วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๐๒. นวัตกรรมหน่วยจัดสรรทุนวิจัย


ตอนที่ ๑

ตอนที่ ๒

ตอนที่ ๓

ตอนที่ ๔

ตอนที่ ๕

ตอนที่ ๖

ตอนที่ ๗

ตอนที่ ๘

ตอนที่ ๙

ตอนที่ ๑๐

ตอนที่ ๑๑

ตอนที่ ๑๒

ตอนที่ ๑๓

ตอนที่ ๑๔

ตอนที่ ๑๕

ตอนที่ ๑๖

ตอนที่ ๑๗

ตอนที่ ๑๘

ตอนที่ ๑๙

ตอนที่ ๒๐

ตอนที่ ๒๑

ตอนที่ ๒๒

ตอนที่ ๒๓

ตอนที่ ๒๔

ตอนที่ ๒๕

ตอนที่ ๒๖

ตอนที่ ๒๗

ตอนที่ ๒๘

ตอนที่ ๒๙

ตอนที่ ๓๐

ตอนที่ ๓๑

ตอนที่ ๓๒

ตอนที่ ๓๓

ตอนที่ ๓๔

ตอนที่ ๓๕

ตอนที่ ๓๖

ตอนที่ ๓๗

ตอนที่ ๓๘

ตอนที่ ๓๙

ตอนที่ ๔๐

ตอนที่ ๔๑

ตอนที่ ๔๒

ตอนที่ ๔๓

ตอนที่ ๔๔

ตอนที่ ๔๕

ตอนที่ ๔๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๔๘

ตอนที่ ๔๙

ตอนที่ ๕๐

ตอนที่ ๕๑

ตอนที่ ๕๒

ตอนที่ ๕๓

ตอนที่ ๕๔

ตอนที่ ๕๕

ตอนที่ ๕๖

ตอนที่ ๔๗

ตอนที่ ๕๘

ตอนที่ ๕๙

ตอนที่ ๖๐

ตอนที่ ๖๑

ตอนที่ ๖๒

ตอนที่ ๖๓

ตอนที่ ๖๔

ตอนที่ ๖๕

ตอนที่ ๖๖

ตอนที่ ๖๗

ตอนที่ ๖๘

ตอนที่ ๖๙

ตอนที่ ๗๐

ตอนที่ ๗๑

ตอนที่ ๗๒

ตอนที่ ๗๓

ตอนที่ ๗๔

ตอนที่ ๗๕

ตอนที่ ๗๖

ตอนที่ ๗๗

ตอนที่ ๗๘

ตอนที่ ๗๙

ตอนที่ ๘๐

ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๔ ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยเฉพาะด้าน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔   โดยคณะกรรมการชุดนี้เริ่มทำงานในปี ๒๕๖๓ มีการประชุมไปแล้ว ๔ ครั้ง 

 หน่วยจัดสรรทุนวิจัยเฉพาะด้าน มี ๓ หน่วย    ตั้งขึ้นโดยข้อลังคับคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบาย อววน. ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. ๒๕๖๒ (๑)   ได้แก่

  • หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ด้วย อ. และ ววน. (บพท. หรือ PMU A)
  • หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค. หรือ PMU B)
  • หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข. หรือ PMU C)   

ทั้ง ๓ หน่วยจัดสรรทุนวิจัยเฉพาะด้าน   มีสถานะเป็นหน่วยงานอิสระอยู่ภายใค้ สอวช. ไปพลางก่อน  เริ่มทำงานในปีงบประมาณ ๒๕๖๓    และในสายตาของผม ทำงานได้ดีทีเดียว    ทั้งๆ ที่แต่ละหน่วยมีคนจำนวนน้อยมาก เช่น ๘ คน หรืออย่างมาก ๓๐ คน   เปรียบเทียบกับ สวช. ที่มีเจ้าหน้าที่ราวๆ ๕ ร้อยคน    

ขณะนี้ในประเทศไทยมีหน่วยจัดสรรทุนวิจัยรวม ๗ หน่วยงานคือ  (๑) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (สวช.)  (๒) สวก. - สำนักงานวิจัยการพัฒนาการเกษตร (องค์การมหาชน)  (๓) สวรส. - สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  (๔) สนช. - สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  (๕) บพท.  (๖) บพค.  (๗) บพข.

มองจากภาพใหญ่ของระบบจัดการทุนวิจัยของประเทศ     ทั้งสามหน่วยจัดสรรทุนวิจัยเฉพาะด้าน ทำหน้าที่จัดการทุนวิจัยชนิดมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ (strategic research)    และมีนโยบายระดับประเทศว่า ทุน ววน. เชิงยุทธศาสตร์ต้องมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐   ในการประชุมครั้งนี้มีข้อมูลว่า สัดส่วนราวๆ ร้อยละ ๗๐    

การมีกลไกสนับสนุนให้ทั้งสาม PMU ทำงานได้ผลอย่างแท้จริง จึงมีความสำคัญยิ่ง     ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยเฉพาะด้าน ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ (ซึ่งผมไม่ได้เข้าประชุม) ได้ตกลงกันว่า จะจัดตั้งหน่วยงานนิติบุคคล ที่เป็นองค์การมหาชน ขึ้นมาเป็นร่มให้แก่ทั้ง ๓ PMU    เรียกชื่อว่า สบวน. - สำนักงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม    โดยข้อเป็นห่วงสำคัญที่สุดคือ ต้องไม่เป็นการสร้างขั้นตอนการบริหารงานเพิ่มขึ้นอีก ๑ ขั้นตอน    ทำให้งานช้าและไม่คล่องตัว    และทำให้ ความเป็นอิสระในการทำงานของ PMU หายไป

ฝ่ายเลขานุการกลับไปทำการบ้านมาอย่างดี    และเสนอหลักการ ๕ ข้อคือ

  1. 1. เป็นการสร้างหน่วยงานบริหารจัดการทุนที่มี autonomy และ accountability ต่อบทบาทที่รับผิดชอบ
  2. 2. เอื้อให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุน
  3. 3. การบริหารและจัดการทุนวิจัยของประเทศมีความคล่องตัว สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทาง ววน. ได้อย่างรวดเร็ว    รวมทั้งสามารถทำ sandbox ด้านการบริหารและจัดการทุนรูปแบบใหม่ได้ภายในหน่วยงาน
  4. 4. มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณ ววน.
  5. 5. ระบบมีความคล่องตัว   รวมถึง  PMU สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ในอนาคตได้  

ที่ประชุมมีมติให้ PMU และ สบวน. อยู่ในระดับชั้นการบังคับบัญชาระดับเดียวกัน    และให้ระบุในกฎหมายให้ ผอ. PMU เป็นผู้บริหารสูงสุดของ PMU    ผมมาคิดทีหลังว่า ต้องระบุให้ ผอ. PMU ทำสัญญาทางกฎหมายได้    ไม่ใช่ไปทำสัญญาให้ทุน หรือสัญญาอื่นๆ ในระดับ สบวน.    เรื่องนี้ผมต้องตามไปย้ำในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป อววน. ในวันที่ ๒๕ ม.ค. ๖๔

มีอีก ๒ เรื่องที่มีการย้ำกัน คือ สบวน. ต้องเป็นกลไกเชื่อมภาพใหญ่ของระบบการจัดการงานวิจัยกับ ecosystems ภายนอก   หรือเชื่อมโยงกับสังคม    ดังนั้น ทิศทางของการจัดลำดับความสำคัญของประเด็น ววน. ต้องไม่ใช่แค่รับลูกมาจากเบื้องบน   ไม่ใช่คิดกันเองในหมู่ สบวน. และ 3 PMU    ต้องมี stakeholders’ forum เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมมีส่วนเป็นเจ้าของโจทย์วิจัย    และในทำนองเดียวกัน ต้องจัดการปลายทางของผลงานวิจัย ทั้งไปสู่ตลาด และสู่นโยบายประเทศ ผ่านกลไกสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมเสนอต่อที่ประชุมคือ การเขียนขอบเขตภารกิจของแต่ละ PMU    ควรเขียนให้ชัดเจนว่า ครอบคลุมงานวิจัยและนวัตกรรมด้านศิลปะ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ด้วย    คือเราไม่มอง ววน. ในความหมายที่แคบ แต่ตีความคำว่าวิทยาศาสตร์ว่า “วิทยาการ”    ดังนั้นในที่นี้ sciences  ครอบคลุม arts, social sciences และ humanities ด้วย  แบบเดียวกับที่ US NSF ตีความ             

วิจารณ์ พานิช        

๖ ม.ค. ๖๔                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 688553เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2021 18:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2021 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท