หลักสังคหวัตถุ ๔: กระบวนการให้บริการสาธารณะขององค์กรภาครัฐ


     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้วางเกณฑ์สำหรับใช้ในการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีสาระสำคัญเป็นการกระจายอำนาจเพื่อให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและมีอิสระในการดำเนินงาน หลักสำคัญในการกระจายอำนาจ คือ มาตรา ๗๘  ซึ่งปรากฏอยู่ในหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐโดยมีใจความสำคัญ คือ รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ การจัดทําบริการสาธารณะทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น... และเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างยั่งยืนผู้เขียนเห็นว่าในทางพระพุทธศาสนามีหลักสังคหวัตถุ ๔ สามารถมาปรับประยุกต์ใช้กับการให้บริการสาธารณะขององค์กรภาครัฐได้อย่างเหมาะสม....
     ๑. ทาน จะต้องทุ่มเทพลังกายพลังใจ และสติปัญญา โดยยึดหลักความต้องการของประชาชนมาเป็นที่ตั้งในการพัฒนา จัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลเรื่องของระบบสาธารณูปโภค และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอแก้ไขปัญหาต่างๆ
     ๒. ปิยวาจา ควรให้คำแนะนำ การให้ข้อมูลข่าวสาร การพูดจาที่ไพเราะ ชี้แจงแนะนำ อธิบายเรื่องต่างให้กับประชาชนให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุดใน เป็นความจริงของเจ้าพนักงาน และเกิดความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
     ๓. อัตจริยา ควรมีความเต็มใจ ไม่นิ่งดูดายเมื่อประชาชนต้องการความช่วยเหลือ หางบประมาณจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนการดำเนินโครงการกิจกรรมต่าง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งต้องอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
     ๔. สมานัตตตา ควรอุทิตตนเองในการให้บริการสาธารณะหรือการทำงานอย่างสม่ำเสมอ วางตนเป็นผู้มีเหตุมีผลมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้บริการต่อประชาชนอย่างเสมอภาค ทันเวลา เพียงพอ ต่อเนื่อง และก้าวหน้า อันจะนำไปสู่ผลสำเร็จที่เป็นเลิศในการให้บริการสาธารณะ
ฉะนั้น ผู้เขียนเห็นว่าควรนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาใช้ในการให้บริการสาธารณะต่อประชาชน และวางตนเป็นผู้มีเหตุมีผล
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ให้บริการต่อประชาชนอย่างเสมอภาค ทันเวลา เพียงพอ ต่อเนื่อง และก้าวหน้า อันจะนำไปสู่ผลสำเร็จที่เป็นเลิศในการให้บริการสาธารณะ ...

หมายเลขบันทึก: 676036เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2020 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2020 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท