วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๒. ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑




ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา พัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ มีวาระ ข้อเสนอมาตรการสนับสนุนทุนให้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพื่อการวิจัยและนวัตกรรม เข้าสู่การประชุม   

นี่คือเรื่องใหญ่ เพื่อการขับเคลื่อนสู่ ประเทศไทย ๔.๐    ที่หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง   

เป็นเรื่องที่จะต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคนในระบบราชการ (โดยเฉพาะสำนักงบประมาณ) ว่าราชการเอาเงินไปสนับสนุนภาคเอกชนแบบให้เปล่า (grant) ได้    ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ    โดยมีเป้าหมายว่า เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า    ผลตอบแทนต่อส่วนรวมคือ เพิ่มการจ้างงาน  ได้ภาษีจากธุรกิจ  ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  และเกิดผลดีต่อสังคมในลักษณะของการเพิ่มความเท่าเทียมกันในสังคม  ทำให้คนเล็กคนน้อยอยู่ดีกินดียิ่งขึ้น

มาตรการที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ เป็นไปตาม พรบ. การส่งเสริม ววน. มาตรา ๒๘    โดยที่ฝ่ายเลขาฯ เสนอให้มีการให้ทุนแบบให้เปล่าแก่ SME เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการวิจัยและนวัตกรรมตามหัวข้อที่มีการกำหนดว่าเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาให้ได้   หัวข้อนั้นมาจากการปรึกษาหารือกันนำโดยภาครัฐ    จนได้เป็นโจทย์ของประเทศ แต่มอบให้ SME ทำ

ผมชอบมากที่ฝ่ายเลขาฯ เสนอกลไกการจัดการแบบให้มีทีมดำเนินการหลายทีมทำงานแข่งกัน    มีการคัดออกตามขั้นตอนของการพัฒนา    ได้แก่ขั้น feasibility study/concept development, prototype development, pilot study, และ commercialization      

ประเด็นที่นำมาปรึกษาหารือกันคือ ทุนให้เปล่าจากภาครัฐดังกล่าว ควรให้ในสัดส่วนมากน้อยแค่ไหน    เมื่อเทียบกับทุนที่ต้องการใช้ทั้งหมด    ข้อสรุปที่ได้คือ SME หรือ SME Consortium ที่ยื่นเสนอขอทุนควรมีส่วนลงทุนบ้าง    และกลไกของภาครัฐน่าจะหาทางช่วยเหลือให้ทีม SME ไปชักชวน venture capital มาร่วมลงทุน    เพราะกิจกรรมที่กำลังสนับสนุนให้เกิดนี้ เป็นการลงทุน เพื่อพัฒนานวัตกรรมออกสู่ตลาด    ด้วยความหวังว่าหากพัฒนาสำเร็จ จะได้ผลกำไรกลับคืนมาหลายเท่าของเงินลงทุน    โดยภาครัฐไม่ขอส่วนแบ่งกำไรนั้นเลย

ทีมเลขาฯ ยกร่างวิธีดำเนินการลงรายละเอียดมาก    ด้านการกำหนดโจทย์มีคณะกรรมการกำหนดโจทย์  มีขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น   เมื่อได้โจทย์นวัตกรรมมีการกำหนดผลลัพธ์และผลกระทบที่ชัดเจน  กำหนดระยะเวลาในการทำงาน  และงบประมาณทั้งหมดที่ต้องใช้    แล้วประกาศให้ทีม SME แข่งขันกันเสนอโครงการ  

จริงๆ แล้ว ระบบส่งเสริม SME ต้องทำอย่างเป็นระบบ (มากกว่าการให้ทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม) ซึ่งส่วนหนึ่ง สสว. และ NIA ทำอยู่แล้ว    ส่วนที่สำคัญคือการพัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ   

ผมเสนอต่อที่ประชุมว่า ผลลัพธ์จากโครงการนี้น่าจะมี ๒ ด้าน   คือ (๑) ผลสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม  (๒) การเรียนรู้จากกิจกรรม ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ    ดังนั้นการจัดการทุนจึงต้องจัดการการเรียนรู้ด้วย   

มีการอภิปรายว่า การดำเนินการจะพบข้อท้าทายที่หน่วยงานภาครัฐชอบซื้อของจากต่างประเทศ มากกว่าสนับสนุนให้ผลิตเองในประเทศ    จะเห็นว่าการพัฒนาประเทศในทุกด้านถูกบั่นทอนโดยขบวนการคอร์รัปชั่นอยู่เสมอ   

วิจารณ์ พานิช        

๒๔ เม.ย. ๖๓ 

หมายเลขบันทึก: 677608เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2020 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2020 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท