วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๙๕. ความสำคัญของการติดตามประเมินผล


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ สกสว. จัดเวทีเสวนา “แนวทางการติดตามและประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ”  เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องประชมกมลทิพย์ห้อง 2-3 ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล  กรุงเทพฯ    

ผมโชคดีได้รับเชิญไปร่วมเสวนาในช่วง  9.40 – 11.40 น. เรื่อง “ความสำคัญของการติดตามและประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อการพัฒนา ประเทศ” โดย คุณกานต์ตระกูลฮุน ประธานกรรมการคณะกรรมการติดตามและประเมินผล การสนับสนุนวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม    ศ.นพ.วิจารณ์พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ   ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)    นายแพทย์ยศ ตีระวัฒนานนท์ เลขาธิการมูลนิธิ และนักวิจัยอาวุโส โครงการประเมิน เทคโนโลยและการประเมินโยบายด้านสุขภาพ (HiTAP) ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง นักวิชาการอิสระ    มี รศ.ดร.คมสัน สุริยะ เป็นผู้ดำเนินรายการ

ทีมงานของ สกสว. เตรียมงานล่วงหน้าดีมาก    ดังเอกสารที่ส่งให้ผมล่วงหน้าหลายสัปดาห์ ดังนี้

“รูปแบบการดำเนินการและแนวคำถามรูปแบบการดำเนินรายการแบ่งออกเป็น 3 รอบ โดยมีคำถามรอบละ 1 คำถาม เพื่อให้ผู้ร่วมเสวนาให้ ความเห็นและมุมมอง   โดยแต่ละรอบจะมี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ให้มุมมองสะท้อนความคิดภาพรวมแต่ละรอบ    โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาให้ความเห็นในมุมมอง ดังต่อไปนี้  • คุณกานต์ ตระกูลฮุน เน้นมุมมองจากภาคเอกชน  • ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เน้นมุมมองจากการศึกษารูปแบบการติดตามและประเมินผลที่ผ่านมาทั้งในและนอกประเทศ  • นายแพทย์ยศ ตีระวัฒนานนท์ เน้นมุมมองจากประสบการณ์ทำงานกับองค์กรต่างประเทศ  • ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง เน้นการประเมินในมุมมองการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับ ชุมชนและพื้นที่  • ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ให้มุมมองสะท้อนความคิดในภาพรวม    ทั้งนี้คำถามทั้งสามรอบ   คือ   1) รอบแรก : ท่านคิดว่าการติดตามและประเมินผลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) มี ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร   2) รอบที่สอง : ก่อนการปฏิรูประบบ ววน. ท่านมองว่าระบบการติดตามและประเมินผลของไทยเป็น อย่างไร   3) รอบสาม : “ภายหลังจากการมีการปฏิรูประบบ ววน. แล้ว ท่านมองว่าระบบการติดตามประเมินผล ของประเทศควรเป็นอย่างไร” โดยปิดกระบวนการด้วย รศ.ดร.คมสัน สุริยะ สรุปการอภิปราย และขอบคุณผู้เข้าร่วมการเสวนา และผู้ เข้าชม”

ผมชอบการออกแบบวงเสวนานี้มาก    เพราะช่วยให้ผมได้ฟังคนเก่งๆ อย่างเต็มอิ่ม   และทำหน้าที่ให้ความเห็นเชิงสะท้อนคิดในภาพใหญ่  

ในมุมมองของผม คุณค่าของการติดตามและประเมินผล    อยู่ที่การใช้เป็นกลไกเพื่อเรียนรู้และปรับตัว     ในกรณีนี้เพื่อให้ระบบ ววน. ส่งผลต่อการยกระดับประเทศจากประเทศรายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูง สังคมดี มีความเหลื่อมล้ำน้อย     การติดตามประเมินผลจึงควรทำใน ๔ ระดับ    ได้แก่ (๑) ระดับ ระบบ ววน. ของประเทศ ย้ำคำว่า ของประเทศ    ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่แค่ของกระทรวง อว. หรือของภาคราชการ    (๒) ระดับการทำงานขององค์กร  ทั้งองค์กรนโยบาย (สอวช., สกสว.)    PMU    หน่วยงานหรือสถาบันวิจัย    (๓) ระดับโปรแกรมวิจัย   (๔) ระดับโครงการวิจัย     

ประเด็นสำคัญที่สุดในสายตาของผมคือ คุณค่าต่อการทำให้ระบบ ววน. เป็นระบบที่สะอาด ตามที่ผมเขียนไว้ในบันทึกชื่อ องค์กรสะอาด    รวมทั้งเป็นระบบที่ส่งมอบผลงานตามเป้าหมายที่ให้สัญญาไว้     เพื่อให้วงการ ววน. ได้รับศรัทธาจากประชาชนคนไทย   

ข้างบนนั้นเขียนก่อนการประชุม   

ในที่ประชุมสนุกมาก    เพราะวิทยากรที่พูดก่อนผมต่างก็มีประสบการณ์เพียบ    สรุปได้ว่าจุดสำคัญที่สุดของการติดตามประเมินผลมี ๒ อย่าง คือ (๑) สร้างความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณชน (public trust)     และ (๒) เป็นกลไกเพื่อการเรียนรู้และปรับตัวขององค์กร     

วิจารณ์ พานิช        

๓๐ ต.ค. ๖๓ 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 687483เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2020 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2020 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท