ว่าด้วยนโยบายการจัดสรรวัคซีนโควิด-๑๙ ของไทย (ตอนที่ ๓)


ตอนที่ ๑     ตอนที่ ๒

          ข้อถกเถียงและข้อห่วงกังวลในการจัดสรรวัคซีน คือ 

          ๑. นโยบายของรัฐที่มีมาตรการให้ประชากรไทยจำนวน ๕๒ ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน อาจจะก่อให้บางส่วนมีการต่อต้านการฉีดวัคซีนหรือไม่ เพราะมีกระแสจากสังคม และมีข้อมูลจากการสำรวจที่ดำเนินการโดย IHPP พบว่า มีผู้ปฏิเสธไม่รับวัคซีน และผู้ที่รอข้อมูลหรือยังไม่แน่ใจ รวมกันเกือบร้อยละ ๓๐ ของผู้ตอบแบบสอบถาม และอีกร้อยละ ๗๕ มีความกังวลในผลข้างเคียงของวัคซีน ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องจัดการกับความเข้าใจประเด็นนี้กับสังคมให้ชัดเจน

          ๒. กลุ่มคนทำงานหรือแรงงานต่างชาติ ที่อยู่ในระบบประกันสังคม และกลุ่มคนทำงานหรือแรงงานต่างชาติ ที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพโดยความสมัครใจของกระทรวงสาธารณสุข (กลุ่มที่ ๒ และ ๓) ควรจะมีมาตรการในการจัดสรรวัคซีน (Public Vaccine) ให้อย่างทั่วถึงด้วยหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ และกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่แม้จะไม่ใช่ประชากรไทย แต่เป็นกลุ่มที่ช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเช่นกัน

          ๓. กลุ่มคนทำงานหรือแรงงานต่างชาติที่ไม่อยู่ในระบบใด ๆ (กลุ่มที่ ๔) และเป็นกลุ่มที่ไม่มีประกันสุขภาพใด ๆ รัฐควรจะดำเนินการอย่างไร เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในประเทศไทย

          ๔. การลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนของประชากรไทย จะดำเนินการอย่างทั่วถึงอย่างไร เนื่องจากมีแนวโน้มว่า ภาครัฐอาจจะให้มีการลงทะเบียนผ่าน Application ที่ต้องใช้ระบบปฏิบัติการของ Smart Phone ซึ่งมีข้อดี คือ เป็นการยืนยันตัวตนของประชากรคนไทย เนื่องจากต้องใช้เลขบัตรประชาชน ๑๓ หลัก ภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถบันทึกและบริหารจัดการข้อมูลได้ง่าย ทั้งในส่วนของวันที่ได้รับการฉีดวัคซีน และรายละเอียดของวัคซีน เช่น เลขที่การผลิต ซึ่งจะทำให้มีการติดตามและสอบสวนโรคได้ง่ายต่อไป แต่มีข้อจำกัด ซึ่งมีข้อมูลจากการสำรวจที่ดำเนินการโดย IHPP พบว่า มีประชากรเกือบร้อยละ ๕๐ ที่มีหรือไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือ และในจำนวนผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จำนวนร้อยละ ๘๐ เป็น  Smart Phone ดังนั้น จะมีผู้ที่ไม่สามารถลงทะเบียนผ่าน Application ด้วยระบบปฏิบัติการของ Smart Phone ได้ จำนวนมากพอสมควร ภาครัฐจะมีมาตรการในการดำเนินการส่วนนี้อย่างไร เพื่อให้ประชากรไทยกลุ่มเป้าหมาย ๕๒ ล้านคนเข้าถึงวัคซีนนี้ได้ทั่วถึง และในการติดตามหลังการได้รับวัคซีน จำเป็นต้องมีการใช้ฐานข้อมูลประชากรทั้งในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการองค์การอาหารและยา (อย.) ซึ่งภาครัฐจะดำเนินการหรือบริหารจัดการในส่วนนี้อย่างไร 

          ๕. มาตรการในการจัดการปลายน้ำ (Downstream Management) ภาครัฐจะดำเนินการอย่างไร และภาคสังคม/พื้นที่ชุมชน จะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร 

          ๖. มาตรการหรือแนวทางการดูแลตนเอง (Self-Care) ของประชาชน ทั้งก่อนและหลังการได้รับวัคซีน จะต้องมีมาตรการหรือแนวทางการดูแลตนเองอย่างไร

          (ติดตามตอนต่อไป)

          นภินทร ศิริไทย

    คำสำคัญ (Tags): #km#COVID19#วัคซีนโควิด
    หมายเลขบันทึก: 688548เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2021 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2021 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท