วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๘๓. เสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานในระบบ ววน.


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาภารกิจเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานในระบบ ววน. ของ สกสว.    ที่มี ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง เป็นประธาน ผมเป็นที่ปรึกษา     มี ดร. ชลิตา ศรีนวล เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจนี้ อยู่ภายใต้กลุ่มภารกิจพัฒนาระบบและเครือข่าย ววน.  

ดร. อติชาติ เสนอกรอบการวิเคราะห์ระบบนวัตกรรมของไทย   

พัฒนาระบบ ววน. ของ สอวช. เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ มีวาระเรื่องการประเมิน ๒ เรื่องเข้าสู่ที่ประชุม     โดยการประชุมครั้งนี้มี รศ. ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เข้าร่วมประชุมด้วย    และได้ให้ข้อคิดเห็นในภาพใหญ่ที่มีประโยชน์มาก    เพราะท่านมีประสบการณ์เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  และกระทรวง ดีอี อยู่หลายปี     

เป็นการประชุมต่อเนื่องจากวาระของการประชุมเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓  ตามบันทึก (๑) 

ระบบ ววน. ของประเทศ

ในวาระเรื่อง ความก้าวหน้าการตรวจสอบกลไก ขั้นตอน และกระบวนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และด้านการอุดมศึกษา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ววน.   ทีมคณะทำงานได้สรุปประเด็นปัญหา นำมาเสนออย่างดีมาก ๕ ข้อดังนี้




กรรมการให้คำแนะนำว่า ควรรีบดำเนินการข้อ ๒ และ ๓   โดยดำเนินการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับตัว หรือพัฒนายกระดับขึ้นไป    โดยมีเป้าหมายสำคัญคือใช้ระบบติดตามและประเมินผล เป็นกลไกพัฒนาระบบ ววน.    ให้เป็นระบบที่แข็งแรง  ทำหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง     นี่คือแนวทางของ Double-Loop Learning นั่นเอง    

โดยที่ต้องตระหนักว่า เราดูแลระบบ ววน. ของประเทศ    ไม่ใช่แค่ภายในกระทรวง อว.    และการลงทุนในกิจกรรมวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยในขณะนี้ กว่าร้อยละ ๗๕ ลงทุนโดยภาคธุรกิจเอกชน    จึงเป็นความท้าทายว่า ทำอย่างไรจะได้ข้อมูลการลงทุน และกิจกรรมวิจัยและนวัตกรรมที่ไม่ใช่กิจกรรมที่มาจากงบประมาณแผ่นดิน  

ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ชี้ให้เห็นว่า ควรโฟกัสที่การประเมิน “ร้อยละ ๕๐ บน” ให้มาก    อย่าหลงประเมินเฉพาะ “ร้อยละ ๕๐ ล่าง” เท่านั้น    เมื่อคุยกันให้ชัดในประเด็นนี้    ผมเข้าใจว่า “ร้อยละ ๕๐ ล่าง” เป็นเรื่องของโครงการวิจัยรายย่อย    และการทำงานของหน่วยปฏิบัติการวิจัย     ซึ่งควรเป็นหน้าที่ของแต่ละ PMU    แต่ สกสว. และ สอวช. ก็ต้องร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูล    ให้ข้อมูลของกิจกรรม ววน. รายย่อย ไหลเข้าสู่ระบบใหญ่     ที่ สกสว. กำลังพัฒนาอยู่   ที่เรียกว่า NRIIS (National Research and Innovation Information Systems)    ดังนั้น ความท้าทายคือ ทำอย่างไรให้ NRIIS เป็น National Information Systems จริงๆ    ไม่ใช่เฉพาะระบบของราชการ       

ทั้งนี้ เพื่อใช้ระบบข้อมูลภาพรวมของประเทศ เอามาประมวล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำความเข้าใจ ระบบ ววน. ส่วน “ร้อยละ ๕๐ บน”

ผมมองว่า การประเมิน “ร้อยละ ๕๐ บน” ที่สำคัญคือ    การประเมินการทำงานที่เชื่อมประสานกัน ระหว่างกลไก สภา อววน.,  สอวช.,  สกสว.,  7 PMU,  กระทรวงต่างๆ,  และองค์กรภาคธุรกิจเอกชน

และที่สำคัญคือ ประเมินว่า ส่วนนโยบาย และการดำเนินการตามนโยบาย ววน.  ดำเนินการแบบ “เกาถูกที่คัน” หรือเปล่า     ซึ่งหมายความว่า ระบุประเด็นสำคัญถูกต้องหรือไม่    และการดำเนินการโฟกัสที่ประเด็นสำคัญหรือไม่    คือต้อง “รู้ที่คัน” และ “เกา” ตรงนั้น    ไม่ใช่ “เกา” ตรงที่เอื้อมถึง    พอให้ได้รายงานว่ามีการ “เกา” แล้ว   

ผศ. ดร. สันติ เจริญพรวัฒนา แห่ง STIPI เสนอโมเดลการติดตามและประเมินผล ระบบ ววน. ที่ดีมาก ดังนี้

จะเห็นว่าหลักการไม่ยาก    ความท้าทายอยู่ที่การปฏิบัติ    และหากเราทำให้การปฏิบัตินั้นเองทำหน้าที่สร้างข้อมูล M&E  เป็น feedback loop  เพื่อการเรียนรู้และปรับตัว    ก็หวังได้ว่า ในระยะยาว ระบบ ววน. ไทยจะสนองการพัฒนาประเทศได้จริง 

ระบบกองทุน ววน.   

ต่อด้วยวาระเรื่อง รูปแบบและความก้าวหน้าของการออกแบบระบบติดตามและประเมินผลของกองทุนส่งเสริม ววน. เสนอโดย รศ. ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รอง ผอ. สกสว.    ที่ยกตัวอย่างระบบของอังกฤษและสิงคโปร์ ที่ใช้คนละแนวทาง

อังกฤษใช้ระบบข้อมูลที่ไหลเข้ามาจาก Researchfish Platform ที่ใช้อยู่ใน ๙ ประเทศ    เป็นบริการดึงข้อมูลผลงาน ววน. จากฐานข้อมูลต่างๆ จำนวนมากมาย    นำมาประเมินผลกระทบทางวิชาการ  และผลกระทบด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม    ส่วนสิงคโปร์ประเมิน ๓ ประเด็นหลักคือ (๑) ระบบนิเวศของการวิจัยและนวัตกรรม  (๒) M&E Platform ซึ่งได้จาก National Survey  และ (๓) ผลลัพธ์ และผลกระทบ    

สกสว. ประเมินเฉพาะการดำเนินการของกองทุน ววน. โดยเน้นประเมิน ๒ ด้าน คือ     (๑) ประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรม   โดยประเมินผลกระทบสองด้าน คือด้านวิชาการ กับด้านเศรษฐกิจและสังคม   (๒) ประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับงบประมาณจากกองทุน ววน.    โดยประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล กับประเมินความต่อเนื่องยั่งยืนของการดำเนินการ

การประเมินหน่วยงานในระบบ ววน. (PMU) ส่วนความต่อเนื่องยั่งยืนของการดำเนินการ เป็นการประเมินกระบวนการต้นน้ำ   กระบวนการกลางน้ำ  และ กระบวนการปลายน้ำ  

เครื่องมือสำคัญคือระบบ NRIIS ที่ สกสว. กำลังพัฒนา    ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลมาจากฐานข้อมูลสำหรับการทำงานของแต่ละหน่วยงาน     เป็นความท้าทายว่าในทางปฏิบัติจะมีการกรอกข้อมูลกันครบถ้วนแค่ไหน    เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์ทำความเข้าใจภาพใหญ่ได้แค่ไหน

ผมกลับมาใคร่ครวญต่อที่บ้าน    คิดว่า ระบบ NRIIS ควรต้องเชื่อมต่อข้อมูลมาจากหน่วยทำงานวิจัยด้วย   และ สกสว. ควรร่วมกับ สอวช. จัดให้มีการประเมินความเข้มแข็งของหน่วยทำวิจัยด้วย     รวมทั้งประเมินความเข้มแข็งของนักวิจัยของประเทศในภาพรวม       

อีกส่วนหนึ่ง ที่ควรมีการประเมินคือ alignment / synergy ระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบ ววน.    ที่ สอวช. น่าจะเป็นหน่วยงานหลัก    และ สกสว. น่าจะช่วยหนุนด้วย      

วิจารณ์ พานิช        

๒๔ มิ.ย. ๖๓ 


หมายเลขบันทึก: 680137เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2020 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2020 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท