วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๖๖. ความร่วมมือลงทุนภาครัฐ-ภาคเอกชน เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาระบบ ววน. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ ที่ สวอช.    มีวาระเรื่อง การร่วมลงทุนของรัฐเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนัวัตกรรมไปใช้ประโยชน์    ที่ทีมคณะเลขานุการกิจทำการบ้านมาอย่างดีเช่นเคย    เอามาเป็นประเด็นเสวนา โดยมีโจทย์ ๒ ข้อคือ

  1. 1. หลักการและแนวทางร่างระเบียบ  การร่วมลงทุนโครงการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
  2. 2. ข้อเสนอแนะการส่งเสริมให้เกิดการร่วมลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์  

ที่ประชุมแนะนำให้ไปศึกษากรณีที่หน่วยงานภาครัฐตั้งบริษัท โดยร่วมทุนกับภาคเอกชนบ้าง ทำเองบ้าง    เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่ตลาด    ที่ล้มเหลวก็มาก  ที่ประสบความสำเร็จดียิ่งก็มี    (แต่ยังมีไม่มากพอ)   ขอให้ไปศึกษาลงรายละเอียด

 ทีมคณะเลขานุการกิจ ศึกษามา ๔ หน่วยงาน คือ สวทช., จุฬาฯ, มจธ., และ มทส. ต่างก็ใช้วิธีตั้ง holding company หรือจะตั้ง ทั้งสิ้น    เพื่อแยกความรับผิดชอบในการร่วมลงทุนกับเอกชนออกไป   ไม่ต้องตกอยู่ใต้กรอบราชการ    โดยเฉพาะพรบ. ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน    และระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง   

ประเด็นจึงไปอยู่ที่เมื่อตั้งบริษัทขึ้นมาแล้ว บริหารดีหรือไม่    มีกลไกกำกับดูแลเข้มแข็งหรือไม่    เพื่อให้กิจการประสบความสำเร็จ     

แต่ก็มีคำแนะนำให้ร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แก้ไข พรบ. ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน

ประเด็นหลักของการเสวนามี ๒ ประเด็นที่พาดพิงหรือเชื่อมโยงกัน    คือการนำผลการวิจัยหรือนวัตกรรมของภาครัฐ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย) สู่ธุรกิจ    กับการร่วมทุนกับภาคธุรกิจเอกชน    ซึ่งข้อสรุปสำคัญที่สุดคือ ให้ทำเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกออกไปต่างหาก ที่เป็นองค์กรไม่แสวงกำไร    เพื่อจะได้ไม่ติดขัดที่กฎระเบียบราชการ    แต่ก็ต้องดำเนินการเป็น  มีการจัดการที่ดี  มีระบบกำกับดูแลที่เข้มแข็ง    

ภาษาวิชาการของเรื่องที่เสวนากันคือ Technology Licensing    ที่มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยไทยพยายามดำเนินการมานับยี่สิบปี    แต่ได้ผลน้อย    ผมเองมองว่า ยุคใหม่นี้อาจต้องก้าวข้าม technology licensing   สู่ innovation management    คือแทนที่นักวิจัยจะคิดโจทย์วิจัยเอง    ต้องกระโดดไปรับโจทย์นวัตกรรมจากภาคประกอบการ    โดยเจ้าของโจทย์ต้องลงทุนลงแรงด้วย    โจทย์ของผู้ประกอบการจะคิดมาเรียบร้อยว่า หากมีผลงานนวัตกรรมจะหาทาง scale up การผลิตระดับอุตสาหกรรมอย่างไร  ตลาดอยู่ที่ไหน   

สมัยนี้มัวงุ่มง่ามทำวิจัย หรือพัฒนาเทคโนโลยี  แล้วหาทางขายให้ผู้ประกอบการมันช้าเกินไป    ไม่ทันการแข่งขัน  ในยุค economy of speed        

ประเด็นสำคัญที่เอ่ยกันในที่ประชุมคือ เป้าหมายแท้จริง หรือคุณค่าของกิจกรรมเอาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์สำหรับประเทศไทยยุคนี้คืออะไร    วัดความสำเร็จที่ไหน    มีการพูดกันว่า ไม่ใช่แค่วัดที่เงินที่ได้    ต้องวัดที่ผลการสร้างขีดความสามารถ (capacity building)     ของการทำวิจัยสู่นวัตกรรมที่กินได้ ใช้ประโยชน์ได้ ขายได้    

ที่น่าสนใจคือข้อแลกเปลี่ยนจากมุมของภาคธุรกิจเอกชน คือ ดร. รุจเวทย์ ทหารแกล้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย แห่งบริษัทเบทาโกร    ที่บอกว่า จากมุมของบริษัท เมื่อจะร่วมทุนทำวิจัยและนวัตกรรมกับภาครัฐจะมีเกณฑ์ ๒ ด้านใหญ่ๆ ที่แตกข้อย่อยออกไปอีกคือ

  1. 1. ข้อระมัดระวัง ๓ ด้านคือ  (๑) การเงิน  (๒) กฎหมาย  (๓) การดำเนินการ
  2. 2. การศึกษาความเป็นไปได้ ๓ ด้านคือ  (๑) เทคโนโลยี  (๒) การเงิน  (๓) ตลาด

ใน ๖ ประเด็นนี้ ข้อสำคัญที่สุดคือ กฎหมาย เอื้อให้ทำ    รองลงมาคือความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี    

ประสบการณ์ตรงของ ดร. รุจเวทย์ คือ เคยพบกรณีหน่วยร่วมทุนของทางมหาวิทยาลัยต้องการร่วมมือ มีข้อตกลงร่วมมือ   แต่เมื่อส่งให้ทางคณะดำเนินการ คณะไม่อยากทำ    เพราะเป็นภาระ   

นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ให้ข้อติงว่า    การร่างข้อบังคับหรือระเบียบเดียว บังคับใช้ในทุกกรณีจะรัดรึงเกินไปไหม   ทำให้ขาดความยืดหยุ่นไหม     

วิจารณ์ พานิช        

๑๓ ก.พ. ๖๓ 

      

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 676401เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2020 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท