วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๙๙. วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย : ทำอย่างไรจึงจะเกิดผลดีต่อบ้านเมือง


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ข่าว (๑) (๒) (๓) ว่า รมต. อว. ผลักดันการจัดตั้ง วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย    เน้นงาน ๕ ด้านคือ ช่างศิลป์ท้องถิ่น  พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ  ศูนย์วิเทศศาสตร์  ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง  ศูนย์สุวรรณภูมิศึกษา     มีการประชุมที่เผยแพร่ที่ (๔)     

ผมเข้าไปฟังการประชุมที่ (๔)ซึ่งเผยแพร่วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓    พบคนรู้จักมากมาย    เช่น ดร. สมบูรณ์ สุขสำราญถามเรื่องงานวิจัยที่นำมาใช้ประกอบการวางแผนการจัดตั้งและดำเนินการ    มีผู้ตอบว่าได้วิจัยวัฒนธรรมชุมชนใน ๓๘ จังหวัด    เล่าเรื่องช่างศิลป์ชุมชน มีการประชุมที่วันรุ่งขึ้นจะเป็นครั้งที่ ๔    เรื่องพิพิธภัณฑ์มีการประชุมที่ มศก. จะตั้งคล้ายๆ พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์  

ศ. (พิเศษ) ศรีศักร วัลลิโภดม เสนอเรื่องสุวรรณภูมิ ว่ามีหลักฐานเพิ่ม เช่นลูกปัดที่คุณหมอบัญชา (พงษ์พานิช) รวบรวมไว้  ที่เป็นหลักฐานเคลื่อนย้าย ศูนย์สุวรรณภูมิศึกษาจะเน้น space, time, people   สู่การเป็นคาบสมุทรสยาม ไม่ใช่คาบสมุทรมลายูอย่างที่ฝรั่งเรียก   เป็นการทำความเข้าใจข้ามสมุทร    เชื่อมโยงกับศิลปวัฒนธรรม

รศ. ดร. สมเจตน์ ทิณพงษ์  ประธานกรรมการบริหาร สทอภ. (GISTDA)   กล่าวว่า จะใช้เทคโนโลยี ดาวเทียม    ช่วยการ view from the top เสนอหลักฐานการมีสุวรรณภูมิ    เป็น Thailand grand design ผ่านการใช้ science  เชื่อมกับ soul  และ sensibility   จุดสำคัญคือ ต้อง justify การเกิดขององค์กร

 นพ. บัญชา พงษ์พานิช เล่าจุดเริ่มสนใจของตนเอง ว่าเริ่มจากชาวบ้านพบลูกปัด   ตนไปบอกบอก อ. ศรีศักร, อ. สุธิวงษ์ บอกให้เก็บไว้   ได้ร่วมงานกับ อ. ชวลิต ขาวเขียว   อ. ผาสุก อินทราวุธ  อ. สมเจตน์   จัดการประชุมนักวิชาการ  ร่วมกันเขียน   โดยเฉพาะศาสตราจารย์ Ian Glover แห่ง SOAS    มีหลักฐานว่ามีสุวรรณภูมิแน่    ผมค้นเว็บไซต์สุวรรณภูมิมาให้ผู้สนใจเข้าไปชม (๕)    จะเห็นว่า จิสด้า ได้ทำงานใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเป็นเครื่องมือส่งเสริมการค้นคว้าด้านอารยธรรมสุวรรณภูมิมาหลายปี   

  ศ. ดร. บุษกร บิณฑสัณห์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ประธานคณบดีศิลปกรรม ๓๐ สถาบัน เสนอการพัฒนาวัฒนธรรมที่มีชีวิต มี GPS   เสนอใช้ VR/AR ให้คนอยู่ที่ไหนไปเที่ยวที่แหล่งศิลปะและวัฒนธรรมได้   

คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความเห็นว่าต้องต่อยอดความรู้  สร้างคน  สร้างคุณค่า  สร้างการรับรู้      

ผศ. ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผอ. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (อพวช.) เสนอว่าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ต้องบูรณาการด้านสังคมศาสตร์  เป็นสถานสร้างแรงบันดาลใจ   

รศ. ดร. นวลน้อย ตรีรัตน์   และท่านอดีตทูตสมปอง สงวนบรรพ์  

ศ. ดร. นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว.  ย้ำการเป็นกระทรวงสหวิทยาการ    ทำอะไรบ้าง ขับเคลื่อนวิชาการ ข้อมูล ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ     คำถามทำอะไรแน่   ยกตัวอย่าง ๕ เรื่อง    อาจมีเรื่องอื่นเพิ่ม   องค์ประกอบ ไม่เริ่มจากศาสตร์   เอา issue หรือ  เป้าหมายเป็นตัวตั้ง    เป็นสหวิทยาการ    มีพันธุศาสตร์ ดีเอ็นเอ  human genome  เป็นวิทยาศาสตร์เข้ามาเสริม            

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นสหวิทยาการเช่นกัน  

เขย่า  ขยับ  ยั่งยืน  ต้องมีโครงสร้าง เป็นกลไกขับเคลื่อน   

ขับเคลื่อนด้วยวิชาการ และการสร้างคน  มีกลไกความยั่งยืน  

โกวิทย์ กังสนันทน์ ตั้งคำถาม

ข้างบนนั้นผมสรุปจากการชมวิดีทัศน์การประชุม    และผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อสรุปเชิงปฏิบัติของท่านปลัดฯ สิริฤกษ์ว่า ควรเอาเป้าหมายเชิงพัฒนา หรือประเด็น (issue) เป็นตัวตั้ง    ไม่เอาศาสตร์เป็นตัวตั้ง    โดยขอเสนอวิธีตั้งโจทย์โดยเอาแผนพัฒนาประเทศเป็นตัวตั้ง    แล้วถามว่าแต่ละศูนย์จะมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายใดในแผนพัฒนาประเทศ    ศูนย์จะแสดงบทบาทอย่างไร    และต้องการการสนับสนุนอะไรบ้าง   

หลังจากนั้นมีการรวบรวมข้อมูลการดำเนินการ    นำมาสร้าง DLL – Double Loop Learning   โดยใช้วิธีการ DE – Developmental Evaluation   เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันสะท้อนคิดปรับเป้าหมายและวิธีการดำเนินการในแต่ละศูนย์    

ต้องไม่ดำเนินการโดยกำหนด blueprint แล้วบริหารศูนย์ตาม blueprint นั้น

วิจารณ์ พานิช

๒ ม.ค. ๖๓

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          

หมายเลขบันทึก: 688064เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2021 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2021 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท