วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๙๐. นักจัดการนวัตกรรม


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ Shaping the Research Plan “สร้างแผนงานวิจัยอย่างไรให้ตอบโจทย์และผลสัมฤทธิ์” วันที่ 28 –29 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 น. – 16.00 น. ณ ห้อง Eternity ชั้น G โรงแรมพูลแมน คิง พาวเวอร์ กรุงเทพฯ   จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

วันที่ ๒๘ ช่วง ๑๐.๑๕ - ๑๑.๕๐ น. เป็นการเสวนา “ความสำคัญของผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (Research Development and Innovation Managers: RDI managers) ในระบบ ววน.”  โดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ,    ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.), ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.),     คุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ที่ปรึกษา คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน),     รศ. ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจพัฒนาระบบและเครือข่าย ววน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.),     คุณชญาณ์ทิพย์ โลจนะโกสินทร์ ผู้ดำเนินรายการ

เป้าหมายของการประชุมปฏิบัติการนี้คือ

  • 1) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ระบบ ววน.) ใหม่ของประเทศ
  • 2) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (Research Development and Innovation Managers: RDI managers) รวมถึงบทบาทการทำงานของผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ในระบบ ววน. และ
  • 3) พัฒนาศักยภาพการเป็นผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม โดยเน้นด้านทักษะการเชื่อมโยงแผนงานวิจัยให้สอดคล้องกับเป้าหมาย นโยบาย พันธกิจของหน่วยงาน และแผน ววน. ของประเทศ

ผมเข้าใจว่า เป้าหมายหลักคือ ข้อ ๓    พัฒนานักจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม    ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมเห็นความสำคัญมาเกือบ ๓๐ ปี สมัยทำงานที่ สกว.   แต่สมัยนั้น สกว. ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัย    ไม่ได้ทำหน้าที่พัฒนาระบบวิจัย    บัดนี้ สกว. กลายเป็น สกสว. ซึ่งทำงานพัฒนาระบบ ววน.    การที่ สกสว. เอาใจใส่เรื่องการพัฒนานักจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (RDI) จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง     ที่จริงหาก สกสว. จับเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มทำงาน    ระบบ ววน. ของเราก็จะเดินก้าวหน้าไปกว่านี้     

เมื่อเห็นโพยประเด็นคำถามสำหรับการเสวนา ผมก็ดีใจยิ่งนัก     เพราะผมไม่ต้องออกความเห็นเลย    นั่งฟังลูกเดียว     แล้วทำหน้าที่สรุปประเด็นในตอนท้าย    ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ผมชอบมาก     

ประเด็นหนึ่งที่ในโพยไม่มี คือคนที่จะมาเป็นนักจัดการนวัตกรรมควรมีพื้นความรู้และประสบการณ์อย่างไร   

ในสายตาของผมคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของนักจัดการ RDI    คือ integrity ซึ่งหมายถึงการทำงานอย่างมีอุดมการณ์  มีความยึดมั่นต่อการสร้างผลกระทบของ RDI ต่อการพัฒนาประเทศสู่สภาพรายได้สูง สังคมดี    ซึ่งหมายความว่า ใช้ระบบ merit system ในการตัดสินใจเลือกสนับสนุนเป้าหมาย แผนงาน และโครงการ ที่มีหลักฐานว่าจะมีผลดีต่อประเทศเท่านั้น

ผู้จัดการ RDI ในทุกระดับ ต้องไม่ใช้ทรัพยากรของชาติ เพื่อสร้าง connection  เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว    เป็นเครื่องมือไต่เต้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้น    นี่คือมิติด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักจัดการ RDI

ที่ยากในอีกมิติหนึ่งคือ การร่วมกันสร้างระบบ RDI ให้เป็นระบบที่สะอาด    ปราศจากความโสมม และความอ่อนแอ ของการวิ่งเต้นและวัฒนธรรมอุปถัมภ์    โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้จัดการในระดับ สกสว. เอง    ที่ต้องวางระบบให้นักการเมืองและนักวิ่งเต้นยอมรับว่า สกสว. ต้องสร้างระบบ ววน. ที่แข็งแรงเพื่อประเทศ    ต้องไม่ยอมให้ความอ่อนแอของวัฒนธรรมอุปถัมภ์ทำลาย    ตอนเป็นผู้อำนวยการ สกว. ผมต่อสู้เพื่อสร้างจุดยืนนี้สำเร็จ    ซึ่งหมายความว่า ผมต้องไม่มุ่งหวังขออะไรจากนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจในรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง   

งานยากในเชิงเทคนิค คือการเลือกลำดับความสำคัญของงาน RDI ในระดับที่ตนทำงาน    ที่จะต้องเป็น evidence-based decision making    ซึ่งหมายความว่า ต้องมีทักษะในการตั้งคำถาม เพื่อสนับสนุนให้มีการวิจัยหาหลักฐานเชิงระบบ    สำหรับนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจที่เรียกว่า prioritization      

ในที่ประชุมไม่มีคนเอ่ยถึงนักจัดการ RDI consortium    เพื่อรวมพลังบริษัทเอกชนกลุ่มหนึ่ง ร่วมกันลงทุนทำงานพัฒนานวัตกรรม ที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของตน    ประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการใช้ RDI ขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของประเทศใช้เครื่องมือนี้ทั้งสิ้น    เพราะบริษัทขนาดกลางและเล็ก ไม่มีกำลังพอที่จะทำงาน RDI ด้วยตนเองบริษัทเดียว    การจัดการ RDI consortium นี้ เป็นเรื่องท้าทายมากสำหรับวงการ RDI ไทย    เพราะเราไม่เก่งด้านความร่วมมือ

สมรรถนะในการถามคำถามที่สำคัญ เป็นเรื่องสำคัญมาก

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญ คือ นักจัดการนวัตกรรมจะเพิ่มพูนสมรรถนะและเลื่อนชั้นงานของตนเองได้อย่างไร   

ข้างบนนั้น ผมเขียนก่อนประชุม

ในที่ประชุม แบ่งการเสวนาเป็นสองช่วง    ช่วงแรกทำความเข้าใจว่านักจัดการ RDI คือใคร  ทำอะไร    ทักษะสำคัญของคนเหล่านี้คืออะไรบ้าง    คำตอบโดยสรุปคือ ทำหน้าที่จัดการงานวิจัย ที่อาจเป็นรายโครงการ  เป็นชุดโครงการหรือโปรแกรม    จัดการหน่วยงานทำวิจัย    จัดการหน่วยงานให้ทุนวิจัย   และจัดการหน่วยงานนโยบายหรือส่งเสริมการวิจัย    อันหลังนี้เน้นจัดการระบบ RDI   

นักจัดการ RDI ต้องเป็นคนที่มองระบบออก  มอง ecosystems ออก    ทำงานเชิงรุก มีเครือข่าย   รู้ลึกในเรื่องที่เกี่ยวข้อง    คือต้องมีทั้งทักษะเชิงกระบวนการ และความรู้เชิง content    ทำหน้าที่เชื่อมโยงพลังของการวิจัยในต่างมิติเข้าด้วยกัน    เป็นคนที่มีทักษะในการแปลงปัญหาเป็นโจทย์วิจัย    และร้อยโจทย์วิจัยเข้าด้วยกันเป็นโครงการและชุดโครงการ    และจัดการให้มีนักวิจัยมาตอบโจทย์  และเห็นคุณค่าของการเข้าทุ่มเทตอบโจทย์นั้น    รวมทั้งมี soft skills เช่นการสื่อสาร   การเชื่อมโยงนักวิจัยกับผู้ใช้ผลงานวิจัย    

ผู้ร่วมเสวนาจากภาคเอกชน คือคุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานคณะกรรมการบริการบริษัทเบทาโกร และเป็นที่ปรึกษา กสว. ไม่ตอบคำถามของผู้ดำเนินรายการ    แต่ให้ข้อคิดที่สำคัญมากว่า    ระบบ ววน. ในปัจจุบัน เน้นทำกันในสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัย    ท่านเสนอว่า ควรเปลี่ยนไปทำกันที่ “หน้างาน” จริงๆ    คือในสถานการณ์จริง    จะทำให้มีทรัพยากรใช้ในกิจการ ววน. มาก    ส่วนที่เป็นงบประมาณแผ่นดินเป็นแค่ทรัพยากรเสริม    และจะทำให้โจทย์เป็นโจทย์จากสถานการณ์จริง    ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง     

ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย โฟนอินเข้ามาจากจังหวัดน่าน    บอกว่านักจัดการ RDI ต้องเข้าไปคลุกกับโจทย์    ทำความเข้าใจโจทย์และเงื่อนไขที่ซับซ้อน    ได้ยกตัวอย่างตอนอยู่ สกว. ใหม่ๆ เข้าไปทำงานแก้ปัญหาความขัดแย้งในลุ่มน้ำปากพนังอันเกิดจากเขี่อนกั้นน้ำเค็ม  ร่วมกับ รศ. ดร. ก้าน จันทร์พรหมา  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์    ท่านให้ข้อสรุปว่า นักจัดการ RDI ต้องรู้จักคน  ที่มีความถนัดต่างๆ กัน   รู้เนื้อหาของงานพอสมควร    มีทักษะการคิดแบบ result-based  แล้วคิด backward design    แตกงานออกเป็นส่วนๆ  ลงรายละเอียดแต่ละส่วน  และนำแต่ละส่วนมาต่อกัน    มีทักษะการจัดเวที จัดการความสัมพันธ์    ทักษะการฟัง  และการตัดสินใจ    ผมต่อในใจว่าเมื่อฟังแล้วต้องสามารถสังเคราะห์ออกมาเป็นข้อสังเคราะห์  ที่นำไปสู่แนวทางดำเนินการต่อได้    ซึ่งจะช่วยให้ได้รับความยอมรับนับถือจากผู้เกี่ยวข้อง     

มีการพูดกันถึงสมรรถนะของ RDI Manager ที่พึงประสงค์ ที่ต้องมีทักษะทางเทคนิค  ทักษะด้านการจัดการ และด้านความสัมพันธ์    ที่จะต้องมีการจัดฝึกอบรม และการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำงาน    และตอนนี้สถาบันคลังสมองก็จัดการอบรมระยะสั้นอยู่เป็นระยะๆ    ได้รับความนิยมมาก    เรื่องที่ต้องคิดต่อไปคือ career path ของคนเหล่านี้   ซึ่งมีคนบอกว่า เป็นเส้นทางสู่ตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย    และผู้อำนวยการ PMU ต่างๆ ในกระทรวง อว.      

ผมสรุปประเด็นจากวิทยากรทั้ง ๔ ท่านว่า  RDI Manager ต้องการทักษะ ๓ ด้าน คือ mindset (growth mindset), skillset (ด้านการจัดการ คน และความสัมพันธ์),  และ toolset คือเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เช่น  design thinking, foresight   

และข้อเสนอใหญ่ในวันนี้มาจากภาคเอกชน คือคุณวนัส     ว่าควรเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับ RDI platform    แทนที่จะอยู่ในมหาวิทยาลัย ควรไปอยู่ในสถานประกอบการหรือสถานทำงาน    ทรัพยากรที่ใช้ในการทำงานเหล่านั้นจริงๆ แล้วเป็นทรัพยากรสำหรับ RDI ด้วย    หากทำแนวใหม่นี้ ทรัพยากรสำหรับ RDI ก็จะมากมายมหาศาล ทั้งที่เป็นเงินและไม่เป็นเงิน   เป็นเรื่องที่ควรนำไปดำเนินการให้เกิดผลจริง

ซึ่งก็คือ Engagement Model นั่นเอง

วิจารณ์ พานิช        

๒๓ ก.ย. ๖๓ 

                                                                              

หมายเลขบันทึก: 683812เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2020 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2020 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท