วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๐๔. Engagement Platform ของมหาวิทยาลัย


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

ตอนที่ ๑๐๒

ตอนที่ ๑๐๓

วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๔ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวาระเชิงนโยบายเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์พันธกิจเพื่อสังคมของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เสนอเพื่อขอคำแนะนำ    ผมอ่านเอกสารแล้วเกิดความคิดสู่การเขียนบันทึกนี้    โดยเป็นมุมมองเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้    ไม่ยืนยันว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง

ผมตีความว่า เอกสารที่เสนอ    เสนอการจัดการพันธกิจเพื่อสังคม (social engagement) ของมหาวิทยาลัย เป็น functional unit    แต่ผมมองว่า  จะเกิดพลังสูงกว่ามาก หากเราจัดการพันธกิจเพื่อสังคม (social engagement) ของมหาวิทยาลัย เป็น operation & management platform

เปลี่ยนจากการมอง social engagement เป็น Function   เปลี่ยนเป็นมองเป็น Platform หรือเป็น enabling mechanism   สำหรับเป็นเครื่องมือ Reinventing University   ที่ผมเคยเสนอไว้ในหนังสือ มหาวิทยาลัยแห่งอนาคต (๑)   

กล่าวใหม่ว่า ข้อเสนอของเอกสารในที่ประชุม เสนอให้จัดตั้ง สมส. (สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจเพื่อสังคม) โดยไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นหน่วยงานแนวตั้งหรือแนวนอน    แต่สาระในการนำเสนอทำให้ผมตีความว่าเสนอให้เป็นหน่วยงานแนวตั้ง คือเป็น functional unit หรือหน่วยปฏิบัติ    ซึ่งผมมีความเห็นว่า จะทำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าที่แคบในการจัดการพันธกิจเพื่อสังคม

การตีความ พันธกิจเพื่อสังคม ที่ช่วยให้มหาวิทยาลัยออกสู่ที่กว้าง เกิดขึ้นได้ จากกระบวนทัศน์ที่ต่าง    คือมองพันธกิจเพื่อสังคมเป็น “ชาลา” (platform) สำหรับเอื้อหนุนการทำงานหลักของมหาวิทยาลัย    ซึ่งได้แก่ การผลิตบัณฑิต  การวิจัย  บริการวิชาการ และการทำนุบำรังศิลปวัฒนธรรมและความดีงามในสังคม    ให้เป็นการทำงานวิชาการบนฐานของชีวิตจริงของผู้คนในสังคม    ไม่ทำงานวิชาการแบบแยกตัว อย่างในปัจจุบัน    

 ในวันเดียวกันนั้นช่วงเช้า มีการระดมความคิดทบทวนการปฏิบัติงานของสภามหาวิทยาลัย    โดยเชิญท่านอดีต รมต. ดร. สุวิทย์ เมษิณทรีย์ มากล่าวนำเรื่อง ภาพอนาคตของ มอ. ใน ๕ ปีข้างหน้า  สไลด์หนึ่งของท่านคือ มอ. ต้องเคลื่อนจาก ความสามารถในการสนับสนุน สู่ ความสามารถในการนำ    เพื่อเปลี่ยนบทบาทสร้างการเปลี่ยนแปลงจาก เปลี่ยนทีละเล็กทีละน้อย สู่เปลี่ยนใหญ่ (transformative change)    ดังรูป  

ช่วยให้ผมคิดต่อได้ว่า engagement platform จะช่วยให้มหาวิทยาลัยเคลื่อนไปให้น้ำหนักการทำงานใน  quadrant บนขวา    มิฉะนั้นมหาวิทยาลัยจะไม่มีทางมี power to lead   เพราะการนำในปัจจุบันต้องเปลี่ยนจาก “ชี้นำ” สู่ “ร่วมทำร่วมนำ”    คือนำโดยการ “ชี้” หมดสมัย หมดพลัง แล้ว    เพราะมันจะขาด relevance    

การนำ หรือภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรืออย่างมีพลัง เมื่อได้ทำงานร่วมกัน คลุกคลีกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันใน ฐานะภาคี (partner) ซึ่งกันและกัน    ซึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยต้องมี working platform ในสถานประกอบการ หรือในสภาพชีวิตจริงของผู้คน 

ในการประชุมเดียวกัน ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เสนอ โมเดล ของการทำบทบาทของสภามหาวิทยาลัย ดังรูปข้างล่าง    ซึ่งจริงๆ แล้วสภามหาวิทยาลัยต้องทำหน้าที่ในทั้ง ๔ quadrant อย่างสอดประสานกัน    ซึ่งผมมีความเห็นว่า ที่ยากที่สุดคือหน้าที่ strategies ใน quadrant บนขวา    ที่เน้นการมองออกภายนอก และสู่อนาคต   

ที่ผ่านมา ผมเห็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิพยายามดึงมหาวิทยาลัยเข้าสู่ quadrant บนขวานี้    แต่เคลื่อนยาก   เพราะไม่มี platform การทำงานให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเข้าไปทำงานวิชาการในสภาพชีวิตจริง   

จะเข้าใจ engagement platform ได้ คนมหาวิทยาลัยจะต้องหลุดจาก อีโก้ ว่าตนเป็นผู้รู้    กลายเป็นผู้เรียนรู้    ออกไปเรียนรู้ในบริบทของ engagement partner    ซึ่งเป็นการทำงานวิชาการบนฐานชีวิตจริง และภาคีร่วมพันธกิจได้ประโยชน์และยินดีออกค่าใช้จ่าย    เพราะคุ้มค่า    กิจกรรมพันธกิจเพื่อสังคมจึงไม่ใช่กิจกรรมออกไปช่วยเหลือ    แต่เป็นกิจกรรมร่วมรับประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย    ฝ่ายมหาวิทยาลัยได้มีทรัพยากรสำหรับทำงานวิชาการบนฐานการปฏิบัติงานจริง

กิจกรรม social engagement จึงเป็นที่มหาวิทยาลัย transform รูปแบบการทำงานสร้างสรรค์ ววน.    จาก academic platform สู่ engagement platform       

วิจารณ์ พานิช        

๑๗ ม.ค. ๖๔ 

           

หมายเลขบันทึก: 688824เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2021 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2021 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท