วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๗๘. การจัดการชุดโครงการวิจัย


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ผมได้เล่าเรื่องชุดโครงการวิจัยหนึ่งที่ วช. ให้ทุน  คือชุดโครงการประเทศไทยในอนาคตที่ (๑) (๒)  (๓)     เป็นงานวิจัยอนาคต (futures sdudies)    ที่มีโครงการวิจัยในชุดรวม ๑๐ โครงการ    บัดนี้โครงการก้าวหน้าและมีการจัดประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๓    เพื่อพิจารณารายงานความก้าวหน้าใน ๔ เดือนแรกของโครงการ  คือ เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ๒๕๖๓



บันทึกนี้ เน้นการเรียนรู้ด้านการจัดการงานวิจัย   ซึ่งกรณีนี้เป็นการจัดการชุดโครงการ   ที่ต้องมีการจัดการความเชื่อมโยงระหว่างโครงการย่อย   เอาข้อค้นพบออกสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับสังคม    เพื่อรับข้อคิดเห็นจากสังคมเอามาเป็นข้อมูลด้านหนึ่งของการวิจัย    โดยผมมองว่า ชุดโครงการวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยและนวัตกรรม    ไม่ใช่งานวิจัยเพื่อค้นหาความรู้เท่านั้น    แต่เป็นงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนสังคม  เน้นเป้าขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคม    อ่านจากรายงานไตรมาสแรกของ ๘ โครงการย่อย   พบการเอ่ยถึงการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับสังคมในโครงการย่อยโครงการเดียว    และพบว่าเอกสารรายงานที่ส่งมาให้แตกต่างกันมาก    ทำให้เห็นว่า ทาง วช. ไม่ได้สื่อสารให้ชัดในเรื่องลักษณะของรายงานความก้าวหน้า    ที่ควรกำหนดให้ไม่ยาวมาก    ผมเสนอว่าไม่ควรจะยาวเกิน ๑๐ หน้า  

โจทย์ใหญ่ของชุดโครงการคือ การคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต   เพื่อเสนอแนะการดำเนินการ (intervention)  สู่เป้าหมายที่พึงประสงค์    

ผมตีความว่า คณะกรรมการอำนวยการโครงการมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ วช.   ด้านการจัดการชุดโครงการ    แต่เมื่ออ่านเอกสารประกอบการประชุมคราวนี้ ก็เห็นชัดว่า    สาระสำคัญของคำแนะนำของคณะกรรมการอำนวยการไม่ได้รับการบันทึก    และไม่ได้นำไปใช้    ทำให้สัญญาให้ทุนระบุวัตถุประสงค์ไม่ตรงกับที่คณะกรรมการย้ำ คือไม่ใช่แค่เป็นงานวิจัย แต่เป็นงานขับเคลื่อนสังคมด้วย   

นอกจากนั้น ในการประชุมเปิดตัวโครงการ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๓  ผมให้ความเห็นว่า ไม่ควรใช้คณะกรรมการกำกับทิศทาง เป็นผู้ประเมินความแม่นยำทางวิชาการ    เพราะตัวกรรมการที่เลือกมาเป็นผู้รู้กว้างๆ ไม่รู้ลึกลงไปในแต่ละประเด็นของโครงการย่อย    แต่ก็ไม่มีการนำไปปฏิบัติ   

เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่และซับซ้อน ต้องการผลเชิงขับเคลื่อน    การจัดการที่ส่วนกลางจึงต้องเข้มแข็ง    ผมจึงเสนอต่อที่ประชุมให้ วช. พิจารณาดำเนินการต่อไปนี้

  1. 1. ภายใน ๑ เดือนหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ    ฝ่ายเลขานุการส่งรายงานการประชุมที่สรุปประเด็นสำคัญ (ไม่ใช่ถอดเทป) ให้คณะกรรมการแก้ไขหรือเพิ่มเติม
  2. 2. ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการแต่ละครั้ง ขอให้ จนท. ของ วช. สรุป  (๑) ประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการแนะนำ    มีส่วนใดบ้างที่ได้นำไปปรับปรุงการดำเนินงาน    และได้ผลอย่างไร    (๒) ความก้าวหน้าของโครงการในภาพรวม    รวมทั้งสรุปความกังวลต่อความเสี่ยง ที่จะไม่ได้รับผลงานที่มีคุณภาพสูง   
  3. 3. ขอให้กำหนดวิธีเขียนรายงานความก้าวหน้าของแต่ละโครงการ    ให้เน้นระบุเป้าหมายใหญ่ และเป้าหมายในช่วงนั้น    รายงานการดำเนินการ และผล    รวมความยาวไม่เกิน ๑๐ หน้า    ส่วนที่เป็นรายละเอียดให้เอาไปไว้ในภาคผนวก
  4. 4. แบบรายงานความก้าวหน้า ควรปรับให้เหมาะสมต่อแต่ละโครงการ และต่อช่วงเวลาของโครงการ    ไม่ควรใช้แบบฟอร์มที่แข็งทื่อ ไม่คำนึงถึงบริบทของงาน
  5. 5. ในการประชุมแต่ละครั้ง ขอให้ทีมงานของ สวช. สรุปกิจกรรมเชื่อมโยงโครงการย่อยเข้าด้วยกัน   รวมทั้งกิจกรรมสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อสังคม          

ผมเพิ่งมีโอกาสเห็นโจทย์วิจัยที่ วช. เซ็นสัญญากับทีมวิจัย ว่าเป็นงานวิจัย  และนำเสนอนโยบาย    ซึ่งเป็นโจทย์ที่แคบ ไม่รวมกิจกรรมสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับสังคม    ทั้งๆ ที่ตอนประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการได้มีการให้คำแนะนำไว้แล้ว    จึงเห็นข้อจำกัดของ วช. ในการจัดการงานวิจัยชุดนี้  

ข้างบนนั้น ผมเขียนก่อนการประชุม

หลังการประชุม ที่มีการนำเสนอความคืบหน้าของ ๙ โครงการย่อย    จึงได้เห็นว่า โครงการส่วนใหญ่ดำเนินไปด้วยดี    มีเพียง ๒ โครงการย่อยที่ดำเนินการแบบ conventional research   ไม่ใช่ foresight research หรือ futures studues    แต่เนื่องจากหัวหน้าโครงการได้ฟังรายงานของโครงการอื่นด้วย    ก็น่าจะนำเอาข้อเรียนรู้ไปปรับงานของตนได้  

มีอยู่ ๒ โครงการที่ผมมีข้อสังเกตว่า แม้ไม่มีโครงการวิจัยนี้ เขาก็น่าจะทำงานทำนองนี้อยู่แล้ว    เพียงแต่ไม่ได้นำออกสื่อสารแลกเปลี่ยนกับสาธารณะ   ไม่ทราบว่าการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่หน่วยงานแบบนี้ จะต้องมีการจัดการงานวิจัยที่แตกต่างออกไปอย่างไร   

ในตอนท้าย ผมเสนอต่อที่ประชุมว่า สวช. ควรหาคนที่มีความสามารถสูงมาทำหน้าที่ผู้จัดการหรือประสานงานชุดโครงการนี้   เพื่อจัดทำกระบวนการบูรณาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างโครงการย่อย    เพื่อให้ค่อยๆ มองเห็น key drivers ที่อาจใช้ร่วมกัน    ซึ่ง ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง เสนอว่า น่าจะให้แต่ละโครงการส่ง ข้อวิเคราะห์ drivers ย่อย  ตาม ๖ ปัจจัยย่อย STEEPV (social, technology, economic, environment, politics, values) ที่ได้ในแต่ละรายงานความก้าวหน้า    ก็จะช่วยให้ค่อยๆ มองเห็น key drivers สู่ประเทศไทยในอนาคต    

บันทึกนี้เขียนออกเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมไทย    จึงเขียนแบบเสนอความเห็นตรงๆ    ไม่มีเป้าหมายทางการเมืองที่จะทำร้ายหรือเยินยอหน่วยงานใด          


    

วิจารณ์ พานิช        

๙ มิ.ย. ๖๓   ปรับปรุง ๒๘ มิ.ย. ๖๓

        

หมายเลขบันทึก: 678171เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2020 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2020 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท