วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๓. เรียนรู้เรื่องนวัตกรรม (๑) หลักการพื้นฐาน


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

สอวช., มจธ. และสถาบันคลังสมอง จัด หลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รุ่นที่ 2    และเชิญผมร่วมเป็นวิทยากรด้วย ในหัวข้อกระบวนการพัฒนาและผลักดันนโยบายด้านการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม    ผมจึงขอ PowerPoint  และ VDO ของวิทยากรท่านก่อนๆ มาศึกษา ได้ของ ศ. ดร. ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด ที่บรรยายเรื่อง innovation ถึง ๓ วัน  วันละ ๓ ชั่วโมง    ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ก่อนจะต้องสอนทางไกล อย่างที่ผมทำในวันที่ ๒๓ เมษายน  

ผมจึงได้เรียนรู้เรื่องนวัตกรรมอย่างเต็มอิ่ม

จะเห็นว่าสมัยก่อนเราใช้คำว่า “วิจัยและพัฒนา”  แต่สมัยนี้หันมาใช้คำ “วิจัยและนวัตกรรม”    คำใหม่นี้บอกว่าในสมัยนี้กิจกรรมในตระกูลงานวิจัยต้องไปถึงคุณค่าทางเศรษฐกิจ    คือต้องโยงไปถึงนวัตกรรม    นิยามคำว่านวัตกรรมเน้นที่สิ่งของหรือกระบวนการใหม่ (novelty) ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (economic value)   

เมื่อนิยามอย่างนี้ กลุ่มบุคคลที่สำคัญที่สุดในเรื่องนวัตกรรมคือ ผู้ประกอบการ (entrepreneur)  ไม่ใช่นักวิชาการ (academics)    

แต่เอาเข้าจริง ประเภทของนวัตกรรมมีมากมาย ไม่จำกัดอยู่ที่ผลิตภัณฑ์และกระบวนการเท่านั้น   ยังมี position innovation, market innovation, service innovation, paradigm innovation    

และนวัตกรรมยังมีได้หลายระดับของ “ความใหม่” (novelty)    ตั้งแต่ incremental innovation ถึง radical innovation    ฟังแล้วผมเกิดความรู้สึกว่า การจัดการเพื่อสนับสนุนงานวิจัย กับการจัดการเพื่อหนุนนวัตกรรมเป็นคนละขั้ว คนละกระบวนทัศน์    จึงเกิดคำถามว่า หน่วยงานสนับสนุนการวิจัย กับหน่วยงานสนับสนุนนวัตกรรมควรอยู่ด้วยกันหรือไม่ 

ผมได้ความรู้ว่า บิดาของ Innovation studies คือนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ Joseph Schumpeterผู้เคยเป็นทั้งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย  นักการธนาคาร  และรัฐมนตรีคลัง    จึงมีความเข้าใจทะลุทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ    

ก่อนจะเกิด innovation   ต้องเกิด invention เสียก่อน    และเมื่อออกสู่ตลาดอย่างกว้างขวาง สร้างรายได้ดี จึงจะเป็น innovation   แล้วหลังจากนั้นก็ต้องเกิด improvement ไปเรื่อยๆ ที่เรียกว่า incremental innovation    จึงจะมีความยั่งยืนต่อเนื่องของนวัตกรรม    กระบวนการนวัตกรรมจึงไม่ใช่กระบวนการที่เป็นเส้นตรง แต่เป็นวงจรที่ซับซ้อน    มีนวัตกรรมในหลายด้านประกอบกัน    

การสร้างนวัตกรรมเป็นกิจกรรม high risk    และผู้ที่จะทำได้ดีที่สุดคือภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องการทำธุรกิจใหม่ๆ    มีไอเดีย มีความรู้ แต่ไม่มีทุน    ไปกู้ธนาคารเขาก็ไม่ให้ เพราะมันเสี่ยงสูง     รัฐจึงต้องเข้าไปร่วมเสี่ยง    โดยมีเงินร่วมทุนหรือให้เปล่า     การบริหารงานนวัตกรรมอย่างหนึ่งคือจัดระบบการเงินสนับสนุน    ที่ต้องมีหลักการและทักษะด้านการบริหาร ที่ต่างจากการให้ทุนวิจัย    และต่างจากการลงทุนธุรกิจ     

ผมชอบแนวความคิดเรื่องคลื่นใหญ่ของนวัตกรรมเป็นช่วงๆ ในช่วง ๒๕๐ ปี    จากปี ค.ศ. 1770 ถึงปัจจุบัน    ที่มี 6 long waves เป็นยุค (1) early mechanization  (2) steam power + railways  (3) electrical + heavy engineering  (4) Fordist mass production  (5) Information + communication technology  (6) biotech + nanotech    ในแต่ละคลื่นใหญ่ ก็มีคลื่นเล็กๆ ของนวัตกรรมมากมาย

อีกเรื่องที่ผมชอบคือ โมเดลของนวัตกรรม (๑)    ที่นับวันก็ยิ่งซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ    ต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย    นวัตกรในยุคนี้ต้องมีความสามารถในการหยิบฉวยความรู้และเทคโนโลยีจากที่ต่างๆ แหล่งต่างๆ มาประกอบกัน    ได้นวัตกรรมในเวลาที่รวดเร็ว    เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง      

ท่านที่สนใจ ดู PowerPoint ประกอบการบรรยายได้ที่ (

วิจารณ์ พานิช        

๑๘ เม.ย. ๖๓ 

Patarapong 1 from Pattie KB
หมายเลขบันทึก: 677723เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2020 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2020 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท