วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๖. ฐานข้อมูลอุดมศึกษา


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓    มีวาระเรื่อง การจัดทำฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา เข้านำเสนอและขอความเห็น

เอกสารประกอบมีรายละเอียดมาก หนาถึง ๗๑ หน้า  อ่านได้ที่ (๑) เอกสารนี้อ้างกฎหมายจัดตั้งกระทรวง อว. ซึ่งเขียนเป้าหมายไว้ดีเยี่ยม    เอกสารรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้อย่างดี    และเป็นเอกสารที่เน้นกฎหมายกับเทคโนโลยี    การประชุมที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องนี้ เป็นขั้นตอนวางระบบเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น    เป็นกิจกรรมที่ผมได้เรียนรู้สูงมาก    และนำมา ลปรร. ในบันทึกชุด วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ  นี้

คำถามหลักของผมคือ กระบวนการจัดทำฐานข้อมูล และตัวข้อมูล จะมีบทบาท หรือส่งผลต่อ การปฏิรูปการอุดมศึกษาอย่างไร    การออกแบบคำนึงถึงประเด็นผลกระทบนี้อย่างไร

ความเห็นแรกของผมคือ ต้องคิดเรื่องการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ เพื่อการใช้ประโยชน์     และผู้ใช้ประโยชน์ต้องคำนึงถึง ๒ กลุ่มคือ (๑) ประชาชนทั่วไป ที่ต้องการใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจใช้บริการอุดมศึกษาในหลากหลายแบบ   หรือเพื่อแสวงหาความร่วมมือจากสถาบันหรือทีมอาจารย์ในการประกอบกิจการ    (๒) สถาบันอุดมศึกษาและคนในวงการอุดมศึกษาเอง

ชุดความคิดสำคัญคือ ต้องไม่จัดทำฐานข้อมูลเพื่อการใช้งานใน อว. เองเท่านั้น   ต้องคำนึงถึง end users ที่หลากหลาย    และหาทางทำให้ผู้ใช้เหล่านั้นเข้าถึงได้สะดวก ใช้งานง่าย  มีความแม่นยำ   และมีความทันกาล (real time)    ไม่ใช่ข้อมูล/สารสนเทศ ล้าหลัง    

ต้องมีกลไกหมุน Double/Tripple Learning Loops ผ่านประสบการณ์การใช้งานทั้งของนักเทคนิค และของผู้ใช้ปลายทาง    กลไกที่ผมนึกถึงคือ สมัชชา อุดมศึกษาแห่งชาติ ที่จัดเป็นรายปี    นำประเด็นต่างๆ ของการพัฒนาระบบอุดมศึกษา  และการใช้อุดมศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐   มีห้องย่อยที่ว่าด้วยระบบข้อมูล  

ผมมีความเห็นว่า การระบุใน พรบ. การอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ม. ๔๓  ระบุให้หน่วยงานที่กำหนดต้อง “ส่งข้อมูล” ไม่เป็นเงื่อนไขให้ได้รับข้อมูลที่แม่นยำคุณภาพสูง และทันเวลา     ต้องมีกลไกเสริมอย่างน้อย ๒ กลไก (ผมมีความรู้น้อย) คือ  (๑) การมีระบบวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล ป้อนกลับให้แหล่งข้อมูลใช้ประโยชน์  (๒) ระบบเก็บข้อมูลโดยไม่ต้องส่งข้อมูล เพื่อลดภาระของแหล่งข้อมูล    ระบบนี้มีความก้าวหน้ามากในปัจจุบัน และจะก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ   

ผู้เสนอระบบบอกชัดเจนว่า ข้อเสนอระบบข้อมูลนี้มาจากความเห็นและข้อมูลของฝ่าย supply side เท่านั้น     ไม่ได้มีข้อคิดเห็นจากฝ่าย demand side เลย    ผมจึงให้ความเห็นว่า    ควรใช้เครื่องมือ service design จัดกระบวนการ empathize ผู้ใช้ปลายทาง (end user) คือประชาชนทั่วไป     ว่าเขาต้องการใช้ข้อมูลอุดมศึกษาอย่างไรบ้าง     ใช้ข้อมูลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยนำเข้าสำหรับการออกแบบระบบข้อมูล     ที่ต้องมีส่วนวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ    และต้องออกแบบระบบส่วน user interface ให้ผู้ใช้เข้าไปใช้ได้ง่าย และสะดวก   

U.S. News College Compass เป็นระบบฐานข้อมูลที่มี user interface ยอดเยี่ยม สำหรับผู้ต้องการใช้ข้อมูลเลือกมหาวิทยาลัยตามเงื่อนไขและข้อจำกัดของตน    เป็นระบบข้อมูลที่ให้ university ranking แก่ผู้ใช้เฉพาะราย    โดยผู้ใช้เข้าไปกรอกความต้องการและเงื่อนไขของตน ๒๓ ข้อ    แล้วเว็บไซต์จะเสนอรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เหมาะกับความต้องการและเงื่อนไขตามที่กรอก     ผมฝันเห็นระบบฐานข้อมูลอุดมศึกษาไทยมีบริการทำนองนี้      

ผมชี้ให้เห็นว่า การออกแบบระบบข้อมูล มีผลต่อรูปแบบของระบบอุดมศึกษา     ขณะนี้ประเทศไทยต้องการปฏิรูปอุดมศึกษา     ระบบข้อมูลที่ออกแบบต้องช่วยเป็นเครื่องมือของการปฏิรูปอุดมศึกษาด้วย    หากออกแบบข้อมูลผิด ก็อาจกลายเป็นการปกป้องหรือส่งเสริมสถานภาพเดิม    ที่จริงระบบที่เสนอนั้น เป็นรูปแบบเดิมๆ เกือบทั้งหมด    อยู่ใต้กระบวนทัศน์เดิม   

มีกรรมการชี้ให้เห็นว่า ระบบข้อมูลเป็นเครื่องมือกำหนดนโยบาย    เป็นเครื่องมือให้ส่วนกลางใช้กำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา     ใช้จัดการการรับนักเรียนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย    ซึ่งผมนึกในใจว่า นั่นคือ user ฝ่ายรัฐ หรือฝ่ายผู้ให้บริการ   ระบบข้อมูลต้องสนอง user ฝ่ายประชาชน ซึ่งเป็นผู้รับบริการด้วย     และประชาชนไม่ได้ใช้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาเท่านั้น    ภาคประกอบการ และภาคประชาสังคม ยังต้องการใช้มหาวิทยาลัยในฐานะหุ้นส่วนทางวิชาการ เพื่อพัฒนากิจการของตน     ที่จริงขณะนี้หน่วยงานภาครัฐพึ่งสถาบันอุดมศึกษา ให้ช่วย “วิจัย” หาแนวทางการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ ปีหนึ่งๆ น่าจะเป็นเงินนับพันล้านบาท     หากมีข้อมูลให้ “ผู้ใช้” เหล่านี้ เลือกนักวิชาการที่เหมาะสมได้    ก็จะดีกว่าวิธีการที่ใช้ชื่อเสียงหรือความคุ้นเคยกันเป็นส่วนตัว  

ข้อมูลนำเข้า (input) ของระบบข้อมูลอุดมศึกษา  นอกจากข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และ ข้อมูลนักเรียน ม. ๖,  ปวช.,  ปวส.,   และผู้ต้องการ upskill & reskill แล้ว     ยังต้องมีข้อมูลการทำงานและรายได้ของบัณฑิต ที่ต้องหาทางเชื่อมโยงกับข้อมูลการเสียภาษีเงินได้   รวมทั้งความพึงพอใจของนายจ้างของบัณฑิต     หากเข้าไปศึกษา  U.S. News College Compassน่าจะเห็นว่าฐานข้อมูลอุดมศึกษายังต้องการข้อมูลนำเข้าอีกหลายตัว    จึงจะให้บริการแก่ผู้ต้องการใช้ฐานข้อมูลเลือกสถานศึกษาที่ต้องการ  

ข้อมูลนำเข้าต้องถูกต้องแม่นยำตามความเป็นจริง     ระบบข้อมูลจึงต้องมีกลไกตรวจสอบข้อมูลที่ไหลเข้ามา     คอยป้องกันไม่ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงเข้ามาในระบบ    ผมเข้าใจว่าเทคโนโลยี AI น่าจะช่วยกลั่นกรองตรวจสอบเบื้องต้นได้   

วิจารณ์ พานิช        

๑๘ พ.ค. ๖๓   ปรับปรุง ๒๔ พ.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 677995เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2020 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2020 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท