วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๔. การติดตามและประเมินผล ระบบ อววน.


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓




ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาพัฒนาระบบ ววน. ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ มีวาระเพื่อเสวนาเรื่อง การติดตามและประเมินผลระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   ที่นำเสนอโดยทีมงานของ โครงการจัดทำแนวทางการติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบ อววน. ของประเทศ  และข้อเสนอการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตามและประเมินผลการพัฒนา  ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สอวช. และ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI)  มจธ.   การนำเสนอจึงมีรายละเอียดจากการค้นคว้าตัวอย่างในต่างประเทศมากมาย    ฟังแล้วผมได้ความรู้มาก

ที่ประชุมกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ให้เน้นประเมินเพื่อพัฒนา จึงต้องมีระบบข้อมูลเอามาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นสารสนเทศป้อนกลับ (feedback) เพื่อการปรับตัวหรือพัฒนา     ซึ่งก็หมายความว่าต้องนำเสนอ สภา อววน.  และ ครม.   และจัดการการเปลี่ยนแปลงผ่านสภาพัฒน์ฯ และสำนักงบประมาณ   

รศ. ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้แทน สกสว. แจ้งว่า ในส่วนกองทุน ววน. ก็กำลังพัฒนากลไกการติดตามและประเมินผลเช่นเดียวกัน    และจะนำมาเสนอในที่ประชุมคราวหน้า    ซึ่งก็หมายความว่า ที่กำลังเสวนากันในวันที่ ๒๑ เมษายน เป็นเรื่องของการประเมินระบบภาพใหญ่ของประเทศ    และผมมองว่า สิ่งที่ต้องประเมินอย่างจริงจังคือความร่วมมือประสานงาน (coordination) ระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบ     ซึ่งรู้กันดีว่า เป็นจุดท้าทายของระบบราชการไทย    มองในเชิงกฎหมาย เป็นไปตามมาตราที่ ๑๙ ของ พรบ. สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒   

ที่จริงผมคิดว่า ต้องประเมินหา synergy ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบด้วยซ้ำ    ไม่ใช่แค่มองหา coordination   โดยในที่ประชุมมีคนใช้คำว่า ประเมิน consistency หรือ alignment ระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบ    รวมทั้งมีคนเสนอว่า ต้องโฟกัสประเด็นที่จะประเมิน ไม่ประเมินเปรอะไปหมด    ประเมินค้นหา contributing factors ที่นำไปสู่ความสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ)    ไม่ใช่ประเมินตื้นๆ ว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ        

มีข้อเสนอว่า กลไกติดตามและประเมินผลที่จะเสนอนี้  ต้องมีกลไกการนำผลการประเมินไปพัฒนาระบบด้วย    รวมทั้งต้องมีกลไกพัฒนานักประเมินอาชีพด้วย        

นอกจากประเมินภาพใหญ่ทั้งระบบ อววน. แล้ว    ยังมีข้อแนะนำให้ประเมินลงราย sector ด้วย    และในทางปฏิบัติข้อมูลจะไหลมาจากสองทาง คือ ทาง อ. (อุดมศึกษา)  กับทาง ววน.    ซึ่งหมายความว่าต้องมีระบบข้อมูลที่ดี

ที่จริงทีมวิจัยได้คิดระบบประเมินไว้ ๔ ระบบ คือ  (๑) ติดตามประเมินผลตามนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. (Goal Achievement) ซึ่งจะใช้ OKR  (๒) ติดตามความก้าวหน้าและขีดความสามารถของระบบ อววน. (Development) โดยเสนอทำ composite index  (๓) ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของ อววน.  (๔) ติดตามประเมินผลเชิงลึก ด้วยการวิจัยเชิงประเมินผล    ซึ่งสำหรับผม เป็นข้อเสนอที่ดีมาก

ทีมวิจัยบอกว่า การนำเสนอวันนี้ต้องการเน้นที่ข้อ (๒) เท่านั้น    คือเน้นประเมินระดับการพัฒนาของระบบ อววน. (systems development)    แต่จะเห็นว่า คณะกรรมการให้ความเห็นในภาพใหญ่คลุมทั้ง ๔ ข้อ    และให้ความเห็นเชิงข้อระมัดระวังว่า การใช้ composite index อาจมีข้อจำกัด    น่าจะต้องเสริมด้วยข้อมูลและคำอธิบายเชิงคุณภาพด้วย   

ทีมวิจัยระบุชัด ว่าการประเมินตามข้อ (๒) ที่เสนอ  เน้น DE (Developmental Evaluation)  ไม่ใช่ประเมินเพื่อการตัดสินคุณค่า (Value Judgement)    และต้องการประเมินเพื่อเทียบระดับการพัฒนาตามมาตรฐานสากล    ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้เราเข้าใจ positioning ของระบบ อววน. ของเรา     แต่ผมก็อดคิดแย้งไม่ได้ว่า ประเด็นเปรียบเทียบตรงๆ ไม่สำคัญเท่ากับการวิเคราะห์เชิงลึก ว่าระบบของเราพัฒนาไปเหมาะสมต่อบริบทการพัฒนาภาพใหญ่  หรือบริบทยุทธศาสตร์ชาติ หรือไม่    คือ comparative approach   ไม่สำคัญเท่า strategic approach   

แต่ข้อกังวลของผมก็คลายไป เมื่อเห็นว่า ทีมวิจัยเสนอกำหนด framework ในการทำ composite index ตามบริบทไทย    ไม่ได้ใช้สูตรสำเร็จของระบบสากล   

ทีมวิจัยนำเสนอวิธีคิด composite index ด้าน ววน. ของ ๔ ประเทศ และ ๒ กลุ่ม คือ เกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา  อียู  และ โออีซีดี    ซึ่งต่างก็มี index ของตน    จึงเห็นได้ว่า ดัชนีที่กำลังระดมความคิดกันอยู่นี้ จะใช้เปรียบเทียบความก้าวหน้าของระบบของประเทศได้ชัดเจน    แต่เมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับระบบของประเทศอื่นก็ต้องคิดหลายชั้น เทียบตรงๆ ไม่ได้   

ดัชนีที่ทีมวิจัยเอามาเสนอในลักษณะเปรียบเทียบระบบ ววน. ระหว่างประเทศคือ GII (Global Innovation Index)    ซึ่ง GII 2019 จัดอันดับที่ ๑ ให้สวิตเซอร์แลนด์    ตามด้วยสวีเดน  และสหรัฐอเมริกา    ส่วนไทยอยู่อันดับ ๔๓   ตามหลังเวียดนามที่อันดับ ๔๒ (๑)    ส่วนเกาหลีอันดับ ๑๑   ญี่ปุ่นอันดับ ๑๕    ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ยุคนี้เขาดูที่ความเข้มแข็งของระบบนวัตกรรมกันแล้ว  ไม่ใช่ที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือวิจัย

ผมคิดว่า ทีมวิจัยน่าจะเข้าไปศึกษารายละเอียดของตัวชี้วัดใน GII สำหรับนำมาเป็นข้อมูลประกอบการคิด framework ของเรา     ผมพยายามเข้าไปดูในเว็บไซต์ของ GII   และพบว่าเขาใช้ ตัวชี้วัด ๗ หมวด  ได้แก่ (๑) ความเข้มแข็งของสถาบัน (institution)  (๒) ทุนมนุษย์และการวิจัย  (๓) โครงสร้างพื้นฐาน  (๔) ความฉลาดของตลาด (market sophistication)   (๕) ความฉลาดของธุรกิจ (business sophistication)  (๖) ผลผลิตด้านความรู้และเทคโนโลยี  (๗) ผลผลิตเชิงสร้างสรรค์ (creative outputs)    ตัวชี้วัดแต่ละหมวด มีตัวชี้วัดย่อยมากมาย (๒)     ๕ หมวดแรกเรียกว่า innovation input subindex   ส่วน ๒ หมวดหลังเรียกว่า innovation output subindex    ทีมวิจัยน่าจะได้เข้าไปศึกษาทำความเข้าใจเอามาใช้คิด framework ของเรา         

เกาหลีใช้ COSTII (Composite Science and Technology Innovation Index)     ญี่ปุ่นใช้ Japanese Science and Technology Indicators    มาเลเซียใช้ Science, Technology and Innovation Indicators   สหรัฐอเมริกาใช้ STSI (State Technology and Science Index)    อียู ใช้ EIS (European Innovation Scoreboard) และ RIS (Regional Innovation Scoreboard)    ส่วน โออีซีดี ใช้ OECD Science, Technology and Industry Scoreboard 2017   

ทีมวิจัยได้เข้าไปศึกษาตัวอย่างข้างต้น และเสนอว่า การติดตามความก้าวหน้าและขีดความสามารถของระบบ อววน. จะใช้ตัวชี้วัด ๓ หมวด คือ  (1) Input factors  (2) HE & STI capabilities  (3) HE & STI performance    และเสนอตัวชี้วัดความก้าวหน้าของ ววน. ในระดับประเทศ ๓ หมวดคือ   (๑) ตัวชี้วัดความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล ต่อกลุ่มเป้าหมาย  (๒) ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาความสามารถในการพัฒนาภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ  และ (๓) ตัวชี้วัดการพัฒนา ววน. ระดับภูมิภาค (area)     

ทีมวิจัยเสนอ Thailand SRI Systems Framework ตามแผนผัง

 


เป็นขั้นตอนการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลระบบ อววน. ของประเทศที่น่าชื่นชมยิ่ง

วิจารณ์ พานิช        

๒๖ เม.ย. ๖๓ 


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 677774เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2020 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2020 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท