วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๐๕. การประเมิน ววน. ของประเทศ


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

ตอนที่ ๑๐๒

ตอนที่ ๑๐๓

ตอนที่ ๑๐๔


วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔ ผมเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1/2564    ซึ่งเดิมนัดประชุมที่ สกสว.   แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ระบาดของโควิด ๑๙ จึงให้เข้าประชุมผ่าน ซูมได้ด้วย    และผมเข้าประชุมผ่าน ซูม

เป็นการเข้าร่วมประชุมโดยได้รับเชิญจากรอง ผอ. สกสว. รศ. ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์    ซึ่งท่านบอกว่าประธานคือ นายกานต์ ตระกูลฮุน บอกให้เชิญผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการชุดนี้ทุกครั้ง    อันน่าจะมาจากประสบการณ์ร่วมอภิปรายในเวทีเสวนาเรื่อง “แนวทางการติดตามและประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ” เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ (๑) 

ผมจึงเข้าร่วมประชุมแบบงงๆว่าจะประพฤติตัวอย่างไร    เพราะไม่รู้ฐานะ (roles & responsibility) ของตนเองในการเข้าร่วมประชุม    แต่ที่แน่ใจและมั่นใจคือ ผมจ้องเข้าไปเรียนรู้กลไกการพัฒนาระบบ ววน. ของประเทศ

อ่านรายงานการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๓ แล้ว ส่วนที่เตะตาผมมากคือ คณะกรรมการได้มีมติให้ประเมินเฉพาะผลการสนับสนุน ววน. ส่วนที่ใช้เงินกองทุนเท่านั้น    ซึ่งผมตีความว่า เป็นการประเมินผลของ strategic funding    ที่ข้อดีคือ ทำให้กรรมการชุดนี้โฟกัสหน้าที่ชัดเจน    แต่ก็สร้างความห่วงใยของผมว่า แล้วการใช้เงินส่วนอื่นๆ  และการสนับสนุนส่วนที่ไม่ใช่เงิน    มีกลไกใดดำเนินการประเมินอย่างไร    กลไกประเมินพัฒนาการของ ววน. ภาพใหญ่ของประเทศอยู่ที่ไหน

แต่เมื่อตรวจสอบกับ พระราชบัญญัติ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒  มีระบุหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ว่า

มาตรา ๖๕ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและ นวัตกรรมตามมาตรา ๖๔ มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน (๒) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของ สกสว. และหน่วยงานในระบบ วิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุน (๓) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อ กสว. เพื่อเสนอสภานโยบายต่อไป

 จึงเห็นได้ว่า มติของคณะกรรมการในเรื่องหน้าที่ ตรงกับที่ระบุใน พรบ.    อย่างไรก็ตาม ผมจ้องไปเรียนรู้ว่าคณะกรรมการชุดนี้ทำงานอย่างไร    จะมีส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา ววน. ของประเทศผ่านกลไกการประเมิน ได้สักแค่ไหน

วาระการประชุมส่วนที่เป็นวาระเพื่อพิจารณามี ๓ วาระคือ    

วาระที่ ๕.๑  แนวทางการติดตามและประเมินผลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓

วาระที่ ๕.๒  แนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเชิงกระบวนการของหน่วยบริหาร และจัดการทุน (PMU) และหน่วยงานในระบบ ววน.ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓

วาระที่ ๕.๓  รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามและประเมินผล ววน. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ 

สองวาระแรกเป็นแนวทางประเมินหน่วยงาน    วาระที่ ๕.๑ เป็นแนวทางประเมิน สกสว. เอง    และวาระที่ ๕.๒ เป็นการประเมินหน่วนบริหารจัดการทุน    ที่ผมตีความว่า จะต้องประเมินแบบลูกผสม    คือประเมินตามที่กำหนดในกฎหมาย ซึ่งเน้นทำตามแนวราชการ    กับประเมินเพื่อเรียนรู้และปรับตัว ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า DE (Developmental Evaluation)     ซึ่งในที่ประชุมมีการนำเสนอตามนั้น    โดยมี ผศ. ดร. สันติ เจริญพรวัฒนา เป็นหัวหน้าทีมประเมิน  ในนามของ บวท. (บัญฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)    ผมดีใจมากที่ได้มีส่วนผลักดันให้การประเมิน ววน. ของไทยเน้นประเมินเพื่เรียนรู้และปรับตัวเชิงระบบ  

ส่วนวาระที่ ๕.๓ เป็นการพิจารณารายงานการดำเนินงานในปี ๒๕๖๓ ของตัวคณะกรรมการติดตามและประเมินผลฯ เอง เพื่อเสนอผ่าน กสว. ไปสู่สภานโยบาย อววน.    เป็นงานประจำตามปกติ

สรุปว่า ในการประชุมครั้งนี้ ผมได้เรียนรู้ว่า    ไม่มีกลไกประเมินภาพรวม และพัฒนาการของ ววน. ของประเทศ     อาจจะมีอยู่ในกลไกการทำรายงานประจำปี ดัชนีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยที่ดำเนินการโดย สอวช.   



วิจารณ์ พานิช        

๑๘ ก.พ. ๖๔ 

                                                                                                  

หมายเลขบันทึก: 689036เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2021 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2021 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท