วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๐. TTMU – Think Tank Management Unit ของการอุดมศึกษา และด้าน ววน.


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙




อีกวาระหนึ่งของการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓  เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓ คือ  วาระเพื่อเสวนา เรื่อง การพัฒนาระบบ Think Tank ของการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (TTMU – Think Tank Management Unit)    ซึ่งเป็นการประชุมทางไกล

เนื่องจากเป็นการประชุมทางไกล ตาม พระราชกำหนด ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓    จึงต้องมีการขานชื่อกันก่อน   พรก. นี้ช่วยให้การประชุมทางไกลสะดวกขึ้นมาก  ไม่ต้องมีองค์ประชุมหนึ่งในสามในห้องประชุมใหญ่แล้ว

 วาระนี้เป็นการเสนอกลไกจัดการ think tank ของ อววน.   ที่เรียกว่า TTMU (Think Tank Management Unit) ในลักษณะที่เป็นคณะ commission ทำงานเต็มเวลา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำที่เป็น policy analyst    เป็นตัวกลาง ประสานกับ “ผู้รู้” ด้านต่างๆ มาช่วยกันถกเถียงให้ความเห็น    แล้วนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ส่งต่อให้คณะกรรมการชุดต่างๆ ด้าน อุดมศึกษา และด้าน ววน.     

มองมุมหนึ่ง  นี่คือหน่วย “จัดการความรู้” นั่นเอง    หรือกล่าวใหม่ว่า เป็นหน่วยที่ทำให้ระบบ อววน. ของประเทศ เป็นระบบที่ knowledge-based     และผมมองว่า    “ความรู้” ที่ได้ส่วนหนึ่งอยู่ในรูปของ “ความไม่รู้” หรือคำถาม    ซึ่งจะส่งต่อให้แก่ทีมวิจัยนโยบาย หรือวิจัยระบบต่อไป        

เป็นหน่วยประสานงานเพื่อทำกิจกรรมขาขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ หาความหมาย    สร้างเป็นโจทย์นโยบาย  และโจทย์วิจัยทำความเข้าใจเพิ่มเติม    รวมทั้งเพื่อการสื่อสารสาธารณะ เพื่อทำให้โจทย์ อววน. เหล่านั้นเป็นของคนไทย สังคมไทย    ไม่ใช่เป็นเพียงโจทย์ของคนในวงการ อววน. เท่านั้น   

เป็นกลไกทำให้ระบบ อววน. “ติดดิน” หรือยึดโยงอยู่กับสังคมวงกว้าง    ทำให้คนทั่วไปตระหนักว่า ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของเขา และของลูกหลานในอนาคต ขึ้นกับการลงทุนด้าน อววน. ของประเทศ    และระบบ อววน. ทำงานสร้างผลงานได้ตามความคาดหวัง   

TMMU จึงทำหน้าที่ coordinator เชื่อมโยง demand side  กับ supply side เข้าด้วยกัน    และยังเชื่อมโยง sector ต่างๆ ของประเทศเข้ากับ sector ด้าน อววน.    นั่นคือเชื่อมโยงกับทุกกระทรวง  ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม   ภาคประชาสังคม   และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ    

ที่สำคัญ information ที่ได้ จะนำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญ ของการใช้ทรัพยากรด้าน อววน. เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบ้านเมือง    โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ที่ได้จากการมองระยะยาว มองอย่างมียุทธศาสตร์                     

วิจารณ์ พานิช        

๒๔ เม.ย. ๖๓ 


หมายเลขบันทึก: 677484เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2020 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2020 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท