วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๘๗. ปฏิรูปการบริหารจัดการการอุดมศึกษา


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖




ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๘/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ มีการนำเรื่องการปฏิรูปการบริหารจัดการการอุดมศึกษา เข้าเสวนา  

คำถามของผมคือ ทำอย่างไรอุดมศึกษาจึงจะเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้ดีกว่านี้    เน้นที่กลไกการจัดการเชิงระบบ   

สิ่งแรกคือ ต้องมีการวิจัยเชิงระบบ ... วิจัยระบบอุดมศึกษา    เพื่อหาทางใช้ทรัพยากรของชาติให้เกิดคุณค่ามากกว่านี้    โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านอุดมศึกษาเกือบ ๑.๑ แสนล้านบาท    คิดเป็นร้อยละ ๓.๔๒ ของงบประมาณแผ่นดิน  และร้อยละ ๐.๕๙ ของ จีดีพี    คำถามคือ การลงทุนนี้ให้ Return on Investment อย่างไรบ้าง    มีทางบริหารจัดการให้ ROI สูงกว่านี้ได้อย่างไร    ประเทศใดที่เขาบริหารจัดการระบบอุดมศึกษาเก่ง  เขาทำอย่างไร   

ที่จริงรายจ่ายด้านอุดมศึกษายังมีที่ demand side อีก    คือค่าใช้จ่ายที่ครอบครัวของผู้เรียนจ่าย    แต่เราไม่มีงานวิจัยเชิงระบบ หาตัวเลขด้าน demand side    และงบประมาณปีละเกือบ ๑.๑ แสนล้านบาทข้างบนยังไม่รวมงบอุดมศึกษาในกระทรวงอื่นๆ    และที่ใช้ดำเนินการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  

ผมลองค้น กูเกิ้ล ด้วย Keyword  ว่า Higher Education Systems    พบเว็บไซต์ universitas21.com มีเรื่อง U21 Ranking of  National Higher Education Systems ที่น่าจะเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งสำหรับการวิจัยระบบอุดมศึกษา สู่เป้าหมายการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบอุดมศึกษาไทย  

ธนาคารโลกก็มีเว็บไซต์เรื่องระบบอุดมศึกษา (๑)    อ่านสองเว็บไซต์นี้แล้ว ผมเกิดความรู้สึกว่า ประเทศไทยเราอ่อนแอเรื่องมุมมองเชิงระบบต่อระบบอุดมศึกษา    ผมเข้าใจถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ   

เรื่อง National Higher Education Systems นี้ น่าจะมีความซับซ้อนกว่าระบบมหาวิทยาลัย    เพราะนั่นมันเป็น supply side   ระบบอุดมศึกษาของประเทศน่าจะมองที่ demand side ด้วย    ประเด็นหนึ่งที่น่าจะหาข้อมูล คือ เราส่งคนไปเรียนอุดมศึกษาต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน    ส่งไปเรียนอย่างสมเหตุสมผลหรือคุ้มค่าไหม     อีกประเด็นหนึ่งคือ เยาวชนไทยเลือกเข้าเรียนหรือไม่เข้าเรียนระดับอุดมศึกษาอย่างไร    ผมเข้าใจว่า มหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่งได้รับศรัทธาจากคนบางกลุ่มเลือกส่งลูกเข้าเรียนในสาขาที่ตนต้องการ    เพื่อมารับช่วงต่อกิจการของครอบครัว    

กลับมาที่ระบบอุดมศึกษาของประเทศอื่น    ผมเคยลงบันทึกไว้ว่า จีนมีนโยบายเลิกเอาใจใส่อันดับมหาวิทยาลัยโลก (๒)     และตอนนี้มีข่าวว่า จีนแซงสหรัฐด้านความเข้มแข็งเรื่องงานวิจัย (๓)     ทำให้นึกได้ว่า จีนน่าจะเป็นตัวอย่างประเทศที่ปฏิรูประบบอุดมศึกษาของประเทศอย่างได้ผล    อีกประเทศหนึ่งคือมาเลเซีย ที่เมื่อ ๔๐ ปีก่อนเขาล้าหลังเรา  แต่เวลานี้เราล้าหลังเขายิ่งกว่า    น่าจะมีการศึกษาว่าเขาทำอย่างไร ในระดับ macro ของประเทศ    เวียดนามก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่กำลังไล่กวดเรา     ส่วนเกาหลีก็ใช้เวลาสั้นมากในการยกระดับอุดมศึกษาควบคู่กันกับการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  

ประเด็นหนึ่งคือ รอยต่อ หรือความสัมพันธ์เชิง synergy ระหว่างระบบอุดมศึกษากับระบบอื่นๆ

ในการประชุมครั้งนี้ ทีมวิชาการได้นำเสนอประเด็น ๔ ประเด็นคือ

  • การปฏิรูประบบงบประมาณ     ประเด็นหลักคือ ทำอย่างไรจะใช้กลไกด้านงบประมาณสร้างการเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาของประเทศให้สนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างได้ผล    ซึ่งผมตีความว่า เป็นเรื่อง university social engagementของมหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ    ผลงานวิจัยบอกว่า การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไม่ได้เป็นยาวิเศษในการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัย    ความสามารถในการใช้ความคล่องตัวในการทำงานสร้างนวัตกรรมน่าจะสำคัญกว่า    ประเด็นที่ยังไม่ได้วิจัยคือ การเปลี่ยนไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในภาพรวม   สร้างคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือไม่    
  • ระบบติดตามและประเมินผล    ผมมีความเห็นว่า กรอบความคิดที่ใช้ในการดำเนินการระบบติดตามและประเมินผล น่าจะได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง    แนวคิดที่ใช้อยู่คือ summative evaluation  ซึ่งเราก็ยังใช้ได้ไม่ดี    แนวคิดที่น่าจะนำมาใช้เป็นแกนหลักคือ การประเมินแบบ Developmental Evaluation   ประเมินภายใต้กระบวนทัศน์ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว    ใช้กระบวนการประเมินหนุนการพัฒนา   
  • บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะกลุ่ม    ซึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยแต่ละกลุ่มมีเป้าหมายเฉพาะ   ประเด็นหลักคือจัดการเชิงระบบอย่างไรให้มหาวิทยาลัยเหล่านี้ทำหน้าที่ตามเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ

หัวใจคือ higher education transformation   ทั้งในระดับ ระบบอุดมศึกษาของประเทศ    และในระดับปฏิบัติการในมหาวิทยาลัย    เวลานี้เรามีอุดมศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๐   ทำอย่างไรเราจะขับเคลื่อนสู่อุดมศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๒๑  

ข้างบนนั้น เขียนก่อนการประชุม    

ในที่ประชุม ผู้เข้าร่วมสนใจแคบกว่าผมมาก    มองที่อุดมศึกษาภายใต้กระทรวง อว.    และเมื่อพูดถึง demand side ก็เน้นหมายถึงฝ่ายผู้ใช้บัณฑิต    ประเด็นการประชุมเป็นเรื่องการบริหารอุดมศึกษาภายใต้กระทรวง อว.   และภายใต้โครงสร้างและกระบวนการที่กำลังเคลื่อนตัวอยู่    ซึ่งผมมองว่า จะพัฒนาได้อย่างจำกัด    ไปไม่ถึงการ transform ระบบอุดมศึกษา  

ผมได้เสนอในตอนท้ายว่า    การบรรลุการจัดการอุดมศึกษาภายใต้กระทรวง อว. อย่างมีพลังจริงๆ คนที่ส่วนกลางของ สป.อว. ต้องเปลี่ยน mindset    และต้องเพิ่มทักษะในการจัดการระบบแบบ empowerment   รวมทั้งทักษะในการทำความเข้าใจ และในการขับเคลื่อนภาพใหญ่    และต้องมีการหมุนเวียนบุคลากรออกไปทำงานนอก สป.อว.   เพื่อให้เข้าใจสภาพงานที่หลากหลายของกระทรวง อว.      

วิจารณ์ พานิช        

๑๐ ส.ค. ๖๓ 


หมายเลขบันทึก: 682252เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2020 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2020 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท