงกันไว้ก่อนแล้วว่า ให้เล่าเรื่องอะไร    แต่ละเรื่องจึงมีพลังมาก   สนองและเพิ่มพลังความฝันของทีมแต่ละ CORE ที่จะทำงานวิจัยสู่นวัตกรรมเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง     

นี่คือการออกแบบการประชุมที่มุ่งใช้พลังบวก    ไม่เอาเรื่องปัญหามาขึ้นต้นให้เสียบรรยากาศ    ปัญหามีไว้แก้ ไม่ได้มีไว้บ่นหรือหมกมุ่น    สิ่งที่ต้องหมกมุ่นคือบรรยากาศ (เชิงบวก) และการสร้างสรรค์   

ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมได้เล่าแล้ว ในกรณีของ ศ. ดร. นพ. วิปร วิประกษิต ผมบอกที่ประชุมของผู้บริหาร ๔ คนว่า    “สินทรัพย์” พิเศษของศิริราชคือข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย ที่เรียกว่า clinical data    ที่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าทางปัญญา  ต่อยอดเป็นนวัตกรรม ซึ่งหมายความว่าเป็นผลงานที่กินได้ขายได้    โดยที่ศิริราชจับทางถูก ที่นำเอา “พลังการจัดการ” เข้ามาหนุนพลังปัญญาที่ศิริราชมีอย่างเหลือเฟือ    แต่ที่ผ่านมา มีการจัดการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า น้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย    ปล่อยให้เป็นการดำเนินการของปัจเจก   

การที่ท่านคณบดี ศ. ดร. นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา ริเริ่ม CORE-M (Center of Research Excellence Management Unit)   จึงเป็นนวัตกรรมของการจัดการงานวิจัย    ที่จะต้องจัดให้มี Double-Loop Learning Process    และการจัดประชุมรีทรีตครั้งนี้ เป็นกลไกของการเรียนรู้ร่วมกันอย่างหนึ่ง    และกระบวนการเรียนรู้ต้องกระตุ้นด้วยจิตวิทยาเชิงบวก    เริ่มจากความฝันและความสำเร็จในอดีต เอามาเป็นพลังขับเคลื่อนปัจจุบันและอนาคต  

ธรรมชาติของการทำงานริเริ่มสร้างสรรค์อย่างหนึ่งคือ มี resistance to change ก่อตัวขึ้นตามมา และหากจัดการไม่เป็น พลังต่อต้านจะทำลายกิจกรรมสร้างสรรค์สำเร็จ    นี่คือสัจธรรมของโลก    การจัดการนวัตกรรมทางวิชาการจึงต้องเอาใจใส่จัดการ power dynamics ภายในองค์กรด้วย    หรือกล่าวตรงๆ คือ จัดการแรงต้าน   

เมื่อแก่ตัวลง ผมมองแรงต้านเหล่านั้นเป็นของธรรมดา    แต่ท่านคณบดีประสิทธิ์เก่งกว่านั้น    ท่านมีหลักการ “จัดการการเปลี่ยนแปลง”   ที่จะต้องดำเนินการตาม ๘ ขั้นตอนของ Cotter    ท่านบอกว่าการจัดการของทีม CORE-M มาถึงขั้นตอนที่ ๖    ที่จะต้องทำให้เกิด short-term win    เพื่อให้คนที่ยังไม่ศรัทธาได้เข้ามาเห็นพ้อง    

ตกลงกันในการประชุมทีม CORE-M กับฝ่ายบริหารว่า    quick win ของ CORE-M คือการที่บาง CORE ได้รับทุนสนับสนุนจากระบบการจัดการทุนวิจัยของประเทศ  คือ PMU แห่งใดแห่งหนึ่ง     ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็น PMU B  หรือ PMU C  

มีการหารือกันเรื่องการจัดองค์กร (organization) ของหน่วย CORE-M     ที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำที่เข้มแข็งขึ้น  โดยเฉพาะคนที่มาทำหน้าที่ front office   คือ project analyst    รวมทั้งมีการเอ่ยถึง marketing officer   

นี่คือตัวอย่างของการพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมของคณะวิชาในมหาวิทยาลัย    ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการ re-invent มหาวิทยาลัย    ตามนโยบายของกระทรวง อว.              

วิจารณ์ พานิช        

๒๕ ม.ค. ๖๓ 

บนรถตู้เดินทางจากพัทยากลับบ้าน       

                      

หมายเลขบันทึก: 676176เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2020 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท