วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๖๔. เปลี่ยนมุมมองต่อความเป็นผู้ประกอบการ


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

สาระในการสัมมนา SiCOREs และหน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ ประจำปี ๒๕๖๒  ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พัทยา ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ มกราคม ๒๕๖๓ กระทบใจผมอย่างแรง ว่ามุมมองของตัวผมเองต่อความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur) ของอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ผมเริ่มเป็นอาจารย์เมื่อ ๕๒ ปีที่แล้ว กับในปัจจุบัน    แตกต่างกันราวขาวกับดำ

 เมื่อ ๕๒ ปีที่แล้วจนถึงราวๆ สองสามปีที่แล้ว เป็นเวลาครึ่งศตวรรษ ที่ผมคิดว่าในฐานะที่ผมต้องการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ดี ต้องทุ่มเททำงานวิชาการอย่างเต็มที่ ต้องไม่ใช้เวลาเพื่อหาเงินเป็นรายได้ส่วนตัว    ตอนนั้นศัพท์ “ความเป็นผู้ประกอบการ” (entrepreneur) ยังไม่เกิด    สำหรับผม อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นการใช้เวลาและสมองเพื่อการหาเงินเข้ากระเป๋าตนเอง ถือเป็นบาป    นี่เป็นอุดมคติเฉพาะตัวนะครับ  ผมไม่ได้เรียกร้องจากคนอื่น   

แต่ในปี ๒๕๖๒ เป็นต้นมา เกิดกระทรวง อว.  ที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นกระทรวงเศรษฐกิจ    ทำหน้าที่หัวรถจักรขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ประเทศรายได้สูงผ่านการพัฒนานวัตกรรม    เกิดกระแสพัฒนามหาวิทยาลัย อาจารย์ และนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ

วันที่ ๒๔ มกราคม เราได้ฟัง ศ. ดร. นพ. วิปร วิประกษิต เล่าเรื่องการตั้งบริษัท ATGenes ที่ทำหน้าที่นำผลงานวิจัยพื้นฐานสู่นวัตกรรมบริการด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ    ที่ทำมา ๖ ปี ในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ ๑๕๐ ล้านบาท    และมีแผนนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี ๒๕๖๕   โดย อ. หมอวิปรต้องระวังตัวตลอดเวลาว่าอาจมี COI (Conflict of Interest) ระหว่างการทำหน้าที่อาจารย์ กับการเป็นผู้ประกอบการ   

ในวงแยกคุยในกลุ่มผู้บริหาร ที่มีท่านคณบดี ศ. ดร. นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา    ท่านรองคณบดีฝ่ายวิจัย ศ. ดร. นพ. ประเสริฐ เอื้อวรากุล    นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์  และผม ผมออกความเห็นว่า ศิริราชควรกำหนดเวลา ๑๐ ปี (๒๕๖๓ - ๒๕๗๒) เป็น sandbox time   ที่อาจารย์ที่มีหัวด้านเป็นผู้ประกอบการสามารถทำความตกลงในการทำงานกับคณะ    ว่าจะใช้เวลาและความรู้ของตนอย่างไร สู่การประกอบการเชิงนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมให้แก่บ้านเมือง    มีการยกร่างกติกากว้างๆ ไว้     ให้อาจารย์แต่ละคนเสนอรายละเอียดของข้อตกลงเอง   

ผมมอง sandbox เป็นเครื่องมือสร้างโอกาสทำงานนวัตกรรม    และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ ... เพื่อ re-inventing university    เป็น sandbox for systems innovation   ไม่ใช่ sandbox เพื่อยกเว้นกฎระเบียบเดิม   

เป็น sandbox หาช่องทางสร้างกติกาใหม่ ให้คนเก่ง (และดี) ยุคศตวรรษที่ ๒๑ ได้มีโอกาสทำประโยชน์ต่อสังคม ผ่านวิญญาณและทักษะการเป็นผู้ประกอบการของตน    ผมอยากให้ กอวช. ของกระทรวง อว. ออกข้อบังคับเปิด sandbox ระดับประเทศ ให้แต่ละมหาวิทยาลัยดำเนินการ entrepreneur sandbox ได้ในระยะเวลา ๑๐ ปี    โดยจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ทุกปี ว่านวัตกรรมเชิงนโยบายและผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร 

ผมแนะนำท่านคณบดีว่า    ในเอกสารโครงการวิจัยของบประมาณของแต่ละ SiCORE น่าจะแจ้งความต้องการปลดล็อกกฎระเบียบอะไรบ้าง    เพื่อทางคณะจะได้รวบรวมนำเสนอต่อมหาวิทยาลัย และต่อ สอวช.    เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่คณะกรรมการยกร่างกฎระเบียบใหม่แก่งานวิจัยและนวัตกรรม   

วิจารณ์ พานิช        

๒๕ ม.ค. ๖๓ 

ห้อง ๑๒๐๕  โรงแรมพุลแมน  พัทยา      

              

หมายเลขบันทึก: 676039เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2020 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท