วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๙. โครงสร้าง สป. กระทรวง อว.


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๓ มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม    วาระหนึ่งที่นำเข้าหารือคือ โครงสร้าง สป. กระทรวง อว. และวิธีทำงานในระยะต่อไป    โดยที่กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องคือ พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวง อว. พ.ศ. ๒๕๖๒ (๑)    ซึ่งระบุหน้าที่ของกระทรวง อว. ในมาตรา ๗    และหน้าที่ของ สป. ในมาตรา ๑๑   โปรดสังเกตว่า ผู้เขียนกฎหมายเน้นการทำหน้าที่สนับสนุน มากกว่าควบคุม    

ทีมเลขานุการของการประชุมทำการบ้านมาเสนออย่างดีเช่นเคย    ผมได้เรียนรู้ว่า มีการประชุมปรับโครงสร้างของกระทรวง อว. มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๖๒    โดยคำนึงถึงเป้าหมายหลัก ๓ ประการที่เหลื่อมซ้อนกันคือ  (๑) ส่งเสริมการพัฒนากำลังคนและทุนปัญญา  (๒) ส่งเสริมและพัฒนาระบบนิเวศน์ด้าน ววน.  (๓) transform ระบบ อววน.    จุดเพ่งเล็งของผมจึงอยู่ที่โครงสร้างที่มีการเสนอไว้แล้ว จะ deliver ผลตามเป้าหมายทั้ง ๓ ได้จริงหรือไม่    อาจพบอุปสรรคใด   และจะเตรียม risk management ไว้อย่างไรบ้าง

Risk ที่ผมนึกถึงได้แก่

  • โครงสร้างกับภารกิจไม่สอดคล้องกัน หรือขัดกัน 
  • ทำงานแบบควบคุมสั่งการ  เอากฎระเบียบเป็นที่ตั้ง ไม่เอาเป้าหมายเป็นที่ตั้ง    ไม่ทำหน้าที่สนับสนุน
  • ทำงานเป็นไซโล
  • ไม่เป็นระบบที่เรียนรู้และปรับตัว   

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๖๒ ได้มีการประชุมหารือและทำความตกลงเรื่อง โครงสร้างองค์กร ของ สป. อว. รวม ๑๑ ครั้ง    หน่วยงานเจ้าภาพหลักคือ กพร.   ผมดีใจที่นอกจากโครงสร้างตามแบบราชการ (๑๐ กอง  ๒ กลุ่ม  ๑ ศูนย์) แล้ว  ยังตกลงกันว่าจะ “มี agile team  แยกต่างหากจากโครงสร้างปกติ ในงานส่งเสริมและพัฒนา กำลังคนและทุนปัญญา และขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา”    

เท่ากับข้อกังวลของผมเรื่องกลไกเรียนรู้และปรับตัว ก็จะมี agile team รับผิดชอบ    ผมภาวนาให้ทีมนี้ทำงานได้ผล  

โครงสร้างที่กำหนดนี้ สนองภารกิจหลัก ๓ ด้าน คือ (๑) พัฒนากำลังคนและทุนปัญญา  (๒) พัฒนาระบบนิเวศ ววน.  (๓) คุณภาพและมาตรฐาน อววน.  

ผมชี้ให้ที่ประชุมเห็นว่า เป็นข้อจำกัดของราชการ ที่ต้องกำหนดโครงสร้าง ก่อนกำหนด operational function    จึงอยู่ในสภาพที่คนกำหนดโครงสร้างไม่รู้จริง เพราะไม่ได้ทำ    คนที่มาทำเมื่อศึกษาภารกิจเชิงนวัตกรรม  ก็ต้องการโครงสร้างการจัดการแบบหนึ่ง ที่อาจไม่สอดคล้องกับที่มีผู้กำหนดไว้ให้แล้วล่งหน้า    ผมชี้ให้เห็นว่า สกว. ประสบความสำเร็จเพราะใน พรบ. ไม่ระบุโครงสร้างหน่วยงานไว้     และเนื่องจากไม่ใช่หน่วยราชการ จึงไม่ถูกกำหนดโครงสร้างหน่วยงานไว้ล่วงหน้า     ตอนยกร่าง พรบ. ของ สปสช. ก็ใช้หลักการนี้ คือ ไม่กำหนดโครงสร้าง ก่อนจะรู้ว่าจะทำงานอย่างไร  

มีคำแนะนำว่า โครงสร้างการบริหารงานบุคคล  ที่ควรให้มี job rotation  ออกไปที่หน่วยปฏิบัติ   เน้นคนที่มีแววความสามารถสูง    เพื่อสร้างผู้บริหารที่เข้าใจงานกว้าง

มีคำแนะนำให้เอาใจใส่โครงสร้างระบบข้อมูลและสารสนเทศ    ที่จะช่วยลดการทำงานแบบไซโล  

ทีมเลขา เสนอตัวชี้วัดความสำเร็จ ๙ ตัว    ดังนี้

 


ทำให้ผมเสนอว่าควรมีระบบการจัดการ ที่ยึดเป้าหมายตามตัวชี้วัด    คิดย้อนหลังมาวัดวิธีการหรือ process ที่สอดคล้อง/ไม่สอดคล้อง กับตัวชี้วัด   นำมาใช้เป็น feedback information   สู่การปรับโครงสร้าง     ก็จะทำให้ สป. อว. มีระบบงานที่เรียนรู้และปรับตัว    ไม่ทราบว่าผมฝันไกลไปหรือเปล่า

มีการอภิปรายในที่ประชุมมากมายที่แสดงความเป็นห่วงว่าโครงสร้างที่เสนอจะไม่เอื้อให้เกิดความสำเร็จ    ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผอ. สวอช. ให้ความเห็นว่า    ผลงานเกิดจากปัจจัยหลักสามประสานคือ (๑) โครงสร้าง (structure)  (๒) กระบวนการ (process)  (๓) คน (people)    โดยเรื่องคนควรเน้นหลักการ mobility   มีการโยกย้ายข้ามหน่วยงานภายในระบบ อววน.  

ในชั้นนี้ เรื่องโครงสร้างแก้ไขไม่ได้แล้ว    เพราะมีมติ (โดยกลไกของ กพร.) ไปแล้ว    ส่วนที่จะช่วยให้บรรลุผลสำเร็จคือ ส่วน process  กับ people      

วิจารณ์ พานิช        

๘ มิ.ย. ๖๓  ปรับปรุง ๒๘ มิ.ย. ๖๓

   

หมายเลขบันทึก: 678299เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2020 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2020 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท