วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๖๒. แนวทางจัดลำดับความสำคัญ หรือประเด็นยุทธศาสตร์ (priority setting) ของการวิจัยและนวัตกรรม ระดับประเทศ


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓  เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๓ มีวาระเรื่อง “แนวทางการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและนวัตกรรม  และบทบาทของหน่วยงานด้านนโยบายยุทธศาสตร์ แผน และงบประมาณ”    อยู่ในเรื่องเพื่อเสวนา ทำให้ผมได้ความรู้มาก    เพราะฝ่ายเลขาเตรียมค้นคว้ามานำเสนออย่างดีเยี่ยม หากหน่วยงานในระบบ อววน. ทำงานแบบ สอวช.   ระบบ อววน. ของประเทศก้าวหน้าอย่างแน่นอน 

Priority setting เป็นขั้นตอนที่สอง ของวงจรการดำเนินการระบบจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนกิจกรรม ววน.    ถัดจากขั้นตอนแรกคือ national agenda setting   ตามด้วยขั้นตอนที่ ๓ และ ๔  คือ budget allocation, funding, และ monitoring & evaluation เป็นขั้นตอนที่ ๕ (สุดท้าย) แต่มีวงจรป้อนกลับระหว่างทุกขั้นตอน     

เรื่อง national agenda setting ในเรื่อง อววน. ชัดเจนไปนานครึ่งปีแล้ว ว่าประกอบด้วย  (๑) การพัฒนากำลงคนและสถาบันความรู้  (๒) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม  (๓)  การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  (๔) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ  (๕) การปฏิรูประบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   

  ทีมงานของ สอวช. ใช้โมเดลการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อการจัดสรรทรัพยากรตามแนวที่เสนอโดย Kay Harman ลงในวารสาร Prometheus Vol 18, No. 4, 2000    ซึ่งเสนอว่า มี ๓ โมเดล  คือ A, B, C   กล่าวง่ายๆ ว่า โมเดล A เน้นแข่งกันโดย peer review    โมเดล C เน้นมีหน่วยงานกลางจัดสรรงบประมาณตามนโยบาย    ส่วนโมเดล B เป็นลูกผสม    แบ่งออกเป็น B1, B2, B3   เรียงจากให้น้ำหนัก peer review มากไปหาน้อย    ทีมงานเสนอให้ใช้โมเดล B3    คือใช้ peer review ร่วมกับการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ทำอย่างเป็นวิชาการ เช่นใช้ foresight   

เขาศึกษาประเทศตัวอย่าง ๗ ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา   ญี่ปุ่น  เกาหลี  สหราชอาณาจักร  สิงคโปร์   เยอรมนี  และออสเตรเลีย    ทุกประเทศยกเว้นสหรัฐอเมริกา มีองค์กรกลางรับผิดชอบการทำ priority setting ของ ววน. ทั้งสิ้น    และมีเทคนิคการทำ priority setting ที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ    วิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน ใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ Horizontal Scanning, Delphi Survey, Scenario Planning, Tipping Point Analysis  

ปัจจัยที่ใช้กำหนด priority ของการวิจัยและนวัตกรรมได้แก่  แผนชาติ  เป้าหมายของเศรษฐกิจและสังคมที่ยังไม่บรรลุ   ทุนการเงินที่มี    ศักยภาพทางวิทยาศาสตร์   และขีดความสามารถของผู้ดำเนินการวิจัยและนวัตกรรม    โดยที่การดำเนินการต้องอิงข้อมูลหลักฐาน  ดำเนินการแบบมีส่วนร่วม  และดำเนินการโดยคิดฉากสถานการณ์  

    ทีมงานยกตัวอย่างอุตสาหกรรมอาหาร ที่ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีความเข้มแข็ง    ทีมงานมีรายละเอียดมากมาย   นำมายกตัวอย่างวิธีทำ priority setting   แจกแจงเป็น ๓ แบบ คือ (๑) product priority เช่น เนื้อไก่  (๒) cross-cutting priority area  เช่น smart packaging  (๓) priority area for future issues  เช่น sustainability standards   

มีการยกตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลลงรายละเอียดมากมาย    เช่นการวิเคราะห์ value chain ของผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ ทั้งต้นน้ำ  กลางน้ำ  และปลายน้ำ   

ตามด้วย capability analysis ของนักวิจัยและนัตกรรมไทย    ที่มีผู้ท้วงว่า ขาดข้อมูลจากฝั่งผู้ประกอบการ ที่มีศักยภาพสูงมาก   

คำถามสำคัญของทีม สอวช. คือหน่วยงานร่วมรับผิดชอบในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์     คำตอบจากที่ประชุมคือ อย่างน้อยต้องมี ๔ หน่วยงานหลักคือ สภาพัฒน์, สำนักงบประมาณ, ธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง    ร่วมกับ  formal และ informal sector ที่หลากหลายครบถ้วน    ทำให้ผมนึกถึง “สมัชชายุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ”    เลียนแบบสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ   

หน่วยงานรับผิดชอบคือ สกสว. ร่วมกับ สอวช.    โดยต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์หลายมิติ     และภาคเอกชนควรมีบทบาทนำ     แต่ก็ต้องคำนึงถึงมิติด้านพื้นที่  ด้านสังคมวัฒนธรรม รวมทั้งด้านความเท่าเทียมด้วย     คือต้องสมดุลทั้ง market-led   และ public-led (คำของ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร)     และต้องมองทั้งปัจจุบัน และอนาคต   

ผมมีความเห็นว่า วิจัยและนวัตกรรมต้องสนองทุกภาคส่วนของสังคมไทย    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างงานในพื้นที่นอกเมืองหลวงและเมืองใหญ่    ซึ่งมหาวิทยาลัยน่าจะเข้าไปเป็นพลังสำคัญ    

ระบบข้อมูลต้องมีคุณภาพ (แม่นยำ) และครบถ้วน     รวมทั้งต้องพัฒนาศักยภาพของการวิจัยเชิงระบบ ที่มีหน่วยวิจัยของแต่ละระบบ    ดังตัวอย่างระบบสาธารณสุข ที่มีทั้ง สวรส., IHPP, HITAP และอื่นๆ     ต้องส่งเสริมการพัฒนานักวิจัยเชิงระบบ    เพื่อทำงาน “ขาขึ้น” ให้แก่ การกำหนดยุทธศาสตร์ วน.      

วิจารณ์ พานิช        

๑๒ ม.ค. ๖๓   และ ๒๐ ม.ค. ๖๓   

         

หมายเลขบันทึก: 675801เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2020 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท