วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๘๕. หลักสูตรการออกแบบนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

สอวช. ร่วมมือกับสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนัวัตกรรม (STPI) ของ มจธ. และสถาบันคลังสมอง จัดหลักสูตร การออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม    ให้แก่คนรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านนโยบายในหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวง อว. และหน่วยงานอื่นๆ    จัดมาเป็นรุ่นที่ ๒ แล้ว    ดูท่าว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น   มีผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานในระบบ ววน. เข้ามาเรียนอย่างหลากหลาย ๔๘ คน    ช่วงบรรยายและเสวนา มีหัวข้อดีๆ และวิทยากรชั้นยอด    รวมทั้งเป็นหลักสูตรที่มีภาคปฏิบัติด้วย    คือมีการจัดทีมวิจัยเสนอแผนการออกแบบนโยบายด้านต่างๆ   รวม ๙ โครงการ ตัวอย่างเช่น

  • การขจัดความยากจน
  • การสร้างคุณภาพของคนไทยในศตวรรษที่ ๒๑
  • การจัดลำดับความสำคัญด้านเกษตร
  • การส่งเสริม public private partnership

ผมลองค้นดู พบว่าตอนเสนอผลงานฝึกหัดออกแบบนโยบาย ทาง นสพ. นำไปลงข่าวด้วย (๑)    และตอนเปิดหลักสูตรรุ่นที่ ๒ นี้ก็มีข่าว (๒) และผมเคยเล่าสาระเรื่อง innovation บรรยายโดย ศ. ดร. ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด ที่ (๓)

นำมาเล่าเพื่อตั้งข้อสังเกตว่า การริเริ่มให้มีหลักสูตรพัฒนานักจัดการนโยบาย ววน. นี้ มีคุณค่ายิ่งต่อบ้านเมือง    เพราะเราเพิ่งเริ่มกระทรวง อว.    ที่จะต้องหาทางดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการก่อตั้งกระทรวงใหม่   ที่ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนโฉม (transform) ประเทศด้วย ววน. และอุดมศึกษา โดยมียุทธศาสตร์ ววน. ๒๐ ปี เป็นแนวทาง    ร่วมกับแผนแม่บทอีกหลายชุด และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต ระยะ ที่ ๑๒   และอื่นๆ    เราไม่ขาดแนวความคิดดีๆ    แต่เราขาดทักษะด้านการดำเนินการให้บรรลุผล (implementation)

หลักสูตรนี้ เน้นที่ policy implementation จึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง  

ผมเป็นวิทยากรด้วย ในหัวข้อ การบวนการพัฒนาและผลักดันนโยบายด้านการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม ในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๓    ดู PowerPoint ประกอบการบรรยายได้ที่ ()    และฟังเสียงบรรยาย ออนไลน์ ได้ที่ part 1, part 2

วิจารณ์ พานิช     

๑๕ ส.ค. ๖๓ 

Vicharnpolicy from Pattie KB

หมายเลขบันทึก: 681468เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2020 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2020 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณ อ.วิจารณ์ ที่กรุณามาช่วยสอน และมาร่วมการวิพากษ์ข้อเสนอนโยบาย และยังกรุณา reflect ความคิดที่มีต่อหลักสูตรครับ พวกเราจะพยายามให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆครับ

ขอบพระคุณมากๆครับ

ขอบพระคุณ อ.วิจารณ์ ที่กรุณามาช่วยสอน และมาร่วมการวิพากษ์ข้อเสนอนโยบาย และยังกรุณา reflect ความคิดที่มีต่อหลักสูตรครับ พวกเราจะพยายามให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆครับ

ขอบพระคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท