วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๖๗. การจัดระบบหน่วยงานจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรม


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖








ยังอยู่ที่การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาระบบ ววน. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ ที่ สวอช. วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นะครับ อีกวาระหนึ่งเป็นเรื่อง แนวทางการกำหนดบทบาทของหน่วยบริหารและจัดการทุนของประเทศ     ที่ทีมคณะเลขานุการกิจทำการบ้านมาอย่างดีเช่นเคย    เอามาเป็นประเด็นเสวนา โดยมีโจทย์ ๒ ข้อจากทีมคณะเลขานุการกิจ (secretariat) คือ

  1. 1. บทบาทหน้าที่ของ PMU ที่ควรจะเป็นในอนาคต
  2. 2. แนวทางการดำเนินงานของ PMU ในอนาคต และการปรับระบบ PMU

ซึ่งเอาเข้าจริงประเด็นหลักคือ ปรึกษาเรื่องการตั้งหน่วยงานชื่อ สบว. (สำนักงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม) เป็นองค์การมหาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง    สำหรับเป็น single point of contact กับกลไกทางการเมืองและทางราชการ ให้แก่ PMU ที่มีในขณะนี้ (วช., สวรส., สวก., NIA, บพท., บพค., และ บพข.)    ช่วยประสานงานลดความซ้ำซ้อน และยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน    รวมทั้งเป็นร่มนิติบุคคลให้แก่ สาม PMU ที่ตั้งขึ้นใหม่ (บพท., บพค., บพข.) ที่เวลานี้อาศัยร่มของ สอวช.

ข้อเสนอนี้เลียนมาจากระบบของสหราชอาณาจักร ที่มีการปฏิรูปจากเดิม ๙ Research Council ทำงานแยกกัน    มีการตั้ง UKRI (UK Research Institute) ขึ้นมาทำงานธุรการให้แก่ทั้ง ๙ RC เพื่อประหยัดค่าจัดการ    และเพื่อประสานงานระหว่าง RC   และมี UKRI Board ทำหน้าที่กำกับ RC ทั้ง ๙     

ทีมคณะเลขานุการกิจชี้ว่า โครงสร้างที่เสนอนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย    ข้อดีได้กล่าวไปแล้ว    ข้อพึงระวังคือ กลายเป็นเพิ่มขั้นตอนการทำงาน ทำให้ล่าช้า และขาดความคล่องตัว   

โดยสรุป ที่ประชุมแนะนำว่า    ให้จัดตั้ง สบว. เป็นการชั่วคราวหรือทดลองก่อน    อยู่ภายใต้ สอวช.   ให้ทำหน้าที่ coordinate, facilitate,  กำหนดยุทธศาสตร์,  และจัดการ learning loop ของระบบจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมทั้งหมดของประเทศ    ซึ่งรวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศรวมของประเทศด้านงานวิจัยและนวัตกรรม    รวมทั้งการดำเนินการประเมินความคุ้มค่าของการใช้ทุนวิจัยและนวัตกรรมภาครัฐ     

โดย สบว. ต้องทำงานร่วมมือใกล้ชิดกับ สกสว. และ สอวช.    และต้องไม่ทำงานแบบควบคุมและสั่งการ (command)   ต้องทำงานแบบ coordinate   

มีการแนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากแคนาดาและอิสราเอล ขอผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำปรึกษาการ transform หน่วยงานในระบบวิจัย     

ผมขอเพิ่มเติมว่า นอกจากเรื่องโครงสร้างของระบบองค์กรแล้ว    เรื่องสำคัญคือวัฒนธรรมการจัดการ (management culture) ที่ขึ้นอยู่กับกระบวนทัศน์ในการจัดการ    ซึ่งแยกออกได้เป็นกระบวนทัศน์ควบคุมสั่งการ ขั้วหนึ่ง    กับกระบวนทัศน์เชื่อมโยงประสานงานสร้างพลัง synergy ของส่วนต่างๆ ภายในระบบ    ของ สบว.   

ในส่วน PMU ในฐานะหน่วยจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม    ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่เน้นใช้พลังการจัดการทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ    เพื่อหนุนให้สถาบันวิจัยและนักวิจัย ผลิตผลงานที่มีคุณภาพและคุณค่าสูง คุ้มค่าการลงทุน    และยกระดับสมรรถนะของระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ย้ำว่า PMU ต้องทำงานแบบเน้น empower นักวิจัยให้สร้างผลงานคุณภาพสูง    ไม่ใช่ทำงานแบบเน้นควบคุมสั่งการ      

ผมมีความเห็นว่า การจัดการงานวิจัยในปัจจุบันต้องไม่เหมือนสมัยผมเริ่มวางรากฐานการจัดการงานวิจัยที่ สกว. เมื่อ ๒๗ ปีที่แล้ว    สมัยนี้ต้องเน้นจัดการนวัตกรรม    หน่วยจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมต้องจัดการ engagement ระหว่างฝ่ายประกอบการกับฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นเป้าหมายภาพใหญ่             

วิจารณ์ พานิช        

๑๔ ก.พ. ๖๓ 

 วันแห่งความรัก

หมายเลขบันทึก: 676673เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2020 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท